คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ให้ลดขั้นเงินเดือนของโจทก์ซึ่งศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าโจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยจำเลยมีสิทธิลงโทษโจทก์ได้คำสั่งให้ลดขั้นเงินเดือนโจทก์นั้นเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายคดีถึงที่สุดแล้วต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ว่าการลงโทษลดขั้นเงินเดือนโจทก์นั้นเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420ซึ่งจำเลยทำละเมิดแก่โจทก์หรือไม่ต้องได้ความว่าจำเลยมีคำสั่งลงโทษโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดระเบียบข้อบังคับของจำเลยและทำให้โจทก์เสียหายเมื่อศาลฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยจนถึงที่สุดแล้วว่าคำสั่งลงโทษโจทก์ของจำเลยเป็นคำสั่งที่ชอบจึงไม่เป็นละเมิดแก่โจทก์แต่เป็นเรื่องสืบเนื่องมาจากมูลกรณีเดียวกันหาใช่เป็นเรื่องละเมิดอีกต่างหากจึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา148ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย จ้าง โจทก์ ทำงาน เป็น ลูกจ้าง จำเลย มี คำสั่งกอง บริการ ชุมชน ที่ ข. 2/2529 ลงโทษ ลด ขั้น เงินเดือน โจทก์ 1 ขั้นจาก ขั้น 3,985 บาท เป็น ขั้น 3,685 บาท ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน2529 เป็นต้น ไป โดย กล่าวหา ว่า โจทก์ กระทำผิด วินัย ฐาน ไม่ รักษาวินัย ฝ่าฝืน คำสั่ง แสดง ความ กระด้างกระเดื่อง ต่อ ผู้บังคับบัญชาไม่ ตั้งใจ ปฏิบัติงาน ขัดคำสั่ง ผู้บังคับบัญชา และ ฝ่าฝืน คำสั่งของ จำเลย โดย โจทก์ มิได้ กระทำ ความผิด ดัง ที่ จำเลย กล่าวหา แต่อย่างใดการกระทำ ของ จำเลย เป็น การ ละเมิด ต่อ โจทก์ ทำให้ โจทก์ ได้รับความเสียหาย ขาด รายได้ ที่ จะ ได้ ขึ้น ขั้น ค่าจ้าง แต่ละ ปี ขอให้บังคับ จำเลย จ่าย ค่าเสียหาย และ ค่า ขาด รายได้ แก่ โจทก์ โดย เพิกถอนคำสั่ง กอง บริการ ชุมชน ที่ ข. 2/2529 ที่ ให้ ลงโทษ โจทก์ จำเลย ให้การ ว่า คำฟ้อง ของ โจทก์ คดี นี้ เป็น ฟ้องซ้ำ กับ คดีหมายเลขแดง ที่ 7718/2535 ของ ศาลแรงงานกลาง ซึ่ง มี คู่ความเดียว กัน และ คดี ดังกล่าว มี คำพิพากษาถึงที่สุด แล้ว ว่า คำสั่ง ลงโทษลด ขั้น เงินเดือน ที่ ข. 2/2529 เป็น คำสั่ง ที่ชอบ ด้วย กฎหมาย ขอให้ยกฟ้อง ศาลแรงงานกลาง พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า คำฟ้อง โจทก์ เป็น ฟ้องซ้ำพิพากษายก ฟ้อง โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ไม่ได้ กระทำ ความผิด ตาม ข้อกล่าวหา ใน คำสั่ง ที่ ข. 2/2529 เรื่องลงโทษ ลด ขั้น เงินเดือน กล่าว คือ โจทก์ ไม่ได้ แสดง กิริยา วาจา ไม่ สุภาพเรียบร้อย และ แสดง ความ กระด้างกระเดื่อง ต่อ ผู้บังคับบัญชา ไม่ได้ ขัดคำสั่ง ผู้บังคับบัญชา ที่ สั่ง โดยชอบ ไม่ได้ บกพร่อง ต่อหน้า ที่ และไม่ได้ ฝ่าฝืน คำสั่ง การ เคหะ แห่งชาติ ที่ ง.3/2520 ลงวันที่ 19 มกราคม2520 โดย ไม่ ลง เวลา มา ทำงาน การ งด พิจารณา เลื่อน ขั้น เงินเดือนปีงบประมาณ 2529 และ งด จ่ายเงิน โบนัส ใน ปี ดังกล่าว รวมทั้ง เงินโบนัสอัน เนื่องจาก ส่วน แตกต่าง ของ เงินเดือน จึง เป็น การ ละเมิด ต่อ โจทก์ซึ่ง ต้อง บังคับ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 อันเป็นประเด็น ใหม่ ไม่เป็น ฟ้องซ้ำ กับ คดี ก่อน นั้น พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่าคดี ก่อน คือ คดี หมายเลขแดง ที่ 7718/2535 โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็นลูกจ้าง จำเลย ครั้งสุดท้าย ทำ หน้าที่ พนักงาน คอมพิวเตอร์ แผนกจัดเก็บ ข้อมูล และ คำสั่ง กอง บริหาร งาน กลาง ฝ่าย ศูนย์ คอ มพิวเตอร์ได้รับ ค่าจ้าง อัตรา สุดท้าย เดือน ละ 8,415 บาท เมื่อ วันที่20 พฤษภาคม 2529 จำเลย โดย นาย วิวัธน์ เปรมประเสริฐ หัวหน้า กอง บริการ ชุมชน ได้ มี คำสั่ง กอง บริการ ชุมชน ที่ ข. 2/2529 เรื่องลงโทษ ลด ขั้น เงินเดือน โจทก์ โดย กล่าวหา ว่า โจทก์ กระทำผิด วินัยตาม ข้อบังคับ การ เคหะ แห่งชาติ ฉบับที่ 4 ข้อ 25, 26 และ 27 ฐานไม่ รักษา วินัย ฝ่าฝืน คำสั่ง แสดง ความ กระด้างกระเดื่อง ต่อผู้บังคับบัญชา และ ไม่ ตั้งใจ ปฏิบัติงาน และ ฝ่าฝืน คำสั่ง การ เคหะแห่งชาติ ที่ ง.3/2520 โดย เป็น ความผิด วินัย ที่ ปรากฏ ชัดแจ้ง ให้ลด ขั้น เงินเดือน โจทก์ 1 ขั้น จาก ขั้น อัตรา 3,985 บาท เป็น ขั้น อัตรา3,685 บาท คำสั่ง ที่ ให้ ลงโทษ โจทก์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และ ระเบียบข้อบังคับ ของ จำเลย โจทก์ ไม่ได้ กระทำผิด วินัย ตาม ที่ กล่าวหาขอให้ เพิกถอน คำสั่ง ของ จำเลย ที่ ข. 2/2529 ที่ ให้ ลด ขั้น เงินเดือนโจทก์ ให้ จำเลย ขึ้น เงินเดือน โจทก์ ที่ ถูก ลด ไป 1 ขั้น เสมือน ไม่เคยถูก ลงโทษ มา ก่อน ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2529 เป็นต้น ไป ให้ จำเลยขึ้น เงินเดือน 1 ขั้น ความ ดี ความชอบ ของ ผล การ ทำงาน ระหว่าง วันที่1 กรกฎาคม 2528 ถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2529 และ ให้ จำเลย จ่ายเงินโบนัส ส่วน ที่ จำเลย หัก ไว้ คืน แก่ โจทก์ ส่วน คดี นี้ โจทก์ ก็ อ้าง เหตุเป็น มูลฟ้อง ทำนอง เดียว กัน ว่า จำเลย กล่าวหา ว่า โจทก์ ไม่ปฏิบัติตาม ข้อบังคับ การ เคหะ แห่งชาติ ฉบับที่ 4 ข้อ 25, 26 และ 27ฐาน ไม่ รักษา วินัย ฝ่าฝืน คำสั่ง ผู้บังคับบัญชา แสดง กิริยา วาจาไม่ สุภาพ เรียบร้อย แสดง ความ กระด้างกระเดื่อง ต่อ ผู้บังคับบัญชาและ ฝ่าฝืน คำสั่ง การ เคหะ แห่งชาติ ที่ ง.3/2520 เป็น ความผิด วินัยที่ ปรากฏ ชัดแจ้ง จำเลย จึง ได้ มี คำสั่ง ลด ขั้น เงินเดือน โจทก์ ตามคำสั่ง ที่ ข. 2/2529 ซึ่ง ความจริง โจทก์ ไม่ได้ กระทำผิด วินัย ตามที่ กล่าวหา แต่อย่างใด การกระทำ ของ จำเลย เป็น การ ไม่ชอบ เป็นการ ละเมิด ทำให้ โจทก์ ขาด รายได้ ที่ จะ ได้ จาก การ ขึ้น ค่าจ้าง แต่ละ ปีโจทก์ ไม่ได้ รับ การ พิจารณา ความ ดี ความชอบ ของ ผลงาน ประจำปีและ ไม่มี สิทธิ ได้รับ โบนัส แต่ละ ปีงบประมาณ รวมเป็น ค่าเสียหายทั้งสิ้น จำนวน 104,790 บาท ขอให้ ศาลแรงงานกลาง มี คำสั่งเพิกถอน คำสั่ง ที่ ให้ ลด ขั้น เงินเดือน โจทก์ ที่ ข. 2/2529 ให้ จำเลยจ่ายเงิน เดือน ตั้งแต่ ปีงบประมาณ 2529 จน ถึง ปีงบประมาณ 2538และ ให้ จำเลย จ่าย ค่าจ้าง ใน ปีงบประมาณ 2539 เป็น เงินเดือน ละ 13,840บาท เห็นว่า คดี ก่อน กับ คดี นี้ มี ประเด็น เป็น อย่างเดียว กัน ว่าคำสั่ง ของ จำเลย ที่ ข. 2/2529 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2529 ที่ ให้ลด ขั้น เงินเดือน โจทก์ 1 ขั้น ชอบ ด้วย กฎหมาย หรือไม่ และ ประเด็น นี้ได้ ขึ้น สู่ การ วินิจฉัย ของ ศาล แล้ว จน ศาล วินิจฉัย ว่า โจทก์ ฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติ ตาม ระเบียบ ข้อบังคับ หรือ คำสั่ง อัน ชอบ ด้วย กฎหมาย ของ จำเลยตาม ข้อบังคับ การ เคหะ แห่งชาติ ฉบับที่ 4 ว่าด้วย การ บรรจุ การ แต่งตั้งการ ออกจาก ตำแหน่ง วินัย และ การ ลงโทษ ของ พนักงาน ข้อ 25, 26 และ 27จำเลย จึง มีสิทธิ ลงโทษ โจทก์ ตาม ระเบียบ ข้อบังคับ ดังกล่าว คำสั่ง ของจำเลย ที่ ข. 2/2529 เป็น คำสั่ง ที่ชอบ และ คดีถึงที่สุด แล้ว คำสั่งให้ ลด ขั้น เงินเดือน ของ โจทก์ เป็น คำสั่ง ที่ชอบ ตาม คดี หมายเลขแดงที่ 7718/2535 ของ ศาลแรงงานกลาง การ ที่ โจทก์ ฟ้องคดีใหม่ นี้จึง เป็น การ รื้อ ร้อง ฟ้อง กัน อีก ใน ประเด็น ที่ ได้ วินิจฉัย โดย อาศัย เหตุอย่างเดียว กัน ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 ประกอบ ด้วย พระราชบัญญัติ จัดตั้ง ศาลแรงงาน และวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่ากรณี เป็น เรื่อง ละเมิด ต้อง บังคับ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 นั้น เห็นว่า การ ที่ จะ ฟัง ว่า จำเลย ทำละเมิด แก่ โจทก์หรือไม่ จะ ต้อง ได้ความ ว่า จำเลย มี คำสั่ง ลงโทษ โจทก์ โดย ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย หรือ ขัด ต่อ ระเบียบ ข้อบังคับ ของ จำเลย และ ทำให้ โจทก์ ได้รับความเสียหาย เมื่อ ศาล ฟัง ข้อเท็จจริง และ วินิจฉัย จน ถึงที่สุด แล้ว ว่าจำเลย ได้ มี คำสั่ง ที่ ข. 2/2529 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2529 ที่ ลดขั้น เงินเดือน โจทก์ 1 ขั้น เป็น คำสั่ง ที่ชอบ การกระทำ ของ จำเลยก็ ไม่เป็น การ ละเมิด แก่ โจทก์ ซึ่ง เป็น เรื่อง สืบเนื่อง มาจาก มูลกรณีเดียว กัน หาใช่ เป็น เรื่อง ละเมิด อีก ต่างหาก ไม่ ศาลแรงงานกลางพิพากษา ชอบแล้ว อุทธรณ์ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ” พิพากษายืน

Share