แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่4ต่างได้ซื้อที่ดินและบ้านในโครงการจัดสรรของจำเลยที่1ที่2ที่3โดยการซื้อขายได้มีการตกลงยินยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ทางเดินพิพาทและสระว่ายน้ำพิพาทและบรรยายว่าที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ในโครงการและการจัดสรรของจำเลยที่1ที่2ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286จำเลยที่4มิได้ให้การต่อสู้หรือปฏิเสธจึงถือว่ารับในประเด็นข้อนี้ จำเลยที่1ที่2ในฐานะผู้จัดสรรที่ดินได้จัดถนนและสระว่ายน้ำเป็นสาธารณูปโภคบนที่ดินดังกล่าวเพื่อประโยชน์แก่ผู้ซื้อบ้านในโครงการเสร็จแล้วถนนและสระว่ายน้ำจึงเป็นภารจำยอมเป็นประโยชน์แก่ที่ดินทุกแปลงซึ่งเป็นภารจำยอมโดยผลของกฎหมายติดกับตัวทรัพย์ผูกพันแก่บุคคลที่เป็นเจ้าของภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1387เมื่อจำเลยที่4รับโอนที่ดินไปจึงต้องมีหน้าที่บำรุงรักษาให้คงสภาพตลอดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1394และประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286จำเลยที่4สร้างโรงรถและปิดกั้นรั้วในที่ดินดังกล่าวจึงเป็นละเมิดต่อโจทก์
ย่อยาว
คดี ทั้ง สอง สำนวน ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ รวม การ พิจารณา และพิพากษา โดย ให้ เรียก นาง สุปราณี จันทรทัต เป็น โจทก์ ที่ 1 และ นาง อัมพร ทองคำคูณ เป็น โจทก์ ที่ 2
คดี สำนวน แรก โจทก์ ที่ 1 ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ จัดสรรขาย ที่ดิน พร้อม บ้าน แบบ ทาวน์เฮ้าส์ ใน โครงการ ชื่อ “สุขจิตแมนชั่น” รวม 15 หลัง บน โฉนด เลขที่ 2384 โดย โฆษณา เสนอ ว่า ผู้ซื้อ บ้าน ทุก หลังมีสิทธิ ใช้ ทาง ร่วมกัน และ มีสิทธิ ใช้ บริการ สถานที่ พักผ่อน ใน บริเวณที่ดิน ตาม โครงการ ร่วมกัน จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ ร่วมกัน ทำ สัญญาจะขาย บ้าน แบบ ทาวน์เฮ้าส์ พร้อม ที่ดิน 1 แปลง เนื้อที่ 41.5 ตารางวาซึ่ง เป็น ส่วน หนึ่ง ของ โฉนด ที่ดิน แปลง ดังกล่าว ให้ โจทก์ ใน ราคา1,800,000 บาท กำหนด สร้าง บ้าน เสร็จ และ โอน โฉนด ที่ดิน ภายใน 1 ปีและ ตกลง ว่า โจทก์ มีสิทธิ ใช้ ทาง เข้า ออก ซึ่ง อยู่ หน้า บ้าน โจทก์ เนื้อที่99 ตารางวา ซึ่ง เป็น ที่ดิน ใน โฉนด ดังกล่าว ทั้งนี้ โดย จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ได้ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ส่วน ที่ เป็น ทาง ให้ แก่ จำเลย ที่ 3และ จำเลย ที่ 3 ได้ ทำ สัญญา ยินยอม ให้ โจทก์ มีสิทธิ ใช้ ประโยชน์ใน ทาง นี้ ได้ ตาม หนังสือ ท้ายฟ้อง และ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3ยัง ได้ ทำ สัญญา ตกลง ให้ โจทก์ ได้ ใช้ สระ ว่ายน้ำ ซึ่ง เป็น ส่วน หนึ่ง ของโครงการ จัดสรร บ้าน และ ที่ดิน ดังกล่าว ต่อมา โจทก์ ได้รับ โอน กรรมสิทธิ์บ้าน แบบ ทาวน์เฮ้าส์ 1 หลัง พร้อม ที่ดิน จำนวน 35 ตารางวา ตามโฉนด เลขที่ 118459 และ โจทก์ ได้ ใช้ ทาง ซึ่ง อยู่ บน โฉนด เลขที่ 2384ดังกล่าว เข้า ออก บ้าน โจทก์ ต่อมา จำเลย ที่ 4 ซึ่ง เป็น ผู้ซื้อ บ้านและ ที่ดิน เลขที่ 59/15 ใน โครงการ ดังกล่าว เช่นเดียวกัน ก็ ได้ สร้างโรงรถ ลง บน ทาง ซึ่ง อยู่ หน้า บ้าน โจทก์ ดังกล่าว และ โจทก์ สืบทราบ ว่าจำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ได้ ร่วมกัน ดำเนินการ แบ่งแยก ออก โฉนดเกี่ยวกับ ที่ดิน ส่วน ที่ เป็น ทาง ดังกล่าว เป็น โฉนด แปลง ย่อย เฉพาะ ส่วน ที่พิพาท ซึ่ง เป็น ทาง อยู่ หน้า บ้าน โจทก์ มี เนื้อที่ 19 ตารางวา นั้นออก โฉนด เป็น เลขที่ 125786 และ ได้ โอน ที่ดิน ส่วน นี้ ให้ แก่ จำเลย ที่ 4อันเป็น การ ไม่ชอบ และ ไม่มี สิทธิ เป็น การ ละเมิด สิทธิ ของ โจทก์ ขอให้จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน หรือ แทน กัน รื้อถอน โรงรถ ของ จำเลย ที่ 4ใน โฉนด เลขที่ 125786 ดังกล่าว และ ปรับปรุง สภาพ ที่ดิน ให้ เป็นพื้น คอนกรีต เรียบ เหมือนเดิม มิฉะนั้น ให้ โจทก์ เข้า ดำเนินการ โดย ให้จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ชำระ ค่าใช้จ่าย ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน หรือแทน กัน ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ 607,100 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ และค่าเสียหาย อีก วัน ละ 500 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ปฏิบัติ ตามคำขอ ดังกล่าว ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน หรือ แทน กัน เปิด บริเวณ สระ ว่ายน้ำซึ่ง ตั้ง อยู่ โฉนด เลขที่ 121020 เพื่อ ให้ โจทก์ ได้ ใช้ ประโยชน์ ตลอด ไปให้ จำเลย ที่ 3 และ ที่ 4 ร่วมกัน เพิกถอน นิติกรรม จดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 125786 และ โฉนด เลขที่ 121020 ดังกล่าวแล้ว ให้ จำเลย ที่ 3 จัดการ จดทะเบียน ที่ดิน ทั้ง 2 แปลง นี้ ตกเป็นภารจำยอม เรื่อง ทางเดิน และ การ ใช้ ประโยชน์ ใน สระ ว่ายน้ำ ของ ที่ดินโฉนด เลขที่ 118459 มิฉะนั้น ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา
คดี สำนวน ที่ 2 โจทก์ ที่ 2 ฟ้อง ใน ทำนอง เดียว กับ โจทก์ ที่ 1ว่า ขอให้ จำเลย ที่ 4 หรือ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 จดทะเบียนภารจำยอม ทางเดิน ลง บน โฉนด เลขที่ 125786 ให้ แก่ ที่ดิน ของ โจทก์ ภายใน7 วัน มิฉะนั้น ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ห้าม จำเลย ที่ 3เพิกถอน จดทะเบียน ภารจำยอม เรื่อง ทางเดิน ลง บน โฉนด เลขที่ 2384ให้ แก่ ที่ดิน ของ โจทก์ โฉนด เลขที่ 118455 ให้ ใส่ ชื่อ โจทก์ ลง ใน โฉนดเลขที่ 121020 เป็น เจ้าของร่วม กับ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 ด้วยหรือ ให้ จดทะเบียน ให้ สถานที่ ดังกล่าว เป็น ภารจำยอม แก่ โจทก์ ตลอด ไปมิฉะนั้น ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา ให้ โจทก์ และเจ้าของ ที่ดิน ทุกคน ใน หมู่บ้าน จัดสรร ดังกล่าว ได้ ใช้สอย ประโยชน์บริเวณ สระ ว่ายน้ำ บน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 121020 ให้ จำเลย ที่ 4รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง โรงรถ บน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 125786 และ ทำ พื้นดินให้ อยู่ ใน สภาพ เหมือนเดิม มิฉะนั้น ให้ โจทก์ มีสิทธิ ดำเนินการ รื้อถอนแทน โดย ให้ จำเลย ที่ 4 เป็น ผู้ ออก ค่าใช้จ่าย ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกันใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ 105,625 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตราร้อยละ 7.5 ต่อ ปี และ ค่าเสียหาย อีก วัน ละ 1,000 บาท ทั้งนี้ นับแต่วัน ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ให้การ ทั้ง สอง สำนวน เป็น ใจความทำนอง เดียว กัน ว่า ได้ ทำ สัญญาจะขาย บ้าน และ ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สองสำนวน ตาม สัญญา ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2524 และ 25 กุมภาพันธ์ 2527และ ตกลง ให้ โจทก์ ทั้ง สอง มีสิทธิ ใช้ ทาง และ สถาน พักผ่อน หรือ สระ ว่ายน้ำร่วม กับ ผู้ซื้อ บ้าน และ ที่ดิน ราย อื่น ๆ แต่ มิได้ ตกลง ว่า จะ ให้ ใช้ ทางมี ความ กว้าง เท่าใด ส่วน สระ ว่ายน้ำ นั้น มี ข้อ แม้ ว่า โจทก์ และผู้มีสิทธิ ใช้ ต้อง เสีย ค่าบำรุง รักษา สระ ว่ายน้ำ มิฉะนั้น ไม่มี สิทธิใช้ สระ ว่ายน้ำ และ โจทก์ ไม่ได้ เสีย ค่าบำรุง รักษา ดังกล่าว จึง ไม่มี สิทธิใช้ สระ ว่ายน้ำ จำเลย ที่ 4 สร้าง โรงรถ ขึ้น บน ที่ดิน ทางพิพาท โดยจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 มิได้ รู้เห็น ยินยอม ด้วย และ ไม่ทราบ เรื่อง ที่จำเลย ที่ 3 แบ่งแยก โฉนด ทาง เข้า ออก ของ หมู่บ้าน แล้ว จดทะเบียน ขายที่ดิน เฉพาะ ทางพิพาท ให้ แก่ จำเลย ที่ 4 ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 ให้การ ทั้ง สอง สำนวน ทำนอง เดียว กัน ว่า จำเลย ที่ 3เป็น ผู้มีชื่อ ใน โฉนด เลขที่ 2384 ซึ่ง เป็น ทาง เข้า ออก หมู่บ้าน ดังกล่าวและ โฉนด เลขที่ 121020 ซึ่ง เป็น ที่ สร้าง สระ ว่ายน้ำ โดย ถือ กรรมสิทธิ์แทน จำเลย ที่ 1 เท่านั้น เพราะ จำเลย ที่ 3 เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ที่ 1และ ได้ จดทะเบียน ภารจำยอม ที่ดิน แปลง นี้ ให้ แก่ โจทก์ และ ผู้ซื้อราย อื่น ๆ แล้ว จำเลย ที่ 1 ได้ สั่ง ให้ จำเลย ที่ 3 โอน กรรมสิทธิ์ที่ดิน โฉนด พิพาท ซึ่ง เป็น ทาง เข้า ออก ให้ แก่ โจทก์ และ ผู้ซื้อ บ้านราย อื่น ๆ แต่ โจทก์ ทั้ง สอง กับ ผู้ซื้อ ราย อื่น ไม่มา รับโอน จึง โอนกรรมสิทธิ์ ที่ดิน ให้ แก่ จำเลย ที่ 4 เพียง ผู้เดียว สำหรับ ที่ดินโฉนด เลขที่ 121020 ซึ่ง สร้าง สระ ว่ายน้ำ นั้น จำเลย ที่ 3 ได้ โอนกลับคืน ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 4 ให้การ ทั้ง สอง สำนวน ทำนอง เดียว กัน ว่า จำเลย ที่ 4ได้ ซื้อ ที่ดินพิพาท ซึ่ง เป็น ที่ดิน บางส่วน ใน โฉนด เลขที่ 2384ซึ่ง ต่อมา ได้ แบ่งแยก ออก เป็น โฉนด เลขที่ 125786 เนื้อที่ 19 ตารางวาและ ได้ ซื้อ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 121020 ซึ่ง เป็น สระ ว่ายน้ำ ตาม ฟ้อง ด้วยโดย มีค่า ตอบแทน สุจริต และ จดทะเบียน ซื้อ ขาย ถูกต้อง ตาม กฎหมายทุกประการ และ ไม่ปรากฏ ว่า ที่ดินพิพาท อยู่ ใน ภารจำยอม แก่ ที่ดิน โจทก์หรือ ผู้อื่น ใด ทั้งสิ้น จำเลย ที่ 4 จึง มีสิทธิ ใช้ ประโยชน์ ในที่ดินพิพาท ได้ มีสิทธิ สร้าง โรงรถ ได้ และ มีสิทธิ ไม่ให้ โจทก์ ทั้ง สองใช้ สระ ว่ายน้ำ นี้ ได้ ขอให้ ยกฟ้อง
ก่อน สืบพยานโจทก์ ที่ 1 ที่ 2 แถลงว่า ไม่ติดใจ เรียก ค่าเสียหายจาก จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 แถลง ไม่ติดใจสืบพยาน และ ยอมรับ ข้อเท็จจริง ตาม คำแถลง ฉบับ ลงวันที่ 25 มีนาคม 2529รายละเอียด ปรากฏ ตาม รายงาน กระบวนพิจารณา ของ ศาล ฉบับ ลงวันที่25 มีนาคม 2529
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 4 รื้อถอน โรงรถออก ไป จาก โฉนด ที่ดินพิพาท เลขที่ 125786 และ ให้ รื้อ รั้ว ปิด กั้นสระ ว่ายน้ำ ซึ่ง สร้าง อยู่ บน โฉนด เลขที่ 121020 ใน หมู่บ้าน สุขจิตแมนชั่น แขวง สามเสน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร และ ให้ ทำ ที่ดิน บน โฉนด พิพาท และ สภาพ สระ ว่ายน้ำ ดังกล่าว กลับคืน สู่ สภาพ เดิมห้าม มิให้ จำเลย ที่ 4 ขัดขวาง โจทก์ ทั้ง สอง ใน การ ใช้ สระ ว่ายน้ำ แห่ง นี้ให้ จำเลย ที่ 4 ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ที่ 1 เป็น เงิน 4,100 บาทและ ชดใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ที่ 2 เป็น เงิน 3,700 บาท และ ชดใช้ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ ทั้ง สอง คน ละ สัปดาห์ ละ 100 บาท นับแต่ วันฟ้องเป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ที่ 4 จะ รื้อถอน รั้ว สระ ว่ายน้ำ และ หยุด ขัดขวางโจทก์ ทั้ง สอง ใน การ ใช้ สระ ว่ายน้ำ ดังกล่าว คำขอ ของ โจทก์ ทั้ง สองเกี่ยวกับ จำเลย ที่ 4 นอกจาก นี้ ให้ยก พิพากษายก ฟ้องโจทก์ เกี่ยวกับจำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3
โจทก์ ทั้ง สอง และ จำเลย ที่ 4 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 4 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง จาก การ นำสืบของ โจทก์ และ จำเลย ที่ มิได้ โต้เถียง กัน ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 1 โดยจำเลย ที่ 2 ได้ ดำเนินการ ก่อสร้าง บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ และ แบ่ง ขาย พร้อมที่ดิน รวม 15 หลัง โดย ปลูก บ้าน 2 แถว หัน หน้า เข้า กัน มี ถนน ผ่าน กลางหมู่บ้าน ฝั่ง ทิศใต้ มี 8 ห้อง ทิศเหนือ มี 7 ห้อง และ มี สระ ว่ายน้ำสำหรับ ผู้ซื้อ บ้าน ใช้ ร่วมกัน โดย มี การ โฆษณา ด้วย ดัง ปรากฏ ตาม ใบ โฆษณาเอกสาร หมาย จ. 1 โดย มี ภาพ แสดง ลักษณะ และ คุณภาพ ของ หมู่บ้าน สุขจิตแมนชั่น และ ภาพถ่าย ถนน ใน หมู่บ้าน ซึ่ง สร้าง เสร็จ เรียบร้อย แล้ว ตาม ภาพถ่าย หมาย จ. 3 จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 แถลงรับ ตาม ฟ้องและ ฟังได้ ต่อไป ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ ดำเนินการ จัด จำหน่ายที่ดิน ต่อ กัน เป็น แปลง ย่อย มี จำนวน 10 แปลง ขึ้น ไป โดย ได้รับ ค่าตอบแทนจาก ผู้ซื้อ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ ดำเนินการ ตาม คำมั่น โดย ได้ดำเนินการ จัด ให้ มี การ สาธารณูปโภค หรือ บริการ สาธารณะ ซึ่ง ได้ แก่ถนน ผ่าน กลาง หมู่บ้าน และ สระ ว่ายน้ำ ตาม แผนผัง ท้ายฟ้อง ของ โจทก์ ที่ 2หมายเลข 2 หรือ เอกสาร หมาย จ. 22 ถนน ดังกล่าว อยู่ พื้นที่ สี เขียวและ อยู่ ใน โฉนด เลขที่ 2384 และ สระ ว่ายน้ำ อยู่ ใน พื้นที่ สี ส้มและ อยู่ บน โฉนด เลขที่ 121020 มี การ บันทึก ใน สารบัญ การ จดทะเบียนเอกสาร หมาย ล. 9 ว่า ให้ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2384 ตกอยู่ใน บังคับ ภารจำยอมของ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 118454, 118455, 118459 ด้วย ถนน และ สระ ว่ายน้ำเป็น สาธารณูปโภค ซึ่ง จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ใน ฐานะ ผู้จัดสรรที่ดินได้ จัด ให้ มี ขึ้น เพื่อ การ จัดสรร ที่ดิน ตาม แผนผัง และ โครงการ ที่ จัดสรรดังกล่าว ดังนั้น ถนน และ สระ ว่ายน้ำ ดังกล่าว ตกอยู่ใน ภารจำยอมเพื่อ ประโยชน์ แก่ ที่ดิน จัดสรร ทุก แปลง ตาม ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 30โจทก์ ทั้ง สอง จึง มีสิทธิ ใช้ ถนน พิพาท และ สระ ว่ายน้ำ ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ ต่อไป ว่า เมื่อ วันที่ 19 ตุลาคม 2525 จำเลย ที่ 2 ได้ โอน ที่ดินเฉพาะ ส่วน ที่ เป็น ถนน เข้า ภายใน หมู่บ้าน คือ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 2384ให้ แก่ จำเลย ที่ 3 ดัง ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย ล. 6 และ ต่อมา วันที่23 กุมภาพันธ์ 2526 จำเลย ที่ 3 ได้ นำ โฉนด แปลง ดังกล่าว ไป แบ่งแยกเป็น แปลง ย่อย รวม 8 แปลง และ วันที่ 30 กรกฎาคม 2527 จำเลย ที่ 3ตกลง ยินยอม ให้ จำเลย ที่ 4 ถือ กรรมสิทธิ์รวม ใน ที่ดิน โฉนด แปลง ดังกล่าวเฉพาะ ส่วน เนื้อที่ 19 ตารางวา คือ ที่ดินพิพาท ที่ จำเลย ที่ 4ได้ ก่อสร้าง เป็น โรงรถ ครั้น วันที่ 30 ตุลาคม 2527 ได้ แบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม ออก มา ต่างหาก เนื้อที่ 19 ตารางวา โดย จำเลย ที่ 3 ตกลงให้ ที่ดิน ที่ แบ่งแยก พ้น จาก ภารจำยอม จำเลย ที่ 4 ได้ โฉนด ฉบับ ใหม่เป็น โฉนด เลขที่ 125786 ตาม เอกสาร หมาย ล. 9 และ ต่อมา จำเลย ที่ 4ได้รับ โอน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 121020 ที่ สร้าง สระ ว่ายน้ำ ของ หมู่บ้านอีก ด้วย
คง มี ปัญหา วินิจฉัย ว่า ที่ดินพิพาท ที่ สร้าง เป็น โรงรถ ตามโฉนด เลขที่ 125786 และ ที่ดิน ที่ เป็น ที่ ตั้ง ของ สระ ว่ายน้ำ ตามโฉนด เลขที่ 121020 นั้น ยัง คง เป็น ภารจำยอม สำหรับ ที่ดิน ของโจทก์ ทั้ง สอง ต่อไป หรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า ขณะที่ จำเลย ที่ 4ได้รับ โอน กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง ดังกล่าว มา ปรากฏว่าถนน ใน หมู่บ้าน จัดสรร ซึ่ง กว้าง 8 เมตร ตาม แผนผัง หมายเลข 2 ท้ายฟ้องของ โจทก์ ที่ 2 หรือ ตาม เอกสาร หมาย จ. 22 ได้ มี การ ก่อสร้าง เสร็จเรียบร้อย แล้ว ส่วน สระ ว่ายน้ำ สามารถ ใช้ ได้ แล้ว ถนน และ สระ ว่ายน้ำเป็น ภารจำยอม ที่ เกิดขึ้น โดย ผล ของ กฎหมาย เป็น ทรัพยสิทธิ ที่ ติด ไป กับตัว ทรัพย์ และ ผูกพัน แก่ บุคคล ที่ เป็น เจ้าของ ภารยทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 เมื่อ จำเลย ที่ 4 รับโอนที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง ที่ ติด ภารจำยอม อยู่ ไป เช่นนี้ แม้ ที่ดินที่ เป็น ถนน จะ ถูก แยก ไป ภารจำยอม ก็ ยัง คง มี อยู่ ทุก ส่วน ที่ แยก ออกจำเลย ที่ 4 ใน ฐานะ ผู้รับโอน ก็ ต้อง รับ ภารจำยอม ที่ แต่ เดิม มี อยู่ไป ด้วย ทั้ง ต้อง บำรุง รักษา ให้ คง สภาพ ตลอด ไป ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1394 และ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286ข้อ 30 จำเลย ที่ 4 จะ อ้างว่า ได้รับ โอน ไป โดยสุจริต และ เสีย ค่าตอบแทนและ จดทะเบียน โดยสุจริต หาได้ไม่ นอกจาก นี้ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2ต่าง บรรยายฟ้อง ความ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง และ จำเลย ที่ 4 ต่าง ได้ ซื้อที่ดิน และ บ้าน ใน โครงการ จัดสรร ของ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ด้วยกันโดย ใน การ ซื้อ ขาย ได้ มี การ ตกลง ยินยอม ให้ โจทก์ ทั้ง สอง มีสิทธิ ใช้ทางเดิน พิพาท และ ใช้ สระ ว่ายน้ำ ที่พิพาท ทั้ง สอง แปลง ได้ และ โจทก์ ที่ 2ได้ บรรยายฟ้อง ระบุ ด้วย ว่า ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง อยู่ ใน โครงการ จัดสรรของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ปรากฏว่าจำเลย ที่ 4 มิได้ ให้การ ต่อสู้ หรือ ให้การ ปฏิเสธ ใน ประเด็น ข้อ นี้โดยชัดแจ้ง แต่อย่างใด ดังนั้น จึง ถือว่า จำเลย ที่ 4 รับ ข้อเท็จจริงใน ประเด็น ข้อ นี้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177ที่ จำเลย ที่ 4 ฎีกา ว่า ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง ไม่ เข้าข่าย เป็นการ จัดสรร ตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 เพราะ ว่า เป็น เจ้าของที่ดิน คน ละ ราย และ ไม่ถึง 10 แปลง นั้น เห็นว่า ตาม ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับ ดังกล่าว เพียงแต่ บัญญัติ ว่า การ จัดสรร ที่ดิน หมายความ ว่าการ จัด จำหน่าย ที่ดิน ติดต่อ กัน เป็น แปลง ย่อย มี จำนวน ตั้งแต่ 10 แปลงขึ้น ไป ไม่ว่า ด้วย วิธี ใด โดย มิได้ มี ข้อกำหนด ว่า ที่ดิน ที่ นำ มา จัดสรรต้อง เป็น แปลง เดียว กัน และ ต้อง เป็น ของ บุคคล คนเดียว กันเมื่อ ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า ที่ดิน ทั้ง สอง แปลง เป็น ส่วน หนึ่ง ของที่ดิน ที่อยู่ ใน โครงการ จัดสรร ที่ดิน ที่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ได้ ร่วมกัน จัดสรร ที่ดิน มี จำนวน ตั้งแต่ 10 แปลง ขึ้น ไป กรณี ต้อง ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 แล้ว แม้ จะ มี การ โอน ที่ดินโฉนด เลขที่ 2384 ซึ่ง เป็น ส่วน หนึ่ง ของ การ จัดสรร ที่ดิน ให้ แก่จำเลย ที่ 3 ใน ภายหลัง และ จำเลย ที่ 3 ได้ จัดการ แบ่ง ที่ดิน เป็นแปลง ย่อย 8 แปลง แล้ว ขาย ที่ดิน 1 แปลง ที่ สร้าง โรงรถ กับ โอน สระ ว่ายน้ำให้ จำเลย ที่ 4 ใน เวลา ต่อมา ก็ หา ทำให้ ที่ดิน ที่ เป็น โรงรถ และสระ ว่ายน้ำ นั้น ไม่เป็น การ จัดสรร ที่ดิน ตาม ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับ ดังกล่าว ไม่ ฎีกา จำเลย ที่ 4 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น จึง ฟังได้ ว่าที่ดินพิพาท คือ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 125786 และ โฉนด เลขที่ 121020คง เป็น ภารจำยอม เพื่อ ประโยชน์ แก่ ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง สอง ตาม ฟ้องเมื่อ จำเลย ที่ 4 ได้ กระทำการ ตาม ฟ้อง อันเป็น เหตุ ให้ โจทก์ ทั้ง สองได้รับ ความเสียหาย ถือว่า จำเลย ที่ 4 ทำละเมิด ต่อ โจทก์ ทั้ง สอง ตาม ฟ้องตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 สำหรับ ฎีกา ข้อ อื่น ๆของ จำเลย ที่ 4 นั้น เห็นว่า เป็น ข้อ ฎีกา ที่ ไม่เป็น สาระ แก่ คดี และไม่ทำ ให้ ผล คดี เปลี่ยนแปลง ไป จึง ไม่รับ วินิจฉัย ”
พิพากษายืน