คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ที่ดินพิพาทที่สร้างเป็นโรงรถและที่ดินที่เป็นที่ตั้งของสระว่ายน้ำขณะที่จำเลยที่4รับโอนมาถนนและสระว่ายน้ำเป็นภารจำยอมที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายเป็นทรัพย์สิทธิติดไปกับตัวทรัพย์และผูกพันแก่บุคคลที่เป็นเจ้าของภารยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1387เมื่อจำเลยที่4รับโอนที่พิพาททั้งสองแปลงที่ติดภารจำยอมอยู่ไปเช่นนี้แม้ที่ดินที่เป็นถนนจะถูกแยกไป(ทำเป็นโรงรถ)ภารจำยอมก็ยังคงมีอยู่ทุกส่วนที่แยกไปจำเลยที่4ต้องรับภารจำยอมที่แต่เดิมมีอยู่ไปด้วยทั้งต้องบำรุงรักษาให้คงสภาพตลอดไปตามมาตรา1394และประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286ข้อ30จำเลยที่4จะอ้างว่ารับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริตหาได้ไม่ ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวอยู่ในโครงการจัดสรรที่ดินมีจำนวนตั้งแต่10แปลงขึ้นไปกรณีต้องตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286แล้วแม้จะมีการโอนที่ดินส่วนหนึ่งของการจัดสรรให้จำเลยที่3ในภายหลังและจำเลยที่3ได้จัดการแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยอีก8แปลง(ไม่ถึง10แปลง)แล้วขายที่ดินพิพาทที่สร้างโรงรถกับโอนสระว่ายน้ำให้แก่จำเลยที่4ในเวลาต่อมาก็หาทำให้ที่ดินพิพาทที่เป็นโรงรถและที่ตั้งสระว่ายน้ำไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวไม่ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงคงเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสอง

ย่อยาว

คดี ทั้ง สอง สำนวน ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ รวม การ พิจารณา และพิพากษา โดย ให้ เรียก นาง สุปราณี จันทรทัต เป็น โจทก์ ที่ 1 และ นาง อัมพร ทองคำคูณ เป็น โจทก์ ที่ 2
คดี สำนวน แรก โจทก์ ที่ 1 ฟ้อง ว่า เมื่อ ปี 2524 จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ได้ จัดสรร ขาย ที่ดิน พร้อม บ้าน แบบ ทาวน์เฮ้าส์ ใน โครงการ ชื่อ” สุขจิตแมนชั่น ” รวม 15 หลัง บน โฉนด เลขที่ 2384 โดย โฆษณา เสนอ ว่า ผู้ซื้อ บ้าน ทุก หลัง มีสิทธิ ใช้ ทาง ร่วมกัน และ มีสิทธิ ใช้ บริการสถานที่ พักผ่อน ใน บริเวณ ที่ดิน ตาม โครงการ ร่วมกัน เมื่อ วันที่1 ตุลาคม 2524 จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ ร่วมกัน ทำ สัญญาจะขาย บ้านแบบ ทาวน์เฮ้าส์ พร้อม ที่ดิน 1 แปลง ซึ่ง เป็น ส่วน หนึ่ง ของ โฉนด ที่ดินแปลง ดังกล่าว ให้ โจทก์ ใน ราคา 1,800,000 บาท และ ตกลง ว่า โจทก์มีสิทธิ ใช้ ทาง เข้า ออก ซึ่ง อยู่ หน้า บ้าน โจทก์ เนื้อที่ 99 ตารางวาซึ่ง เป็น ที่ดิน ใน โฉนด ดังกล่าว ทั้งนี้ โดย จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ได้ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ส่วน ที่ เป็น ทาง นี้ ให้ แก่ จำเลย ที่ 3 และจำเลย ที่ 3 ได้ ทำ สัญญา ยินยอม ให้ โจทก์ มีสิทธิ ใช้ ประโยชน์ ใน ทาง นี้ ได้และ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ยัง ได้ ทำ สัญญา ตกลง ให้ โจทก์ ได้ ใช้สระ ว่ายน้ำ ซึ่ง เป็น ส่วน หนึ่ง ของ โครงการ จัดสรร บ้าน และ ที่ดิน ดังกล่าวต่อมา วันที่ 30 มิถุนายน 2526 โจทก์ ได้รับ โอน กรรมสิทธิ์ บ้านแบบ ทาวน์เฮ้าส์ 1 หลัง พร้อม ที่ดิน จำนวน 35 ตารางวา ตาม โฉนดเลขที่ 118459 และ โจทก์ ได้ ใช้ ทาง ซึ่ง อยู่ บน โฉนด เลขที่ 2384ดังกล่าว เข้า ออก บ้าน โจทก์ ต่อมา วันที่ 4 มีนาคม 2528 จำเลย ที่ 4ซึ่ง เป็น ผู้ซื้อ บ้าน และ ที่ดิน เลขที่ 59/15 ใน โครงการ ดังกล่าวเช่นเดียวกัน ก็ ได้ สร้าง โรงรถ ลง บน ทาง ซึ่ง อยู่ หน้า บ้าน โจทก์ ดังกล่าวและ โจทก์ สืบทราบ ว่า จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ได้ ร่วมกัน ดำเนินการแบ่งแยก ออก โฉนด เกี่ยวกับ ที่ดิน ส่วน ที่ เป็น ทาง ดังกล่าว เป็น โฉนดแปลง ย่อย เฉพาะ ส่วน ที่พิพาท ซึ่ง เป็น ทาง อยู่ หน้า บ้าน โจทก์ มี เนื้อที่19 ตารางวา นั้น ออก โฉนด เป็น เลขที่ 125786 และ ได้ โอน ที่ดิน ส่วน นี้ให้ แก่ จำเลย ที่ 4 อันเป็น การ ไม่ชอบ และ ไม่มี สิทธิ เป็น การ ละเมิดทำให้ โจทก์ ไม่สามารถ ใช้ ทางพิพาท เข้า ออก บ้าน โจทก์ ได้ ขอ คิดค่าเสียหาย วัน ละ 500 บาท ถึง วันฟ้อง เป็น ค่าเสียหาย 96,000 บาทและ การ สร้าง อาคาร โรงรถ ทำให้ บ้าน โจทก์ เสื่อมราคา เป็น เงิน 500,000 บาทนอกจาก นี้ สระ ว่ายน้ำ ซึ่ง ตั้ง อยู่ บน โฉนด เลขที่ 121020 ซึ่ง จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 สร้าง ขึ้น ตาม โครงการ จัดสรร บ้าน และ ที่ดิน ดังกล่าวเพื่อ ให้ ผู้ซื้อ บ้าน และ ที่ดิน ได้ ใช้ ประโยชน์ ร่วมกัน นั้น จำเลย ที่ 1ที่ 2 และ ที่ 3 ได้ รู้เห็นเป็นใจ ให้ จำเลย ที่ 4 ปิด กั้น ไม่ยอมให้ โจทก์ และ ผู้อื่น ใน หมู่บ้าน นี้ ได้ ใช้ สระ ว่ายน้ำ นี้ เป็นเหตุ ให้โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย ต้อง ไป ใช้ สระ ว่ายน้ำ ที่อื่น เสีย ค่าใช้จ่ายสัปดาห์ ละ ไม่ น้อยกว่า 300 บาท นับแต่ วันที่ สระ ว่ายน้ำ สร้าง เสร็จ คือ24 ธันวาคม 2527 ถึง วันฟ้อง เป็น ค่าเสียหาย ส่วน นี้ อีก 11,100 บาทขอให้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน หรือ แทน กัน รื้อถอน โรงรถ ของ จำเลย ที่ 4ใน โฉนด เลขที่ 125786 ดังกล่าว และ ปรับปรุง สภาพ ที่ดิน ให้ เป็นพื้น คอนกรีต เรียบ เหมือนเดิม มิฉะนั้น ให้ โจทก์ เข้า ดำเนินการ โดย ให้จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ชำระ ค่าใช้จ่าย ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน หรือแทน กัน ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ 607,100 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ และค่าเสียหาย อีก วัน ละ 500 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ปฏิบัติ ตามคำขอ ดังกล่าว ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน หรือ แทน กัน เปิด บริเวณ สระ ว่ายน้ำซึ่ง ตั้ง อยู่ โฉนด เลขที่ 121020 เพื่อ ให้ โจทก์ ได้ ใช้ ประโยชน์ ตลอด ไปให้ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ร่วมกัน เพิกถอน นิติกรรม จดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 125786 และ โฉนด เลขที่ 121020ดังกล่าว แล้ว ให้ จำเลย ที่ 3 จัดการ จดทะเบียน ที่ดิน ทั้ง 2 แปลง นี้ตกเป็น ภารจำยอม เรื่อง ทางเดิน และ การ ใช้ ประโยชน์ ใน สระ ว่ายน้ำของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 118459 มิฉะนั้น ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของศาล แทน การแสดง เจตนา
คดี สำนวน ที่ 2 โจทก์ ที่ 2 ฟ้อง ว่า เมื่อ ปี 2524 ถึง 2527จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ได้ ร่วมกัน จัดสรร บ้าน และ ที่ดิน บน โฉนดเลขที่ 2384 ชื่อ ” โครงการสุขจิตแมนชั่น ” โดย ปลูกสร้าง อาคาร ใน ลักษณะ แบบ ทาวน์เฮ้าส์ ตึกแถว 3 ชั้น ครึ่ง ปลูก ขึ้น สอง ฟาก ตรง กลางทำ เป็น ถนน ร่วม เพื่อ ออก ไป สู่ ซอย สุขจิต เมื่อ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2527 โจทก์ ได้ ทำ สัญญา ซื้อ บ้าน และ ที่ดิน จาก โครงการ ดังกล่าว 1 หลังเลขที่ 59/5 โดย จำเลย ที่ 3 ได้ ทำ สัญญา ยินยอม ให้ โจทก์ ได้ ใช้ ถนนดังกล่าว ได้ ด้วย จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ ตกลง จะ สร้าง สระ ว่ายน้ำใน หมู่บ้าน นี้ ตาม โครงการ ดังกล่าว บน โฉนด เลขที่ 121020 และ จำเลย ที่ 3จะ จัดการ จดทะเบียน ภารจำยอม หรือ กรรมสิทธิ์ร่วม บน ที่ดิน ซึ่ง เป็นถนน ร่วม และ ที่ดิน พร้อม สระ ว่ายน้ำ ดังกล่าว ให้ แก่ ผู้ซื้อ อาคาร ทุกคนใช้ ประโยชน์ ร่วมกัน ภายใน 1 ปี นับแต่ วัน ทำ สัญญา ต่อมา วันที่30 ตุลาคม 2527 จำเลย ที่ 3 ได้ ทำการ แบ่ง ขาย ที่ดิน อันเป็นทางเดิน เข้า ออก บน โฉนด เลขที่ 2384 บางส่วน ให้ แก่ จำเลย ที่ 4 และจำเลย ที่ 4 ได้ ออก โฉนด ใหม่ บน ที่ดิน ซึ่ง เป็น ทาง ส่วน นี้ คือโฉนด เลขที่ 125786 มี เนื้อที่ 19 ตารางวา ซึ่ง ได้ จดทะเบียนภารจำยอม ให้ แก่ โจทก์ แล้ว และ จำเลย ที่ 4 ได้ ก่อสร้าง โรงรถ ไว้ บนทางพิพาท โฉนด เลขที่ ดังกล่าว โดย เจตนา ไม่ให้ โจทก์ ได้ ใช้ ทางพิพาท นี้ต่อมา เมื่อ วันที่ 10 มกราคม 2528 จำเลย ที่ 3 ได้ เจตนา ทุจริต ร่วมกันโอน ขาย ที่ดิน อันเป็น สระ ว่ายน้ำ บน โฉนด เลขที่ 121020 ให้ แก่จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 การกระทำ ของ จำเลย ทั้ง สี่ ทำให้ โจทก์ ได้รับความเสียหาย ขอ คิด ค่าเสียหาย วัน ละ 1,000 บาท ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน340,000 บาท และ โจทก์ ติดใจ เพียง 100,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ขอให้ จำเลย ที่ 4 หรือ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3จดทะเบียน ภารจำยอม ทางเดิน ลง บน โฉนด เลขที่ 125786 ให้ แก่ ที่ดินของ โจทก์ ภายใน 7 วัน มิฉะนั้น ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนาห้าม จำเลย ที่ 3 เพิกถอน จดทะเบียน ภารจำยอม เรื่อง ทางเดิน ลง บนโฉนด เลขที่ 2384 ให้ แก่ ที่ดิน ของ โจทก์ โฉนด เลขที่ 118455 ให้ ใส่ ชื่อโจทก์ ลง ใน โฉนด เลขที่ 121020 เป็น เจ้าของร่วม กับ จำเลย ที่ 2และ ที่ 4 ด้วย หรือ ให้ จดทะเบียน ให้ สถานที่ ดังกล่าว เป็น ภารจำยอมแก่ โจทก์ ตลอด ไป มิฉะนั้น ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนาให้ โจทก์ และ เจ้าของ ที่ดิน ทุกคน ใน หมู่บ้าน จัดสรร ดังกล่าว ได้ ใช้สอย ประโยชน์ บริเวณ สระ ว่ายน้ำ บน ที่ดิน โฉนด ที่ 121020 ให้ จำเลย ที่ 4รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง โรงรถ บน โฉนด เลขที่ 125786 และ ทำ พื้นดินให้ อยู่ ใน สภาพ เหมือนเดิม มิฉะนั้น ให้ โจทก์ มีสิทธิ ดำเนินการรื้อถอน แทน โดย ให้ จำเลย ที่ 4 เป็น ผู้ ออก ค่าใช้จ่าย ให้ จำเลย ทั้ง สี่ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ 105,625 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี และ ค่าเสียหาย อีก วัน ละ 1,000 บาททั้งนี้ นับแต่ วัน ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ให้การ ทั้ง สอง สำนวน ทำนอง เดียว กัน ว่ามิได้ ตกลง ว่า จะ ให้ ใช้ ทาง มี ความ กว้าง เท่าใด ส่วน สระ ว่ายน้ำ นั้นมี ข้อ แม้ ว่า โจทก์ และ ผู้มีสิทธิ ใช้ ต้อง เสีย ค่าบำรุง รักษา สระ ว่ายน้ำมิฉะนั้น ไม่มี สิทธิ ใช้ สระ ว่ายน้ำ และ โจทก์ ไม่ได้ เสีย ค่าบำรุง รักษาดังกล่าว จึง ไม่มี สิทธิ ใช้ สระ ว่ายน้ำ จำเลย ที่ 4 สร้าง โรงรถ ขึ้น บนที่ดิน ทางพิพาท โดย จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 มิได้ รู้เห็น ยินยอม ด้วยและ ไม่ทราบ เรื่อง ที่ จำเลย ที่ 3 แบ่งแยก โฉนด ทาง เข้า ออก ของ หมู่บ้านแล้ว จดทะเบียน ขาย ที่ดิน เฉพาะ ทางพิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 4 อย่างไรก็ ตาม โจทก์ ยัง สามารถ ใช้ ทางพิพาท เข้า ออก บ้าน โจทก์ ได้ ทั้ง บ้านและ ที่ดิน ของ โจทก์ มิได้ เสื่อมราคา ลง ค่าเสียหาย ของ โจทก์ วัน ละไม่เกิน 20 บาท ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 ให้การ ทั้ง สอง สำนวน ทำนอง เดียว กัน ว่า จำเลย ที่ 3เป็น ผู้มีชื่อ ใน โฉนด เลขที่ 2384 ซึ่ง เป็น ทาง เข้า ออก หมู่บ้าน ดังกล่าวและ โฉนด เลขที่ 121020 ซึ่ง เป็น ที่ สร้าง สระ ว่ายน้ำ โดย ถือ กรรมสิทธิ์แทน จำเลย ที่ 1 เท่านั้น เพราะ จำเลย ที่ 3 เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 1และ ได้ จดทะเบียน ภารจำยอม ที่ดิน แปลง นี้ ให้ แก่ โจทก์ และ ผู้ซื้อราย อื่น ๆ แล้ว จำเลย ที่ 1 ได้ สั่ง ให้ จำเลย ที่ 3 โอน กรรมสิทธิ์ที่ดิน โฉนด พิพาท ซึ่ง เป็น ทาง เข้า ออก ให้ แก่ โจทก์ และ ผู้ซื้อ บ้านราย อื่น ๆ แต่ โจทก์ ทั้ง สอง กับ ผู้ซื้อ ราย อื่น ไม่มา รับโอน จึงโอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ให้ แก่ จำเลย ที่ 4 เพียง ผู้เดียว จำเลย ที่ 3ไม่ได้ ทำละเมิด ต่อ โจทก์ สำหรับ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 121020 ซึ่ง สร้างสระ ว่ายน้ำ นั้น จำเลย ที่ 3 ได้ โอน กลับคืน ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2แล้ว โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ฟ้อง จำเลย ที่ 3 ค่าเสียหาย ที่ โจทก์ เรียกร้องนั้น สูง เกินกว่า ความ เป็น จริง ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 4 ให้การ ทั้ง สอง สำนวน ทำนอง เดียว กัน ว่า จำเลย ที่ 4ได้ ซื้อ ที่ดินพิพาท ซึ่ง เป็น ที่ดิน บางส่วน ใน โฉนด เลขที่ 2384ซึ่ง ต่อมา ได้ แบ่งแยก ออก เป็น โฉนด เลขที่ 125786 และ ได้ ซื้อ ที่ดินโฉนด เลขที่ 121020 ซึ่ง เป็น สระ ว่ายน้ำ ตาม ฟ้อง ด้วย โดย มีค่า ตอบแทนสุจริต และ จดทะเบียน ซื้อ ขาย ถูกต้อง ตาม กฎหมาย ทุกประการ และไม่ปรากฏ ว่า ที่ดินพิพาท อยู่ ใน ภารจำยอม แก่ ที่ดิน โจทก์ หรือ ผู้อื่น ใดทั้งสิ้น จำเลย ที่ 4 จึง มีสิทธิ ใช้ ประโยชน์ ใน ที่ดินพิพาท ได้ มีสิทธิสร้าง โรงรถ ได้ และ มีสิทธิ ไม่ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ใช้ สระ ว่ายน้ำ นี้ ได้โจทก์ ฟ้อง เรียก ค่าเสียหาย ไม่ได้ เพราะ โจทก์ ยัง ใช้ ที่ดินพิพาทเข้า ออก ได้ ค่าเสียหาย ที่ เรียกร้อง นั้น สูง กว่า ความ เป็น จริงและ โจทก์ ที่ 1 ฟ้องคดี โดย ไม่ได้ รับ ความ ยินยอม จาก สามี ขอให้ ยกฟ้อง
ก่อน สืบพยานโจทก์ ที่ 1 ที่ 2 แถลงว่า ไม่ติดใจ เรียก ค่าเสียหายจาก จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 4 รื้อถอน โรงรถออก ไป จาก โฉนด ที่ดินพิพาท เลขที่ 125786 และ ให้ รื้อ รั้ว ปิด กั้นสระ ว่ายน้ำ ซึ่ง สร้าง อยู่ บน โฉนด เลขที่ 121020 ใน หมู่บ้าน สุขจิตแมนชั่น แขวง สามเสน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร และ ให้ ทำ ที่ดิน บน โฉนด พิพาท และ สภาพ สระ ว่ายน้ำ ดังกล่าว กลับคืน สู่ สภาพ เดิมห้าม มิให้ จำเลย ที่ 4 ขัดขวาง โจทก์ ทั้ง สอง ใน การ ใช้ สระ ว่ายน้ำ แห่ง นี้ให้ จำเลย ที่ 4 ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ที่ 2 เป็น เงิน 3,700 บาทและ ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ทั้ง สอง คน ละ สัปดาห์ ละ 100 บาท นับแต่วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ที่ 4 จะ รื้อถอน รั้ว สระ ว่ายน้ำ และหยุด ขัดขวาง โจทก์ ทั้ง สอง ใน การ ใช้ สระ ว่ายน้ำ ดังกล่าว คำขอ ของ โจทก์ทั้ง สอง เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 4 นอกจาก นี้ ให้ยก พิพากษายก ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3
โจทก์ ทั้ง สอง และ จำเลย ที่ 4 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 4 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 1โดย จำเลย ที่ 2 ได้ ดำเนินการ ก่อสร้าง บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ และ แบ่ง ขายพร้อม ที่ดิน รวม 15 หลัง โดย ปลูก บ้าน 2 แถว หัน หน้า เข้า กัน มี ถนนผ่าน กลาง หมู่บ้าน และ มี สระ ว่ายน้ำ สำหรับ ผู้ซื้อ บ้าน ใช้ ร่วมกันโดย มี การ โฆษณา ด้วย จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ ดำเนินการ จัด จำหน่ายที่ดิน ติดต่อ กัน เป็น แปลง ย่อย มี จำนวน 10 แปลง ขึ้น ไป โดย ได้รับค่าตอบแทน จาก ผู้ซื้อ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ ดำเนินการ ตามคำมั่น โดย ได้ ดำเนินการ จัด ให้ มี การ สาธารณูปโภค หรือ บริการ สาธารณะซึ่ง ได้ แก่ ถนน ผ่าน กลาง หมู่บ้าน และ สระ ว่ายน้ำ ถนน ดังกล่าว อยู่ ในโฉนด เลขที่ 2384 และ สระ ว่ายน้ำ อยู่ ใน โฉนด เลขที่ 121020 มี การบันทึก ใน สารบัญ าร จดทะเบียน ว่า ให้ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2384 ตกอยู่ในบังคับ ภารจำยอม ของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 118454, 118455, 118459ถนน และ สระ ว่ายน้ำ เป็น สาธารณูปโภค ซึ่ง จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ใน ฐานะผู้จัดสรรที่ดิน ได้ จัด ให้ มี ขึ้น เพื่อ การ จัดสรร ที่ดิน ตาม แผนผังและ โครงการ ที่ จัดสรร ดังกล่าว ดังนั้น ถนน และ สระ ว่ายน้ำ ดังกล่าวตกอยู่ใน ภารจำยอม เพื่อ ประโยชน์ แก่ ที่ดิน จัดสรร ทุก แปลง ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2515ข้อ 30 โจทก์ ทั้ง สอง จึง มีสิทธิ ใช้ ถนน พิพาท และ สระ ว่ายน้ำ ได้ข้อเท็จจริง ฟังได้ ต่อไป ว่า เมื่อ วันที่ 19 ตุลาคม 2525 จำเลย ที่ 2ได้ โอน ที่ดิน เฉพาะ ส่วน ที่ เป็น ถนน เข้า ภายใน หมู่บ้าน คือ ที่ดินโฉนด เลขที่ 2384 ให้ แก่ จำเลย ที่ 3 และ ต่อมา วันที่ 23 กุมภาพันธ์2526 จำเลย ที่ 3 ได้ นำ โฉนด แปลง ดังกล่าว ไป แบ่งแยก เป็น แปลง ย่อยรวม 8 แปลง และ วันที่ 30 กรกฎาคม 2527 จำเลย ที่ 3 ตกลง ยินยอมให้ จำเลย ที่ 4 ถือ กรรมสิทธิ์รวม ใน ที่ดิน โฉนด แปลง ดังกล่าว เฉพาะส่วน เนื้อที่ 19 ตารางวา คือ ที่ดินพิพาท ที่ จำเลย ที่ 4 ได้ ก่อสร้างเป็น โรงรถ ครั้น วันที่ 30 ตุลาคม 2527 ได้ แบ่งแยก กรรมสิทธิ์รวมออก มา ต่างหาก เนื้อที่ 19 ตารางวา โดย จำเลย ที่ 3 ตกลง ให้ ที่ดินที่ แบ่งแยก พ้น จาก ภารจำยอม จำเลย ที่ 4 ได้ โฉนด ฉบับ ใหม่ เป็น โฉนดเลขที่ 125786 และ ต่อมา จำเลย ที่ 4 ได้รับ โอน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 121020ที่ สร้าง สระ ว่ายน้ำ ของ หมู่บ้าน อีก ด้วย
มี ปัญหา วินิจฉัย ว่า ที่ดินพิพาท ที่ สร้าง เป็น โรงรถ ตาม โฉนดเลขที่ 125786 และ ที่ดิน ที่ เป็น ที่ ตั้ง ของ สระ ว่ายน้ำ ตาม โฉนดเลขที่ 121020 นั้น ยัง คง เป็น ภารจำยอม สำหรับ ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง สองต่อไป หรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า ขณะที่ จำเลย ที่ 4 ได้รับโอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง ดังกล่าว มา ปรากฏว่าถนน ใน หมู่บ้าน จัดสรร ซึ่ง กว้าง 8 เมตร ได้ มี การ ก่อสร้างเสร็จ เรียบร้อย แล้ว ส่วน สระ ว่ายน้ำ สามารถ ใช้ ได้ แล้ว ถนน และสระ ว่ายน้ำ เป็น ภารจำยอม ที่ เกิดขึ้น โดย ผล ของ กฎหมาย เป็น ทรัพย์สินที่ ติด ไป กับ ตัว ทรัพย์ และ ผูกพัน แก่ บุคคล ที่ เป็น เจ้าของ ภารยทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 เมื่อ จำเลย ที่ 4รับโอน ที่ดิน ที่พิพาท ทั้ง สอง แปลง ที่ ติด ภารจำยอม อยู่ ไป เช่นนี้ แม้ที่ดิน ที่ เป็น ถนน จะ ถูก แยก ไป ภารจำยอม ก็ ยัง คง มี อยู่ ทุก ส่วน ที่ แยก ออกจำเลย ที่ 4 ใน ฐานะ ผู้รับโอน ก็ ต้อง รับ ภารจำยอม ที่ แต่ เดิม มี อยู่ ไป ด้วยทั้ง ต้อง บำรุง รักษา ให้ คง สภาพ ตลอด ไป ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1394 และ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 จำเลย ที่ 4จะ อ้างว่า ได้รับ โอน ไป โดยสุจริต และ เสีย ค่าตอบแทน และ จดทะเบียนโดยสุจริต หาได้ไม่
ที่ จำเลย ที่ 4 ฎีกา ว่า ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง ไม่ เข้าข่ายเป็น การ จัดสรร ตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 เพราะ ว่า เป็นเจ้าของ ที่ดิน คน ละ ราย และ ไม่ถึง 10 แปลง นั้น เห็นว่า ตาม ประกาศ ของคณะปฏิวัติ ฉบับ ดังกล่าว เพียงแต่ บัญญัติ ว่า การ จัดสรร ที่ดิน หมายความว่า การ จัด จำหน่าย ที่ดิน ติดต่อ กัน เป็น แปลง ย่อย มี จำนวน ตั้งแต่10 แปลง ขึ้น ไป ไม่ว่า ด้วย วิธี ใด โดย มิได้ มี ข้อกำหนด ว่า ที่ดินที่ นำ มา จัดสรร ต้อง เป็น แปลง เดียว กัน และ ต้อง เป็น ของ บุคคล คนเดียว กันเมื่อ ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง เป็น ส่วน หนึ่ง ของที่ดิน ที่อยู่ ใน โครงการ จัดสรร ที่ดิน ที่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ได้ ร่วมกัน จัดสรร ที่ดิน มี จำนวน ตั้งแต่ 10 แปลง ขึ้น ไป กรณี ต้อง ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 แล้ว แม้ จะ มี การ โอน ที่ดินโฉนด เลขที่ 2384 ซึ่ง เป็น ส่วน หนึ่ง ของ การ จัดสรร ที่ดิน ให้ แก่จำเลย ที่ 3 ใน ภายหลัง และ จำเลย ที่ 3 ได้ จัดการ แบ่ง ที่ดิน เป็นแปลง ย่อย 8 แปลง แล้ว ขาย ที่ดิน 1 แปลง ที่ สร้าง โรงรถ กับ โอน สระ ว่ายน้ำให้ จำเลย ที่ 4 ใน เวลา ต่อมา ก็ หา ทำให้ ที่ดิน ที่ เป็น โรงรถ และสระ ว่ายน้ำ นั้น ไม่เป็น การ จัดสรร ที่ดิน ตาม ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับ ดังกล่าว ไม่ ที่ดินพิพาท คือ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 125786 และโฉนด เลขที่ 121020 คง เป็น ภารจำยอม เพื่อ ประโยชน์ แก่ ที่ดิน ของโจทก์ ทั้ง สอง ตาม ฟ้อง
พิพากษายืน

Share