แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
นำสุกรออกนอกเขตจังหวัดภาคเหนือโดยทางรถไฟ จะไปยังจังหวัดพระนครซึ่งเป็นจังหวัดภาคกลาง อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควร และฝ่าฝืนประกาศรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรธิการเรื่อง กำหนดเส้นทางให้พาสัตว์ที่จะเดินทางเข้าไปในท้องที่จังหวัดภาคกลางนั้น เมื่อถูกจับในขณะที่ควบคุมสุกรขึ้นบรรทุกตู้รถไฟที่สถานีต้นทางก่อนที่รถไฟจะเคลื่อนขบวนจากสถานีต้นทางเพื่อ ไปสถานีปลายทาง ก็เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 มาตรา 8, 17, พ.ร.บ.โรคระบาดปสุสัตว์และพาหนะ 2474 มาตรา 10, 16 ฐานพยายาม
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องจำเลยให้การรับสารภาพ ได้ความว่าจำเลยบังอาจพาสุกรมีชีวิต ๓๐ ตัวออกจากเขตจังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นจังหวัดภาคเหนือโดยทางรถไฟจะไปยังจังหวัดพระนคร ซึ่งเป็นจังหวัดภาคกลาง เป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควรประจำจังหวัดพิจิตรซึ่งเป็นจังหวัดภาค เหนือโดยทางรถไฟจะไปยังจังหวัดพระนคร ซึ่งเป็นจังหวัดภาคกลางเป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควรประจำจังหวัดพิจิตร และฝ่าฝืนประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ เรื่องกำหนดเส้นทางให้พาสัตว์ที่เดินทางเข้าไปในท้องที่จังหวัดภาคกลาง
ขณะที่จำเลยควบคุมการขนส่งสุกรขึ้นบรรทุกตู้รถไฟที่สถานีสพานหิน เจ้าหน้าที่ตรวจพบจึงได้จับจำเลยเสียก่อนที่รถไฟจะเคลื่อนจากสถานีสพานหิน เพื่อไปสถานีกรุงเทพฯ ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. ป้องกันการค้ากำไรเกินควร ๒๔๙๐ พ.ร.บ.โรคระบาดปสุสัตว์และสัตว์พาหนะ ๒๔๗๔
ศาลชั้นต้น, ศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันว่า จำเลยมีความผิดตามพ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร ๒๔๙๐ มาตรา ๘, ๑๗, ๒๙ พ.ร.บ.โรคระบาดปสุสัตว์และสัตว์พาหนะ พ.ศ. ๒๔๗๔ มาตรา ๑๐, ๑๖ ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๖๐ ลงโทษตามบทหนักคือ พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร ๒๔๙๐ มาตรา ๘, ๑๗
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดแล้ว แต่หากสุกรที่จำเลยจะนำออกนั้นยังอยู่ในเขตจังหวัดพิจิตร ขยวนยังไม่เคลื่อน จึงเป็นผิดฐานพยายาม แต่ที่ศาลล่างพิพากษาให้ริบของลกางด้วยมิชอบตามแบบอย่างฎีกาที่ ๒๐๑/๒๔๙๓
จึงพิพากษาแก้ฉะเพาะข้อริบของกลางเป็นว่า ไม่ริบของกลาง