คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2486

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทฟ้องว่าจำเลยรับของโจรจากผู้ยักยอกทรัพย์ พายหลังจะอ้างว่าจำเลยมีผิดถานรับของโจร โดยรับของนั้นไว้จากผู้ทำผิดกดหมายหย่างอื่นมิได้
ความหมายของ ม.10 พ.ร.บ. ว่าด้วยไม้ซุงและไม้ท่อนที่ดวงตราลบเลือน ร.ส.115 นั้นประสงค์ที่จะลงโทสะผู้ที่ทำลายรอยตราจนจำไม่ได้

ย่อยาว

โจทฟ้องไห้ลงโทษนายทองจำเลยตามกดหมายอาญามาตรา 318 พ.ร.บ.ว่าด้วยไม้ซุงและไม้ท่อนที่ดวงตราลบเลือน ร.ส.115 มาตรา 10 พ.ร.บ.เดินเรือไนน่านน้ำไทย พ.ส.2456 มาตรา 129, 130 ส่วนนายจเรินจำเลยโจทระบุว่าได้รับไม้ไว้จากนายทองผู้ซึ่งเก็บได้แล้วยักยอกเอาเปนประโยชน์ตน ขอไห้ลงโทษตามกดหมายลักสนะอาญามาตรา 321 พ.ร.บ.ว่าด้วยไม้ซุงและไม้ท่อนที่ดวงตรงลบเลือน ร.ส.115 มาตรา 10
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากสาต้องกันว่า นายทองจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.เดินเรือไนน่านน้ำไทย พ.ส.2456 มาตรา 128, 130 ส่วนนายจเรินจำเลยไม่มีความผิดไห้ปล่อยตัวไป
โจทดีกาว่าการที่นายทองจำเลยไม่ได้ปติบัติตาม พ.ร.บ.เดินเรือไนน่านน้ำไทยมาตรา 128 ทำไห้ไม้นั้นเปนของร้ายอันควนลงโทษนายเจิ่นถานรับของโจรตามมาตรา 321 แห่งกดหมายอาญาได้ สาลดีกาเห็นว่าข้อดีกาของโจทเปนคนละเรื่องกับคำบันยายไหฟ้องจะลงโทสจำเลยมิได้ และข้อที่โจทดีกามาว่าการแปลความตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยไม้ซุงและไม้ท่อนที่มีดวงตราลบเลือน ร.ส.115 มาตรา 10 ที่ว่าไม้ซุงหรือไม้ท่อนซึ่งมีรอยตราวิปลาสด้วยเปลี่ยนแปลงหรือถากถางลบเลือนนั้น คือหย่างไรนั้น ศาลฎีกาเห็นว่าความหมายของมาตรา 10 นี้ประสงค์จะป้องกันและปราบปรามการทำลายรอยตราจนเจ้าของจำไม่ได้ว่าเปนรอยตราของตน หาใช่แต่เพียงทำรอยตราไห้เปลี่ยนแปลงไป แต่จำได้ว่าเป็นรอยตราของใครไม่ จึงพิพากษายืน

Share