แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ขณะทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายโจทก์ไม่รู้ว่ามีคำสั่งห้ามโอนที่พิพาทการแสดงเจตนาเข้าทำสัญญาของโจทก์จึงเกิดจากการสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ที่จะซื้อซึ่งเป็นสาระสำคัญสัญญาจะซื้อขายจึงเป็นโมฆียะโจทก์มีสิทธิบอกล้างได้เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกล้างโดยบอกเลิกสัญญาแล้ว สัญญาจะซื้อขายจึงตกเป็น โมฆะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยต้องคืน เงินมัดจำให้โจทก์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้วเมื่อจำเลยฎีกาว่าโจทก์ยังไม่ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาย่อมเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกามีเพียง60,000บาทย่อมต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคแรก
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย คืนเงิน มัดจำ จำนวน 60,000 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงิน ดังกล่าวนับ ตั้งแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา จำเลย จึง มีสิทธิ ริบ เงินมัดจำ ได้ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ว่า ให้ จำเลย คืนเงิน มัดจำ 60,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง (วันที่ 8กุมภาพันธ์ 2533) เป็นต้น ไป จนกว่า ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง รับฟัง เป็น ยุติ ตาม คำฟ้องคำให้การ และ ตาม คำพิพากษา ของ ศาลล่าง ทั้ง สอง ว่า เมื่อ วันที่6 สิงหาคม 2531 โจทก์ ได้ ทำ หนังสือ สัญญา จะซื้อ ที่พิพาท จาก จำเลยใน ราคา 465,850 บาท ตกลง จะ โอนสิทธิ กัน ภายใน เดือน พฤศจิกายน 2531โดย โจทก์ ได้ วางเงิน มัดจำ ให้ ไว้ แก่ จำเลย ใน วัน ทำ สัญญา 60,000 บาทตาม หนังสือ สัญญาจะซื้อขาย เอกสาร หมาย จ. 1 เมื่อ ถึง วันนัด จดทะเบียน โอนสิทธิ ใน ที่ดิน โจทก์ มิได้ ไป รับโอน ที่พิพาท นี้ ทางราชการโดย เจ้าพนักงาน ที่ดิน มี คำสั่ง ห้ามโอน เมื่อ วันที่ 24 เมษายน 2529เพราะ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) ที่พิพาท ออก ทับที่สาธารณะ ตาม คำสั่ง ห้ามโอน เอกสาร หมาย จ. 2 โดย ขณะ ทำ สัญญาโจทก์ ไม่รู้ ว่า มี คำสั่ง ห้ามโอน ดังกล่าว
ประเด็น ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ซึ่ง ฎีกา ว่า แม้ ใน คำสั่งห้ามโอน เอกสาร หมาย จ. 2 จะ ห้ามโอน ที่พิพาท ก็ ตาม แต่ ใน ทางปฏิบัติ แล้ว ถ้า คู่สัญญา ยืนยัน จะ ขอ ทำนิติกรรม โอนสิทธิ กัน แล้วเจ้าพนักงาน ที่ดิน ก็ ทำการ โอนสิทธิ ให้ ได้ กรณี ของ โจทก์ กับ จำเลย นี้เมื่อ จำเลย พร้อม จะ โอน ให้ โจทก์ แต่ โจทก์ ไม่ไป รับโอน เช่นนี้ โจทก์ย่อม เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ซึ่ง เป็น ฎีกา ใน ปัญหาข้อกฎหมาย เห็นว่าใน ขณะ ทำ หนังสือ สัญญาจะซื้อขาย เมื่อ โจทก์ ไม่รู้ ว่า มี คำสั่ง ห้ามโอนที่พิพาท แล้ว การแสดง เจตนา เข้า ทำ สัญญา ของ โจทก์ จึง เกิดจาก การสำคัญผิด ใน คุณสมบัติ ของ ทรัพย์ ที่ จะซื้อ ซึ่ง เป็น สาระสำคัญ สัญญาจะซื้อขาย นี้ จึง เป็น โมฆียะ ซึ่ง โจทก์ มีสิทธิ บอกล้าง ได้ เมื่อ โจทก์ ใช้สิทธิ บอกล้าง เลิกสัญญา แล้ว สัญญาจะซื้อขาย จึง ตกเป็น โมฆะ ต้อง กลับคืนสู่ ฐานะ เดิม จำเลย จึง ต้อง คืนเงิน มัดจำ ให้ โจทก์ จำเลย จะ อ้างว่า โจทก์เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ไม่ได้ แสดง ว่า โจทก์ ไม่ต้อง การ ทำนิติกรรม การ โอนสิทธิ ที่พิพาท กับ จำเลย จำเลย จะ บังคับ ให้ โจทก์ ไป จดทะเบียน รับโอนสิทธิ ที่พิพาท โดย จำเลย ฝ่ายเดียว เป็น ฝ่าย ยืนยัน ให้ จดทะเบียน โอนสิทธิ หาได้ไม่ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ว่า จำเลย เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา และ ให้จำเลย คืนเงิน มัดจำ จำนวน 60,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์นั้น ชอบแล้ว ฎีกา ใน ประเด็น นี้ ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น
จำเลย ฎีกา ข้อ ต่อไป ว่า โจทก์ ใช้ สิทธิ บอกเลิก สัญญา แล้ว หรือไม่ประเด็น ข้อ นี้ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย แล้ว ว่า โจทก์ ได้ ใช้ สิทธิ บอกเลิกสัญญา แล้ว เมื่อ จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ ยัง ไม่ได้ ใช้ สิทธิ บอกเลิก สัญญาย่อม เป็น ฎีกา โต้เถียง ดุลพินิจ ใน การ รับฟัง พยานหลักฐาน ของศาลอุทธรณ์ ซึ่ง เป็น ปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อ จำนวนเงิน ที่พิพาท ใน ชั้นฎีกา มี เพียง 60,000 บาท แล้ว ย่อม เป็น ฎีกา ที่ ต้องห้าม ใน ปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรกศาลฎีกา จึง ไม่รับ วินิจฉัย ให้ ”
พิพากษายืน