คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1315/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ในเอกสารส่งมอบการครอบครองหมายล.12มีลายมือชื่อของ ว.ลงไว้ว่าเป็นผู้รับมอบและในช่องพยานก็มีลายมือชื่อ ป. และลายมือชื่อเซ็นไว้อ่านไม่ออกอีกคนหนึ่งนอกจากนี้ยังมีลายมือชื่อน. ผู้เขียนอีกคนหนึ่งลงไว้จึงถือได้ว่าบุคคลที่ลงลายมือชื่อดังกล่าวเป็นพยานผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือของ ม. ไว้ครบจำนวนสองคนเป็นการถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา9วรรคสองแล้ว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า ปู่ของ โจทก์ บิดา โจทก์ และ โจทก์ ได้ เข้า ครอบครองที่ดินพิพาท ด้วย เจตนา ยึดถือ เพื่อ ตน จำเลย ไป แจ้งความ ว่า โจทก์บุกรุก ที่ดิน แปลง พิพาท โดย อ้างว่า ซื้อ มาจาก คุณหญิง โมลี จำเลย ไม่เคย เข้า ครอบครอง ที่ดินพิพาท ขอให้ ศาล พิพากษา ว่า โจทก์มีสิทธิ ใน ที่ดิน แปลง พิพาท ดีกว่า จำเลย ห้าม จำเลย เข้า ยุ่ง เกี่ยว ต่อไป
จำเลย ให้การ และ แก้ไข คำให้การ กับ ฟ้องแย้ง ว่า นาย แม้น ไม่ได้ เป็น ปู่ของ โจทก์ นาย แม้น ได้ โอนสิทธิ ครอบครอง ที่ดิน แปลง พิพาท ให้ แก่ นาง วาณี สันติกุล นาง วาณี ได้ ขาย และ โอนสิทธิ ครอบครอง ให้ แก่ นาง มาลี ศุภผล ต่อมา นาง มาลี ถึงแก่กรรม คุณหญิง โมลี ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ของ นาง มาลี ได้ โอนสิทธิ ครอบครอง ที่ดิน แปลง พิพาท ให้ แก่ จำเลย จำเลย จึง เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดินแปลง พิพาท ขอให้ ยกฟ้อง โจทก์ ขับไล่ โจทก์ และ บริวาร ออก ไป จากที่ดินพิพาท ให้ โจทก์ ชำระ ค่าเสียหาย เป็น เงิน 35,000 บาท แก่ จำเลยกับ ค่าเสียหาย อีก เป็น เงิน ปี ละ 35,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง แย้งเป็นต้น ไป จนกว่า จะ ออกจาก ที่ดิน แปลง พิพาท และ รื้อถอน โรงเรือนที่ ปลูก อยู่ ออก ไป ด้วย
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ว่า ที่ดินพิพาท เป็น สาธารณสมบัติของ แผ่นดิน การ ได้ มา ที่ดิน ของ จำเลย เป็น การ ไม่ชอบ จำเลย ไม่เคยเข้า ครอบครอง ที่ดินพิพาท ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ให้ โจทก์ รื้อถอน สิ่งปลูกสร้างพร้อม กับ ขนย้าย ทรัพย์สิน และ บริวาร ออก ไป จาก ที่ดิน แปลง พิพาทให้ โจทก์ ชำระ ค่าเสียหาย เป็น เงิน ปี ละ 10,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง แย้งเป็นต้น ไป จนกว่า จะ รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง ขนย้าย ทรัพย์สิน และ บริวารออก ไป จาก ที่ดิน แปลง พิพาท เสร็จ แก่ จำเลย
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ที่ดิน แปลง พิพาท มิใช่ สาธารณสมบัติของ แผ่นดิน นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า โจทก์ ฎีกา ว่า ที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ว่า การ ลง ลายพิมพ์ นิ้วมือ ของ นาย แม้น ใน เอกสาร หมาย ล. 12นับ เป็น ความสะดวก และ แน่นอน ชัดเจน กว่า การ ลงลายมือชื่อ จึง ไม่เป็นพิรุธ นั้น เป็น การ ไม่ถูกต้อง เพราะ นาย แม้น ตาย ไป แล้ว ไม่มี ลาย นิ้วมือ ของ นาย แม้น ที่ ได้ ลง ไว้ ใน เอกสาร อื่น ใด ที่ จะ เอา มา เปรียบเทียบ ได้ว่า ใช่ ลายพิมพ์ นิ้วมือ ของ นาย แม้น ที่ ปรากฏ ใน เอกสาร หมาย ล. 12และ ลายพิมพ์ นิ้วมือ ที่ ปรากฏ ใน เอกสาร หมาย ล. 12 ไม่ใช่ ลายพิมพ์ นิ้วมือของ นาย แม้น เพราะ หาก นาย แม้น ได้ ลง ลายพิมพ์ นิ้วมือ ไว้ จริง ก็ ต้อง มี พยานบุคคล รู้เห็น และ ต้อง มี พยาน รับรอง ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 9 วรรคสอง นั้น เห็นว่า ใน เอกสาร หมาย ล. 12มี ลายมือชื่อ ของ นาง วาณี สันติกุล ลง ไว้ ว่า เป็น ผู้รับ มอบ และ ใน ช่อง พยาน ก็ มี ลายมือชื่อ ” แปลก บุญสุข ” และ ลายมือชื่อ เซ็น ไว้ อ่าน ไม่ออก อีก คนหนึ่ง นอกจาก นี้ ยัง มี ลายมือชื่อ ” นิคม สันติกุล ” ผู้ เขียน อีก คนหนึ่ง ลง ไว้ จึง ถือได้ว่า บุคคล ที่ ลงลายมือชื่อ ดังกล่าวเป็น พยาน ผู้รับรอง ลายพิมพ์ นิ้วมือ ของ นาย แม้น ไว้ ครบ จำนวน สอง คน เป็น การ ถูกต้อง ตาม กฎหมาย ดังกล่าว ข้างต้น แล้ว
พิพากษายืน

Share