คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยที่2ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยที่1และที่2ไม่ได้ว่าจ้างให้โจทก์ทำงานตกแต่งห้องชุดมิได้ให้การว่าโจทก์มิได้ทำงานให้ตามรายการหนึ่งรายการใดคดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ทำงานครบถ้วนตามรายการหรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้เพราะไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว จำเลยที่2มิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่1ในขณะทำสัญญาว่าจ้างโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่2จ้างโจทก์ในนามของจำเลยที่1จึงผูกพันจำเลยที่2เป็นส่วนตัวดังนั้นการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่2รับผิดเป็นส่วนตัวจึงไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็นเพราะฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันว่าจ้างโจทก์ สิทธิเรียกร้องค่าจ้างอายุความ2ปีโดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์ทำงานแล้วเสร็จและส่งมอบงานในกำหนดการที่จำเลยที่2ชำระค่าจ้างบางส่วนให้แก่โจทก์ภายในกำหนดอายุความจึงเป็นเหตุให้ อายุความสะดุดหยุดลงและ เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าวเมื่อวันครบกำหนดอายุความเป็น วันหยุดราชการ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีในวันที่เริ่มทำงานใหม่ดังนั้นคดีจึงหาขาดอายุความไม่

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ว่า จ้าง ให้ โจทก์ เป็น ผู้ ออก แบบ และตกแต่ง ภายใน ห้องชุด รวม 17 ห้อง เป็น เงิน ค่าจ้าง 1,471,350 บาทโจทก์ ได้ ทำงาน เสร็จ เรียบร้อย ภายใน ระยะเวลา ที่ ตกลง กัน และ ได้ส่งมอบ งาน ให้ จำเลย ทั้ง สอง รับ ไป เรียบร้อย แล้ว แต่ จำเลย ทั้ง สองมิได้ ชำระ เงิน ค่าจ้าง ให้ ครบถ้วน ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันหรือ แทน กัน ชำระ เงิน จำนวน 800,000 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก เงิน จำนวน ดังกล่าว นับแต่ วันฟ้องเป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 2 ชำระ เงิน จำนวน 800,000 บาทแก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก เงิน จำนวนดังกล่าว นับแต่ วัน ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ(ฟ้อง วันที่ 24 ตุลาคม 2531) ให้ยก ฟ้องโจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 1
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ในเบื้องต้น ว่า โจทก์ เป็น นิติบุคคล ประเภท บริษัท จำกัดมี นาย วิชัย โสมวดี เป็น กรรมการ ผู้จัดการ เมื่อ วันที่ 10 เมษายน 2529 โจทก์ รับจ้าง ตกแต่ง ห้องชุด เลขที่ 245-248 และ 252-264 รวม17 ห้อง ของ อาคาร เอ็กซิคิวทีฟเฮ้าส์ ถนน สุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขต บางรัก กรุงเทพมหานคร คิด เป็น ค่าจ้าง 1,471,350 บาท รายละเอียด ของ งาน ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 มี ปัญหา จะ ต้องวินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ข้อ แรก ว่า คดี มี ประเด็น ข้อพิพาท ว่าโจทก์ มิได้ ทำงาน ตาม รายการ ที่ 3 และ ที่ 4 ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 คิดเป็น เงิน 789,650 บาท หรือไม่ เห็นว่า จำเลย ที่ 2 ให้การ ปฏิเสธฟ้องโจทก์ ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ไม่ได้ ว่าจ้าง ให้ โจทก์ ทำงานดังกล่าว มิได้ ให้การ ว่า โจทก์ มิได้ ทำงาน ให้ ตาม รายการ หนึ่ง รายการ ใดคดี จึง ไม่มี ประเด็น ข้อพิพาท ว่า โจทก์ ทำงาน ตาม รายการ ให้ ครบถ้วนหรือไม่ ที่ ศาลอุทธรณ์ ไม่รับ วินิจฉัย ใน ประเด็น ข้อ นี้ โดย อ้างว่าไม่ใช่ ข้อ ที่ ยกขึ้น ว่า กัน มา โดยชอบ ใน ศาลชั้นต้น จึง ชอบแล้ว ฎีกา ของจำเลย ที่ 2 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา วินิจฉัย ข้อ ต่อไป มี ว่า จำเลย ที่ 2 จะ ต้อง รับผิด เป็นการ ส่วนตัว หรือไม่ ข้อเท็จจริง ได้ความ จาก เอกสาร หมาย จ. 13ซึ่ง เป็น หนังสือ รับรอง ของ กระทรวงพาณิชย์ ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น กรรมการของ จำเลย ที่ 1 ระหว่าง วันที่ 1 กันยายน 2529 ถึง ขณะ สืบพยานและ ได้ความ ตาม ที่ โจทก์ นำสืบ ว่า โจทก์ ทำ สัญญา รับจ้าง ทำงาน ราย นี้ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2529 และ ทำงาน เสร็จ ภายใน 40 วัน คือ ภายในวันที่ 20 พฤษภาคม 2529 ซึ่ง ระหว่าง เวลา ดังกล่าว จำเลย ที่ 2มิได้ เป็น กรรมการ ของ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ใช่ ผู้มีอำนาจทำการ แทน จำเลย ที่ 1 ฟัง ไม่ได้ ว่า จำเลย ที่ 2 ทำการ จ้าง โจทก์ ใน นามของ จำเลย ที่ 1 ส่วน ที่ จำเลย ที่ 2 นำสืบ ว่า ทำการ จ้าง โจทก์ ใน นาม ของบริษัท สุรวงศ์พลาซ่า จำกัด นั้น ก็ เป็น การ นำสืบ นอกเหนือ คำให้การ และ นอกประเด็น ถือไม่ได้ว่า เป็น ข้อ ที่ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ในศาลล่าง ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ดังนั้น การ ว่าจ้าง โจทก์ ทำงาน ราย นี้ซึ่ง จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ดำเนินการ ว่าจ้าง จึง ผูกพัน จำเลย ที่ 2เป็น ส่วนตัว และ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 2 รับผิด เป็นส่วนตัว ก็ ไม่เป็น การ พิพากษา นอกประเด็น เพราะ คำฟ้อง ของ โจทก์ กล่าวอ้างไว้ แล้ว ว่า จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ว่าจ้าง โจทก์ ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน
ปัญหา ข้อ สุดท้าย มี ว่า คดี ของ โจทก์ ขาดอายุความ หรือไม่ โจทก์นำสืบ ว่า หลังจาก โจทก์ ทำงาน เสร็จ เรียบร้อย ก็ ได้ ส่งมอบ งาน แก่จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 2 ชำระ ค่าจ้าง แก่ โจทก์ บางส่วน โดย ชำระครั้งสุดท้าย ตามเช็ค ของ ธนาคาร กสิกรไทย สาขา สุรวงศ์ ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2529 จำนวนเงิน 100,000 บาท มี จำเลย ที่ 2ลงลายมือชื่อ สั่งจ่าย เป็น ส่วนตัว แต่ จำเลย ที่ 2 นำสืบ ว่า เงิน จำนวนตามเช็ค ดังกล่าว เป็น เงิน ที่ จำเลย ที่ 2 ให้ นาย วิชัย โสมวดี ยืม มิใช่ เงิน ชำระ ค่าจ้าง แก่ โจทก์ เห็นว่า เงิน ตามเช็ค ดังกล่าว มีจำนวน สูง มาก ถึง 100,000 บาท แต่ ไม่ปรากฏ ว่า ได้ มี การ ทำ หลักฐานการ กู้ยืม ไว้ แต่อย่างใด ทั้ง จำเลย ที่ 2 เบิกความ ว่า นาย วิชัย ยัง มิได้ ใช้ เงิน ดังกล่าว คืน แต่ ก็ ไม่ปรากฏ ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ ทวงถาม หรือฟ้องร้อง ให้ ใช้ คืน ข้ออ้าง ของ จำเลย ที่ 2 จึง เป็น การ กล่าวอ้าง ลอย ๆไม่น่าเชื่อถือ ทาง ฝ่าย โจทก์ มี ทั้ง นาย วิชัย และ นาย สมชาย โสมวดี พยานโจทก์ เบิกความ ต้อง กัน ว่า เช็ค ดังกล่าว เป็น เช็ค ที่ จำเลย ที่ 2ชำระหนี้ ค่าจ้าง ตกแต่ง อาคาร ที่ โจทก์ ทำ เสร็จ แล้ว พร้อม ทั้ง มี เช็คตาม เอกสาร หมาย จ. 8 มา ประกอบ พยานโจทก์ จึง มี น้ำหนัก มั่นคง กว่า พยานจำเลย ที่ 2 รับฟัง ได้ว่า เงิน ตามเช็ค ดังกล่าว เป็น เงิน ที่ จำเลย ที่ 2ชำระ ค่าจ้าง บางส่วน แก่ โจทก์ โจทก์ ทำ สัญญา รับจ้าง ตกแต่ง ห้องชุดเมื่อ วันที่ 10 เมษายน 2529 กำหนด ส่งมอบ งาน ภายใน 40 วัน นับแต่วัน ทำ สัญญา และ โจทก์ ทำงาน เสร็จ และ ส่งมอบ งาน ใน กำหนด คือ ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2529 สิทธิเรียกร้อง ค่าจ้าง ของ โจทก์ จึง เริ่มตั้งแต่ วันที่ 20 พฤษภาคม 2529 และ ครบ กำหนด อายุความ 2 ปี ใน วันที่20 พฤษภาคม 2531 ดังนั้น การ ที่ จำเลย ที่ 2 ชำระ ค่าจ้าง บางส่วนแก่ โจทก์ ครั้งหลัง สุด ใน วันที่ 22 ตุลาคม 2529 อายุความ จึง สะดุดหยุด ลง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เดิม(มาตรา 193/14 ที่ แก้ไข ใหม่ ) และ เริ่ม นับ อายุความ ใหม่ ตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2529 จึง ครบ กำหนด อายุความ 2 ปี ใน วันที่22 ตุลาคม 2531 แต่ วันที่ 22 ตุลาคม 2531 เป็น วัน เสาร์ และ วัน ต่อมาเป็น วัน อาทิตย์ อันเป็น วันหยุด ราชการ โจทก์ จึง มีสิทธิ ฟ้องคดี นี้ ในวันที่ 24 ตุลาคม 2531 ซึ่ง เป็น วัน เริ่ม ทำงาน ใหม่ คดี โจทก์ จึง ไม่ ขาดอายุความ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ชอบแล้ว ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2ทุก ข้อ ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน

Share