แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ตามคำให้การของจำเลยถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จริงคดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนมารดาโจทก์หรือไม่การที่ศาลล่างหยิบยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์มีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเพียงใส่ชื่อแทนมารดาโจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจึงเป็นการหยิบยกข้อเท็จจริงนอกประเด็นขึ้นวินิจฉัยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่นั้นจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบเมื่อเป็นข้อเท็จจริงนอกประเด็นย่อมหยิบยกขึ้นวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ทั้งกรณีมิใช่เป็นการนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายข้อนี้แม้โจทก์มิได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6568พร้อม ตึกแถว เลขที่ 455/2 จำเลย เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดินโฉนด เลขที่ 6567 พร้อม ตึกแถว เลขที่ 455/5 ซึ่ง ตั้ง อยู่ ติดกับ ที่ดินของ โจทก์ ทาง ด้าน ทิศเหนือ เมื่อ ประมาณ ต้น ปี 2530 จำเลย ได้ ทุบ ผนังกั้น ระหว่าง ห้อง ของ โจทก์ จำเลย แล้ว ทำการ ก่อสร้าง ผนัง กั้น ห้อง ขึ้น ใหม่ด้วย อิฐ ฉาบปูนซิเมนต์ รุกล้ำ เข้า ไป ใน ที่ดิน ของ โจทก์ ประมาณ10 เซนติเมตร และ เมื่อ วันที่ 22 มีนาคม 2530 โจทก์ ได้ ก่อสร้างกำแพง อิฐ กั้น ดาดฟ้า ตึกแถว ของ โจทก์ กับ จำเลย มี ขนาด ความ กว้าง2 เมตร 78 เซนติเมตร สูง 1 เมตร 53 เซนติเมตร ครั้น เมื่อ วันที่23 มีนาคม 2530 จำเลย สมคบ กับพวก ทุบ ทำลาย กำแพง อิฐ ดังกล่าว โดย ปราศจากอำนาจ ที่ จะ กระทำ โดยชอบ ด้วย กฎหมาย เป็นเหตุ ให้ กำแพง อิฐ พัง ทลายลง มา ทั้งหมด ขอให้ บังคับ จำเลย รื้อถอน ผนังตึก แถว ที่ รุกล้ำ ที่ดินของ โจทก์ หาก ไม่สามารถ ดำเนินการ ได้ ให้ ชดใช้ เงิน เป็น ค่า ใช้ ที่ดินเดือน ละ 10,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า สิ่งปลูกสร้าง ที่ รุกล้ำจะ สลาย ไป ทั้งหมด ให้ จำเลย ชดใช้ ค่าเสียหาย จำนวน 4,500 บาทและ ให้ จำเลย ก่อสร้าง กำแพง อิฐ กั้น ดาดฟ้า ตึกแถว ของ โจทก์ กับ จำเลยแทนที่ กำแพง เดิม ที่ จำเลย ทุบ ทำลาย หาก จำเลย ไม่ ก่อสร้าง ภายใน เวลา ที่ศาล กำหนด ขอให้ โจทก์ เป็น ผู้ทำการ ก่อสร้าง โดย ให้ จำเลย เป็น ผู้ ออกค่าใช้จ่าย ใน การ ก่อสร้าง แทน โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า ฟ้อง ของ โจทก์ เคลือบคลุม จำเลย ไม่ได้ ก่อสร้างผนังตึก แถว รุกล้ำ เข้า ไป ใน ที่ดิน ของ โจทก์ จำเลย รื้อ ผนังตึก แถว เดิมแล้ว สร้าง ผนังตึก แถว ใหม่ โดย โจทก์ ยินยอม และ อยู่ ภายใน เขต ที่ดินของ จำเลย โจทก์ กับพวก บุกรุก ขึ้น ไป ก่อสร้าง กำแพง อิฐ ต่อเติม ซ้อนลง บน แนว ผนัง กั้น ระหว่าง ตึกแถว ของ โจทก์ กับ จำเลย ชั้น ดาดฟ้า โดยผิด หลักวิชา กำแพง ที่ โจทก์ สร้าง จึง ล้ม ลง ค่าเสียหาย ไม่เกิน 1,000บาท และ โจทก์ ไม่ได้ เสียหาย เดือน ละ 10,000 บาท ฟ้อง ของ โจทก์ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว เห็นว่า บ้าน และ ที่ดิน ตาม ฟ้อง เป็น ของนาง นันทา มารดา โจทก์ โจทก์ เป็น เพียง ตัวแทน ผู้มีชื่อ ใน โฉนด ที่ดิน เท่านั้น เมื่อ โจทก์ ไม่ใช่ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ แท้จริง โจทก์ จึงไม่มี อำนาจฟ้อง คดี นี้ ปัญหา เรื่อง อำนาจฟ้อง เป็น ปัญหาข้อกฎหมายอัน เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน แม้ จำเลย จะ ไม่ได้ ยกขึ้นต่อสู้ ไว้ ใน คำให้การ ศาล เห็นสมควร ยกขึ้น วินิจฉัย แล้ว พิพากษายกฟ้อง โจทก์
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ตาม คำฟ้อง โจทก์ ได้ บรรยายฟ้อง ไว้ ว่าโจทก์ เป็น เจ้าของ ที่ดิน มี โฉนด ซึ่ง ใน โฉนด มี ชื่อ โจทก์ เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ จำเลย มิได้ ให้การ ปฏิเสธ ว่า โจทก์ มิใช่ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ใน ที่ดิน โฉนด ดังกล่าว แต่ กลับ ให้การ ยอมรับ ว่า จำเลย ไม่ได้ ก่อสร้างรุกล้ำ เข้า ไป ใน ที่ดิน โจทก์ จึง เห็น ได้ว่า จำเลย ยอมรับ ว่า ที่ดินพิพาทเป็น ของ โจทก์ จริง ดังนั้น คดี ไม่มี ประเด็น ข้อพิพาท ว่า โจทก์ มี ชื่อถือ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท แทน มารดา โจทก์ หรือไม่ การ ที่ศาลล่าง ทั้ง สอง หยิบยก ปัญหาข้อเท็จจริง ขึ้น วินิจฉัย ว่า โจทก์ มี ชื่อใน โฉนด ที่ดินพิพาท เป็น เพียง ใส่ ชื่อ แทน มารดา โจทก์ โจทก์ จึง ไม่มีอำนาจฟ้อง แล้ว พิพากษายก ฟ้อง คำพิพากษา ของ ศาลล่าง ทั้ง สอง จึง เป็นการ หยิบยก ข้อเท็จจริง นอกประเด็น ขึ้น วินิจฉัย ไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 สำหรับ การ วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง หรือไม่ นั้น จะ ต้อง เป็นข้อเท็จจริง ที่ ได้ มาจาก ดำเนิน กระบวนพิจารณา โดยชอบ เมื่อ เป็นข้อเท็จจริง นอกประเด็น ก็ จะ หยิบยก ขึ้น วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ไม่ได้ ทั้ง กรณี มิใช่ เป็น การ นำสืบ หักล้าง ข้อสันนิษฐานของ กฎหมาย ข้อ นี้ แม้ โจทก์ จะ มิได้ ฎีกา แต่ เป็น ปัญหาข้อกฎหมายอัน เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ศาลฎีกา มีอำนาจ หยิบยกขึ้น วินิจฉัย ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)และ เมื่อ ศาลล่าง ทั้ง สอง ยัง มิได้ วินิจฉัย ประเด็น ข้อพิพาท โดย พิจารณาพยานหลักฐาน ตาม ที่ คู่ความ นำสืบ โต้แย้ง กัน ก่อน กรณี จึง มีเหตุ สมควรย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลชั้นต้น พิจารณา และ มี คำพิพากษา ใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบ ด้วย มาตรา 247”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ให้ ศาลชั้นต้นพิจารณา และ มี คำพิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี