คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์โดยอ้างว่าเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์แล้วก็ได้ติดตามเพื่อทราบคำสั่งตลอดมาแต่ไม่สามารถทราบคำสั่งได้เนื่องจากเจ้าพนักงานศาลแจ้งว่าคำสั่งยังไม่ลงมาและยังหาสำนวนไม่พบโจทก์จึงไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ภายในกำหนดได้กรณีมีเหตุสุดวิสัยเห็นว่าพฤติการณ์ตามฎีกาของโจทก์ดังกล่าวหาใช่เป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ไม่แต่เป็นเพียงกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษเท่านั้นเมื่อโจทก์มิได้ขอขยายระยะเวลาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ศาลจึงไม่อาจอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ได้

ย่อยาว

คดี นี้ สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันชำระ เงิน จำนวน 176,720 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ศาลชั้นต้น มี คำพิพากษาเมื่อ วันที่ 4 มีนาคม 2536 ว่า ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงินจำนวน 63,500 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย วันที่ 31 มีนาคม 2536โจทก์ ยื่น คำร้องขอ ขยาย ระยะเวลา ยื่น อุทธรณ์ ออก ไป อีก 15 วัน นับแต่วัน ครบ กำหนด อุทธรณ์ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง อนุญาต ให้ ขยาย ระยะเวลา อุทธรณ์ออก ไป อีก 15 วัน นับแต่ วัน ครบ กำหนด อุทธรณ์ โจทก์ ยื่น อุทธรณ์วันที่ 20 เมษายน 2536 และ โจทก์ ลงลายมือชื่อ ไว้ ใน อุทธรณ์ เพื่อ มาทราบ คำสั่ง ใน วันที่ 27 เมษายน 2536 ถ้า ไม่มา ให้ ถือว่า ทราบ คำสั่ง แล้ววันที่ 21 เมษายน 2536 ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า ครบ กำหนด ขยาย ระยะเวลาอุทธรณ์ ให้ โจทก์ วันที่ 19 เมษายน 2536 โจทก์ ยื่น อุทธรณ์ พ้น กำหนดจึง ไม่รับ อุทธรณ์ วันที่ 21 พฤษภาคม 2536 โจทก์ ยื่น คำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาล ชั้นต้น ที่ ไม่รับ อุทธรณ์ และ ยื่น คำร้องขอ ขยาย ระยะเวลาอุทธรณ์ คำสั่ง ดังกล่าว มา ด้วย ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง คำร้องขอ ขยายระยะเวลา ว่า ยัง ไม่มี เหตุ เปลี่ยนแปลง คำสั่ง เดิม ให้ยก คำร้องและ มี คำสั่ง คำร้องอุทธรณ์ คำสั่ง ว่า โจทก์ ยื่น อุทธรณ์ คำสั่งที่ ไม่รับ อุทธรณ์ พ้น กำหนด แล้ว จึง ไม่รับ อุทธรณ์ คำสั่ง
โจทก์ อุทธรณ์ คำสั่งศาล ชั้นต้น
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “โจทก์ ยื่น อุทธรณ์ เมื่อ วันที่ 20 เมษายน2536 และ โจทก์ ลงลายมือชื่อ ไว้ ใน อุทธรณ์ เพื่อ มา ทราบ คำสั่ง ใน วันที่27 เมษายน 2536 ถ้า ไม่มา ให้ ถือว่า ทราบ คำสั่ง แล้ว ต่อมา วันที่ 21เมษายน 2536 ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ไม่รับ อุทธรณ์ ของ โจทก์ ดังนี้ใน เบื้องต้น ถือได้ว่า วันที่ 27 เมษายน 2536 เป็น วันนัด ที่ ศาลชั้นต้นได้ กำหนด ไว้ ให้ โจทก์ มา ฟัง คำสั่ง เกี่ยวกับ อุทธรณ์ ของ โจทก์ และ ถ้าโจทก์ ไม่มา ก็ ให้ ถือว่า ทราบ คำสั่ง ดังกล่าว โดยชอบ แล้ว ด้วย ที่ โจทก์กล่าวอ้าง ใน ฎีกา ว่า เมื่อ โจทก์ ยื่น อุทธรณ์ แล้ว ก็ ได้ ติดตาม เพื่อ ทราบคำสั่ง ตลอดมา แต่ โจทก์ ไม่สามารถ ทราบ คำสั่ง ได้ เนื่องจากเจ้าพนักงาน ศาล แจ้ง ว่า คำสั่ง ยัง ไม่ ลง มา และ ยัง หา สำนวน ไม่พบ จน กระทั่งวันที่ 18 พฤษภาคม 2536 เจ้าพนักงาน ศาล หา สำนวน พบ และ โจทก์ ทราบคำสั่งศาล ชั้นต้น ไม่รับ อุทธรณ์ ใน วัน ดังกล่าว โจทก์ จึง ไม่สามารถยื่น อุทธรณ์ คำสั่งศาล ชั้นต้น ที่ ไม่รับ อุทธรณ์ ภายใน กำหนด ได้กรณี จึง มีเหตุ สุดวิสัย ที่ โจทก์ มิอาจ จะ ก้าวล่วง เข้า ไป ดำเนินการ เองได้ นั้น เห็นว่า พฤติการณ์ ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ดังกล่าว หาใช่ เป็นกรณี ที่ มีเหตุ สุดวิสัย ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23ไม่ แต่ เป็น เพียง กรณี ที่ มี พฤติการณ์ พิเศษ ดังกล่าว เท่านั้น ดังนี้หาก โจทก์ จะ ไม่ให้ ถือว่า โจทก์ ทราบ คำสั่ง ดังกล่าว ใน วันที่ 27 เมษายน2536 โจทก์ ก็ จะ ต้อง ขอ ขยาย ระยะเวลา ที่ กำหนด นัด ไว้ ใน วันที่ 27 เมษายน2536 ออก ไป ก่อน สิ้น ระยะเวลา ดังกล่าว ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 23 แต่ โจทก์ หา ได้ ดำเนินการ ดังกล่าว ไม่ จึง ต้อง ถือว่าโจทก์ ได้ ทราบ คำสั่งศาล ชั้นต้น ที่ ไม่รับ อุทธรณ์ ของ โจทก์ ใน วันที่27 เมษายน 2536 แล้ว ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า เพิ่ง ทราบ คำสั่งศาล ชั้นต้นดังกล่าว เมื่อ วันที่ 18 พฤษภาคม 2536 จึง ไม่อาจ รับฟัง ได้ ศาล จึงไม่อาจ อนุญาต ให้ โจทก์ ขยาย ระยะเวลา อุทธรณ์ คำสั่งศาล ชั้นต้นที่ ไม่รับ อุทธรณ์ ของ โจทก์ และ มี คำสั่ง ให้ รับคำ ร้อง อุทธรณ์ คำสั่งที่ ไม่รับ อุทธรณ์ ของ โจทก์ ไว้ พิจารณา ต่อไป ดัง ฎีกา ของ โจทก์ ได้คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ จึง ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share