แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์มอบให้จำเลยที่1ซึ่งมีจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการติดต่อดำเนินการเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรและการลากจูงตู้บรรจุสินค้าไปบรรจุสินค้าที่โรงงานของโจทก์ซึ่งอยู่ต่างจังหวัดและลากจูงตู้บรรจุสินค้าดังกล่าวไปส่งมอบให้บริษัท น. ที่ท่าเรือของการท่าเรือแห่งประเทศไทยแม้จำเลยที่1จะไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งและไม่มีรถบรรทุกเป็นของตนเองแต่การขนส่งและรับขนสินค้าเป็นวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งของจำเลยที่1ที่ได้จดทะเบียนไว้ก็ถือว่าจำเลยที่1ประกอบการเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าโดยปกติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา608การที่จำเลยที่1ว่าจ้างให้จำเลยที่3นำรถไปลากจูงตู้บรรจุสินค้าดังกล่าวย่อมเป็นการมอบหมายของนั้นไปอีกทอดหนึ่งเมื่อของที่รับขนสูญหายไปเพราะความผิดของจำเลยที่3จำเลยที่1และที่2จึงต้องร่วมกับจำเลยที่3รับผิดต่อโจทก์ด้วยตามมาตรา617
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน720,335.06 บาท นับ ตั้งแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน720,314.30 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีจาก ต้นเงิน 691,335.06 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่โจทก์ แต่ ทั้งนี้ ดอกเบี้ย เมื่อ คิด ถึง วันฟ้อง ต้อง ไม่เกิน 28,979.24บาท
จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ในเบื้องต้น ว่า เมื่อ เดือน กรกฎาคม 2528 บริษัท ไชน่าเทกซ์ รอว์ แมททีเรียล อิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ต คอปเปอร์เรชั่น จำกัด ซึ่ง อยู่ ที่ ประเทศ สาธารณรับประชาชนจีน ได้ สั่ง ซื้อ สินค้า เส้นด้าย ไนลอน ยืดหยุ่น จาก โจทก์ จำนวน 10,179 กิโลกรัม เป็น เงิน1,052,218.50 บาท ใน การ ส่ง สินค้า ดังกล่าว ให้ ผู้ซื้อ โจทก์มอบ ให้ จำเลย ที่ 1 ติดต่อ ดำเนินการ เกี่ยวกับ พิธี การ ศุลกากรและ การ ลาก จูง ตู้ บรรจุ สินค้า ไป บรรจุ สินค้า ที่ โรงงาน ของ โจทก์ ซึ่ง อยู่ที่ จังหวัด สมุทรสาคร และ ลาก จูง ตู้ บรรจุ สินค้า จาก โรงงาน ของ โจทก์ไป ส่งมอบ ให้ บริษัท นามยืนยงชิปปิ้ง จำกัด ที่ ท่าเรือ ของ การท่าเรือ แห่งประเทศ ไทย จำเลย ที่ 1 จ้าง จำเลย ที่ 3 ให้ เป็น ผู้นำ รถ ไป ลาก จูงตู้ บรรจุ สินค้า ดังกล่าว ของ โจทก์ เมื่อ ตู้ บรรจุ สินค้า ส่ง ไป ยัง ผู้ซื้อที่ ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน ใน เดือน ธันวาคม 2528 ปรากฎว่า สินค้า ใน ตู้ สูญหาย ไป 1 ตู้ คือ ตู้ บรรจุ สินค้า หมายเลขไอซีเอสยู 230865-4 น้ำหนัก สินค้า 6,210 กิโลกรัม เป็น เงิน641,937.01 บาท โจทก์ ส่ง สินค้า ไป ทดแทน สินค้า ที่ สูญหายให้ แก่ ผู้ซื้อ แล้ว และ เสีย ค่าใช้จ่าย ใน การ ขนส่ง เป็น เงิน 49,398.05บาท รวมเป็น ค่าเสียหาย 691,335.06 บาท ซึ่ง จำเลย ที่ 3ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ เพราะ สินค้า ดังกล่าว สูญหาย ไป ใน ระหว่าง การ ขนส่งของ จำเลย ที่ 3
มี ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ว่า จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 จะ ต้อง ร่วม กับ จำเลย ที่ 3 รับผิด ใช้ ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์หรือไม่ ได้ความ จาก นาย โสภณ วิจิตรกร กรรมการ ของ โจทก์ ว่า โจทก์ จ้าง จำเลย ที่ 1 ขนส่ง สินค้า ไป ยัง ท่าเรือ ของ การท่าเรือแห่งประเทศ ไทย เพื่อ ส่ง ไป ให้ ผู้ซื้อ ที่ ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน ใน ราคา 70,380 บาท โดย จำเลย ที่ 1 จะ ต้อง จัด ส่ง รถ ไป ลาก จูงตู้ บรรจุ สินค้า ไป ที่ โรงงาน ของ โจทก์ ที่ จังหวัด สมุทรสาคร เพื่อ ให้โจทก์ ทำการ บรรจุ สินค้า แล้ว ลาก จูง ตู้ บรรจุ สินค้า จาก โรงงาน ของ โจทก์ไป ส่งมอบ ให้ บริษัท นามยืนยงชิปปิ้ง จำกัด ที่ ท่าเรือ ของ การท่าเรือ แห่งประเทศ ไทย จำเลย ที่ 1 จ้าง จำเลย ที่ 3 ขนส่ง แทน ใน ราคา69,000 บาท ใน วันที่ บรรจุ สินค้า จำเลย ที่ 1 ก็ ไป ดู การ บรรจุ สินค้าที่ โรงงาน ของ โจทก์ ด้วย เมื่อ เอา สินค้า ลง เรือ เรียบร้อย แล้ว โจทก์ชำระ ค่า ขนส่ง ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 โดย จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้รับเงิน ตามใบเสร็จรับเงิน เอกสาร หมาย จ. 12 แล้ว จำเลย ที่ 1 จึง จ่าย ค่า ขนส่งให้ แก่ จำเลย ที่ 3 ตาม ใบเสร็จรับเงิน เอกสาร หมาย จ. 13 จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 อ้างว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ ประกอบการ ขนส่ง จำเลย ที่ 1เป็น เพียง คนกลาง ติดต่อ ให้ จำเลย ที่ 3 มา ทำการ ขนส่ง สินค้า ให้ โจทก์โดย ได้ ค่าใช้จ่าย ใน การ ติดต่อ เท่านั้น เพราะ จำเลย ที่ 1 ไม่มี ใบอนุญาตเกี่ยวกับ การ ขนส่ง และ ไม่มี รถบรรทุก ของ ตนเอง เห็นว่า แม้ จำเลย ที่ 1จะ อ้างว่า ไม่มี ใบอนุญาต ให้ ประกอบการ ขนส่ง และ ไม่มี รถบรรทุกแต่ การ ขนส่ง และ รับขน สินค้า ก็ เป็น วัตถุประสงค์ ข้อ หนึ่ง ของ จำเลย ที่ 1ที่ ได้ จดทะเบียน ไว้ ตาม เอกสาร หมาย จ. 4 และ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็นหุ้นส่วน ผู้จัดการ ของ จำเลย ที่ 1 ก็ เบิกความ ตอบ ทนายโจทก์ รับ ว่าจำเลย ที่ 1 รับ จัดหา รถ ไป บรรทุก สินค้า ให้ โจทก์ โดย คิด ค่าจ้างทั้งหมด 70,380 บาท ใน วันที่ บรรจุ สินค้า และ ขนสินค้า จาก โรงงานของ โจทก์ เพื่อ ไป ที่ ท่าเรือ ของ การท่าเรือแห่งประเทศไทย จำเลย ที่ 2ก็ ไป ดู การ บรรจุ สินค้า เข้า ตู้ บรรจุ สินค้า ที่ โรงงาน ของ โจทก์ ด้วยและ จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ส่ง มอบ ตู้ บรรจุ สินค้า ของ โจทก์ ให้ แก่ บริษัท นามยืนยงชิปปิ้ง จำกัด ที่ ท่าเรือ ของ การท่าเรือแห่งประเทศไทย นอกจาก นั้น จำเลย ที่ 1 ยัง เป็น ผู้รับเงิน ค่าจ้าง ขนส่ง ทั้งหมดจาก โจทก์ เอง โดย ใน ใบเสร็จรับเงิน ของ จำเลย ที่ 1 เอกสาร หมาย จ. 12ก็ ระบุ ว่า เป็น ค่าบริการ ลาก ตู้ บรรจุ สินค้า ที่ จำเลย ที่ 1 รับ จาก โจทก์และ ยัง ได้ความ จาก จำเลย ที่ 2 อีก ว่า ก่อน ที่ จะ เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1เคย ว่าจ้าง จำเลย ที่ 3 ขนส่ง สินค้า ให้ แก่ โจทก์ มา แล้ว ประมาณ10 ครั้ง ดังนี้ ตาม พฤติการณ์ ของ จำเลย ที่ 1 ย่อม ถือได้ว่า จำเลย ที่ 1ประกอบการ เป็น ผู้รับขนส่ง ของ เพื่อ บำเหน็จ เป็น ทาง ค้า โดยปกติและ ได้รับ ค่าระวาง พาหนะ จาก โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย จ. 12 แม้ จำเลย ที่ 1ไม่มี ใบอนุญาต ให้ ประกอบการ ขนส่ง และ ไม่มี รถบรรทุก เป็น ของ ตนเองจำเลย ที่ 1 ก็ ได้ ชื่อ ว่า เป็น ผู้ขนส่ง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 608 และ การ ที่ จำเลย ที่ 1 ว่าจ้าง ให้ จำเลย ที่ 3 เป็น ผู้นำ รถ ไป ลาก จูง ตู้ บรรจุ สินค้า ของ โจทก์ ย่อม เป็น การ มอบหมาย ของ นั้นไป อีก ทอด หนึ่ง เมื่อ ของ ที่ รับขน สูญหาย ไป เพราะ ความผิด ของ จำเลย ที่ 3ซึ่ง เป็น บุคคล ที่ จำเลย ที่ 1 มอบหมาย ของ นั้น ไป จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2จึง ต้อง ร่วม กับ จำเลย ที่ 3 รับผิด ต่อ โจทก์ ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 617 ที่ ศาลล่าง ทั้ง สองวินิจฉัย มา นั้น ชอบแล้ว ฎีกา ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน