แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
การที่ศาลมีคำสั่งตั้ง ย. และผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลของ พ.คนไร้ความสามารถนั้นเมื่อต่อมา ย. ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายย่อมเป็นเหตุทำให้การเป็นผู้อนุบาลสิ้นสุดลง ย.ไม่เป็นผู้อนุบาลอีกต่อไปผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอในฐานะผู้อนุบาลของ พ. ได้โดยลำพังคนเดียว ผู้จัดการมรดกถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายย่อมขาดคุณสมบัติการเป็นผู้จัดการมรดกทำให้กองมรดกของผู้ตายไม่มีผู้จัดการเมื่อการจัดการแบ่งมรดกยังมีข้อขัดข้องผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลของพ. คนไร้ความสามารถซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายจึงมีสิทธิขอให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
ย่อยาว
ผู้ร้อง ยื่น คำร้องขอ ให้ มี คำสั่ง ตั้ง ผู้ร้อง เป็น ผู้จัดการมรดกของ ผู้ตาย
ผู้คัดค้าน ยื่น คำคัดค้าน ขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ตั้ง นาง วรนุช เก่งมานะ ใน ฐานะ ผู้อนุบาล ของ นาย เพิ่มพูน เก่งมานะ คนไร้ความสามารถ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาย เก๋งโอว แซ่ตั้ง ผู้วายชนม์ โดย ให้ มีสิทธิ และ หน้าที่ ตาม กฎหมาย
ผู้คัดค้าน อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
ผู้คัดค้าน ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ใน เบื้องต้นฟังได้ ว่า นาย เก๋งโอวกับนางกิ่งทอง มี บุตร ด้วยกัน 6 คน คือ 1. ผู้คัดค้าน 2. นาย เพิ่มเกียรติ 3. ผู้ร้อง 4. นาย เพิ่มยศ 5. นาย เพิ่มพูน และ 6. นาง วิไลวรรณ เมื่อ นาย เก๋งโอว ถึงแก่กรรม ศาล มี คำสั่ง ตั้ง นาย เพิ่มยศ เป็น ผู้จัดการมรดก ส่วน นาย เพิ่มพูน ศาล มี คำสั่ง ให้ เป็น คนไร้ความสามารถ โดย มี นาย เพิ่มยศ และ ผู้ร้อง เป็น ผู้อนุบาล เมื่อ วันที่ 27 สิงหาคม 2534 ศาล มี คำพิพากษา ให้นาย เพิ่มยศ เป็น บุคคล ล้มละลาย
ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ต่อไป มี ว่า ผู้ร้อง ใน ฐานะ ผู้อนุบาล ของนาย เพิ่มพูน มีอำนาจ ยื่น คำร้องขอ ใน คดี นี้ โดย ลำพัง หรือไม่ เห็นว่า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 วรรคสอง บัญญัติ ว่าการ แต่งตั้ง ผู้อนุบาล อำนาจ หน้าที่ ของ ผู้อนุบาล และ การ สิ้นสุด ของความ เป็น ผู้อนุบาล ให้ เป็น ไป ตาม บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ประมวล กฎหมาย นี้มาตรา 1598/18 วรรคสอง บัญญัติ ว่า ใน กรณี ที่ บุคคลอื่น ซึ่ง มิใช่บิดา มารดา หรือ มิใช่ คู่สมรส เป็น ผู้อนุบาล ให้ นำ บทบัญญัติ ว่าด้วยสิทธิ และ หน้าที่ ของ ผู้ปกครอง มา ใช้ บังคับ โดย อนุโลม มาตรา 1598/7(4)บัญญัติ ว่า ความ เป็น ผู้ปกครอง สิ้นสุด ลง เมื่อ ผู้ปกครอง เป็น บุคคลล้มละลาย ฉะนั้น เมื่อ นาย เพิ่มยศ ถูก ศาล พิพากษา ให้ เป็น บุคคล ล้มละลาย ย่อม เป็นเหตุ ทำให้ การ เป็น ผู้อนุบาล ของ นาย เพิ่มยศ สิ้นสุด ลง ไม่เป็น ผู้อนุบาล อีก ต่อไป ผู้ร้อง จึง ยื่น คำร้องขอ ใน ฐานะผู้อนุบาล ของ นาย เพิ่มพูน ได้ โดย ลำพัง ผู้เดียว
ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ข้อ สุดท้าย มี ว่า การ จัดการ ทรัพย์มรดกของ นาย เก๋งโอว ผู้ตาย มีเหตุ ขัดข้อง หรือไม่ ได้ความ ว่า เมื่อ วันที่ 21 กรกฎาคม 2523 ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ตั้ง นาย เพิ่มยศ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย ต่อมา เมื่อ วันที่ 27 สิงหาคม 2534นาย เพิ่มยศ ถูก ศาล พิพากษา ให้ เป็น บุคคล ล้มละลาย ประมวล กฎหมาย แพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1718(3) บัญญัติ ว่า บุคคล ซึ่ง ศาล สั่ง ให้เป็น คน ล้มละลาย จะ เป็น ผู้จัดการมรดก ไม่ได้ เมื่อ ได้ความ ว่า หลังจากนาย เพิ่มยศ เป็น ผู้จัดการมรดก แล้ว ต่อมา ถูก ศาล พิพากษา ให้ เป็น บุคคล ล้มละลาย นาย เพิ่มยศ ย่อม ขาด คุณสมบัติ การ เป็น ผู้จัดการมรดก เป็น ผู้จัดการมรดก ต่อไป ไม่ได้ ทำให้ กอง มรดก ของ ผู้ตาย ไม่มี ผู้จัดการมรดก แม้ จะ ได้ความ ว่า ใน ขณะที่ นาย เพิ่มยศ เป็น ผู้จัดการมรดก อยู่ ได้ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ แบ่งปัน มรดก กับ ทายาท บางคน แล้วก็ ไม่ปรากฏ ว่า นาย เพิ่มยศ ได้ แบ่ง ทรัพย์มรดก ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ เรียบร้อย แล้ว หรือไม่ นอกจาก นี้ ทายาท อีก สอง คน คือนาย เพิ่มเกียรติ และนายเพิ่มพูน มิได้ ตกลง ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ด้วย แสดง ว่าการ จัดการ แบ่งปัน ทรัพย์มรดก ยัง มี ข้อ ขัดข้อง อยู่มีเหตุ ต้อง ตั้ง ผู้จัดการมรดก อีก ผู้ร้อง ไม่เป็น บุคคล ต้องห้าม ตามกฎหมาย ทั้ง ได้รับ ความ ยินยอม จาก นาง กิ่งทอง มารดา และ นาง วิไลวรรณ น้องสาว แล้ว ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ให้ ตั้ง ผู้ร้อง ใน ฐานะ ผู้อนุบาลของ นาย เพิ่มพูน เก่งมานะ คนไร้ความสามารถ เป็น ผู้จัดการมรดก ของ ผู้ตาย นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ ผู้คัดค้าน ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน