คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136-146/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

การที่จำเลยที่2รับเหมาตกแต่งห้องพักของโรงแรมโดยใช้วัสดุและอุปกรณ์ของจำเลยที่2นั้นเป็นสัญญาจ้างทำของต่อมาจำเลยที่2ว่าจ้างจำเลยที่1ตกแต่งห้องพักก็เป็นกรณีจ้างทำของเช่นเดียวกันจำเลยที่2และจำเลยที่1ย่อมเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงตามลำดับจำเลยที่2ในฐานะผู้รับเหมาชั้นต้นต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้รับเหมาช่วงในฐานะลูกหนี้ร่วมชำระค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างแม้จำเลยที่2ได้จ่ายค่าจ้างให้จำเลยที่1และจำเลยที่1มิได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตามจำเลยที่2ก็คงต้องรับผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่103ข้อ7.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ รับเหมา ช่วง งาน มา จาก จำเลย ที่2 และ ได้ จ้าง โจทก์ ทั้งสิบเอ็ด สำนวน เป็น ลูกจ้าง ต่อมา โจทก์ทั้งสิบเอ็ด ลา ออกจาก งาน จำเลย ที่ 1 ค้างจ่าย ค่าจ้าง แก่ โจทก์ทั้งสิบเอ็ด สำนวน ขอ ให้ บังคับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ร่วมกัน จ่ายค่าจ้าง ค้างจ่าย
จำเลย ที่ 1 แถลงรับ ว่า ค้าง ค่าจ้าง โจทก์ ทั้งสิบเอ็ด สำนวน บางส่วนและ โจทก์ รับ ว่า เป็น จริง ดัง ข้อแถลง ของ จำเลย ที่ 1
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า สัญญา ระหว่าง จำเลย ทั้งสอง เป็น สัญญาจ้างทำของ จำเลย ที่ 2 จึง มิใช่ ผู้ รับเหมา ชั้นต้น
ศาลแรงงานกลาง พิจารณา ให้ จำเลย ทั้งสอง ร่วมกัน และ แทน กัน ชำระเงิน ค่าจ้าง ที่ ค้าง แก่ โจทก์ ทุก สำนวน
จำเลย ที่ 2 ทุก สำนวน อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า การ ที่ จำเลย ที่ 2 รับเหมาตกแต่ง ห้องพัก ของ โรงแรม โดย ใช้ วัสดุ และ อุปกรณ์ ของ จำเลย ที่2 นั้น เป็น สัญญาจ้าง ทำของ ระหว่าง จำเลย ที่ 2 กับ โรมแรม ต่อมาจำเลย ที่ 2 ว่าจ้าง จำเลย ที่ 1 ตกแต่ง ห้องพัก ก็ เป็น กรณี จ้างทำของ เช่นเดียวกัน เช่นนี้ จำเลย ที่ 2 และ จำเลย ที่ 1 ย่อม เป็นผู้ รับเหมา ชั้นต้น และ ผู้ รับเหมา ช่วง ตาม ลำดับ เมื่อ โจทก์ทั้งสิบเอ็ด สำนวน เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 1 โดย จำเลย ที่ 2เป็น ผู้ รับเหมา ชั้นต้น เช่นนี้ จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ ผู้ รับเหมาชั้นต้น ต้อง รับผิด ร่วมกับ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ผู้ รับเหมา ช่วงใน ฐานะ เป็น ลูกหนี้ร่วม ดังนั้น แม้ จำเลย ที่ 2 ได้ จ่าย เงินค่าจ้าง ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ที่ 1 มิได้ จ่าย ให้ แก่โจทก์ ไม่ ว่า จะ เนื่องด้วย เหตุใด ก็ตาม จำเลย ที่ 2 ก็ยัง คง ต้องรับผิด ตาม ประกาศ ของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7
พิพากษายืน.

Share