คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1280/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองนำรถยนต์โดยสารเข้ามาจอดหรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่เช่าของโจทก์และขอให้ชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายในอนาคตอีกเดือนละ20,000บาทจำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าเป็นเรื่องผิดสัญญาเช่ามิใช่ละเมิดโดยเดิมจำเลยที่2เคยเช่าโดยค่าเช่าเดือนละ10,000บาทต่อมาโจทก์ขอขึ้นค่าเช่าเป็นเดือนละ20,000บาทจึงไม่เช่าต่อดังนั้นจุดประสงค์ของคดีคือพิพาทกันเรื่องค่าเช่าที่ค้างและเงินค่าเสียหายส่วนคำขอของโจทก์ที่ห้ามจำเลยทั้งสองมิให้กระทำการดังกล่าวเป็นเพียงผลต่อเนื่องมาจากความประสงค์สำคัญที่ขอให้ศาลกำหนดเงินค่าเช่าและค่าเสียหายซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดิน ของ การรถไฟ แห่งประเทศ ไทย บริเวณ ลานจอดรถ สถานีรถไฟ กรุงเทพ ฯ ( หัวลำโพง ) ด้าน คลอง ผดุงกรุงเกษม โดย เช่า ที่ดิน นี้ จาก การรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อ เก็บ ค่า จอดรถ กับ จัด บริการ รถแท็กซี่ และ รถสามล้อ รับจ้าง จำเลย ที่ 1ทรง สิทธิ จัดการ ขนส่ง ผู้โดยสาร ใน เส้นทาง สาย 109 และ สาย 113ทั้ง ได้ยิน ยอม ให้ จำเลย ที่ 2 นำ รถยนต์โดยสาร เข้าร่วม รับ ส่ง ผู้โดยสารใน กิจการ ดังกล่าว ตลอดจน แสดง ออก แก่ บุคคล ทั่วไป ให้ เข้าใจ ว่า เป็นการ ดำเนิน กิจการ ของ จำเลย ที่ 1 และ จำเลย ทั้ง สอง มี การ แสวงหา ประโยชน์ร่วมกัน จำเลย ที่ 2 จงใจ หรือ ประมาท เลินเล่อ เป็นเหตุ ให้ โจทก์เสียหาย โดย จำเลย ที่ 2 นำ รถยนต์โดยสาร ประจำทาง สาย 109 และ สาย 113ที่ ตน ใช้ ร่วม รับ ส่ง ผู้โดยสาร กับ จำเลย ที่ 1 เข้า มา จอด ใน เขต พื้นที่เช่า ของ โจทก์ และ ใช้ พื้นที่ เช่า ของ โจทก์ เป็น ท่า ปล่อย รถ สอง สายดังกล่าว ซึ่ง โจทก์ เคย เสนอ เก็บ ค่า จอดรถ จาก จำเลย ที่ 2 เป็น รายเดือนเดือน ละ 20,000 บาท แต่ จำเลย ที่ 2 เพิกเฉย การกระทำ ของ จำเลย ที่ 2ทำให้ โจทก์ ขาด ประโยชน์ อัน พึง ได้ และ โจทก์ เสียหาย เพราะ รถ ของ จำเลยที่ 2 มี น้ำหนัก มาก ทำให้ พื้น ถนน ใน เขต พื้นที่ เช่า ชำรุด เร็ว กว่า ปกติขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง มิให้ นำ รถยนต์โดยสาร เข้า มา จอด หรือ ใช้ประโยชน์ ใน พื้นที่ เช่า ของ โจทก์ และ ให้ ชำระ ค่าเสียหาย จำนวน 240,000บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันฟ้อง จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ และ ค่าเสียหาย อีก เดือน ละ 20,000 บาท นับแต่ วันฟ้องจนกว่า จำเลย ทั้ง สอง จะ หยุด กระทำการ ละเมิด แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า โจทก์ กับ จำเลย ที่ 2 ตกลง เช่า พื้นที่จอดรถ นิติกรรม ระหว่าง กัน เป็น เรื่อง ผิดสัญญา เช่า มิใช่ ละเมิดจำเลย ที่ 1 มิใช่ คู่สัญญา จึง ไม่ต้อง รับผิด อย่างไร ก็ ตาม จำเลย ที่ 1มิได้ กระทำ ละเมิด ต่อ โจทก์ ทั้ง โจทก์ ไม่เสีย หาย เพราะ บน พื้นที่ เช่าไม่ได้ มี รถ มา จอด เต็ม เนื้อที่ ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 มิได้ จงใจ หรือ ประมาท เลินเล่อให้ โจทก์ เสียหาย เดิม จำเลย ที่ 2 ใช้ ที่ดิน ที่ โจทก์ เช่า ข้าง สถานีรถไฟ ดังกล่าว เพื่อ จอดรถยนต์ โดยสาร ชั่วคราว ทั้ง ชำระ ค่าเช่า เดือน ละ10,000 บาท แต่ ต่อมา โจทก์ ขอ ขึ้น ค่าเช่า เป็น เดือน ละ 20,000 บาทซึ่ง สูง เกิน ไป จำเลย ที่ 2 จึง ไม่ เช่า ต่อไป ทั้ง ใช้ พื้นที่ นอก สัญญาเช่า ของ โจทก์ พัก รถ ชั่วคราว และ เข้า จอด รับ ส่ง ผู้โดยสาร จำเลย ที่ 2ไม่ได้ ทำให้ โจทก์ ขาด ประโยชน์ หรือ พื้นที่ เช่า ของ โจทก์ เสียหายจึง ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ทั้ง ค่าเสียหาย ก็ ไม่เกิน เดือน ละ 10,000บาท อนึ่ง คดี ของ โจทก์ ขาดอายุความ แล้ว เพราะ โจทก์ บอกเลิก การ เช่าตั้งแต่ เดือน กันยายน 2531 ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ห้าม จำเลย ทั้ง สอง นำ รถยนต์โดยสาร เข้า มา จอดหรือ ใช้ ประโยชน์ ใน พื้นที่ เช่า ของ โจทก์ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกันชำระ เงิน แก่ โจทก์ จำนวน 132,000 บาท และ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ อีกอัตรา เดือน ละ 12,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง (10 ตุลาคม 2532) จนกว่าจำเลย ทั้ง สอง จะ หยุด กระทำ ละเมิด ยก คำขอ อื่น นอกจาก นี้
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “เห็นว่า คดี นี้ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ห้าม จำเลยทั้ง สอง นำ รถยนต์โดยสาร เข้า มา จอด หรือ ใช้ ประโยชน์ ใน พื้นที่ เช่าของ โจทก์ และ ขอให้ ชำระ ค่าเสียหาย พร้อม ดอกเบี้ย และ ค่าเสียหาย ในอนาคต อีก เดือน ละ 20,000 บาท จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ต่อสู้ ว่า เป็นเรื่อง ผิดสัญญา เช่า มิใช่ ละเมิด โดย เดิม จำเลย ที่ 2 เคย เช่า ใน ราคาเดือน ละ 10,000 บาท แต่ ต่อมา โจทก์ ขอ ขึ้น ค่าเช่า เป็น เดือน ละ 20,000บาท ซึ่ง สูง เกิน ไป จึง ไม่ เช่า ต่อ ดังนั้น จุดประสงค์ ของ คดี คือ พิพาท กันเรื่อง ค่าเช่า ที่ ค้าง และ เงิน ค่าเสียหาย จึง เป็น คดี ที่ มี คำขอ ให้ปลดเปลื้อง ทุกข์ อัน อาจ คำนวณ เป็น ราคา เงินได้ แม้ โจทก์ มี คำขอ ให้ห้าม จำเลย ทั้ง สอง นำ รถยนต์โดยสาร เข้า มา จอด หรือ ใช้ ประโยชน์ ใน พื้นที่เช่า ของ โจทก์ ก็ ตาม ก็ เป็น เพียง ผล ต่อเนื่อง มาจาก ความ ประสงค์ สำคัญที่ ขอให้ ศาล กำหนด เงิน ค่าเช่า และ ค่าเสียหาย คดี นี้ จึง มี ทุนทรัพย์พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท ต้องห้าม มิให้ คู่ความ ฎีกาใน ข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง ซึ่ง ใช้ บังคับ ใน ขณะ ยื่นฎีกา ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ฟังข้อเท็จจริง ว่าการ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 เป็น การ ละเมิด ต่อ โจทก์และ การ ที่ จำเลย ที่ 2 นำ รถ เข้าร่วม ใน กิจการ ของ จำเลย ที่ 1 โดยจำเลย ที่ 1 ได้รับ ผลประโยชน์ ตอบแทน จำเลย ที่ 1 จึง ต้อง ร่วมรับผิดต่อ โจทก์ ด้วย จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ว่า การ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ว่าจำเลย ที่ 2 จอดรถ ใน บริเวณ ตาม ภาพถ่าย หมาย จ. 4 เป็น การ ละเมิด ต่อโจทก์ และ กำหนด ค่าเสียหาย ให้ โจทก์ เป็น เงิน 132,000 บาท กับ กำหนดค่าเสียหาย อีก ใน อัตรา เดือน ละ 12,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จำเลยทั้ง สอง จะ หยุด กระทำ ละเมิด ไม่ชอบ ด้วย ข้อเท็จจริง หาก จะ มี การ ละเมิดจำเลย ที่ 1 ก็ ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ เพราะ เป็น เรื่อง ระหว่าง โจทก์กับ จำเลย ที่ 2 นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ดังกล่าวเป็น ฎีกา ที่ จำเลย ทั้ง สอง โต้แย้ง ดุลพินิจ ใน การ รับฟัง พยานหลักฐานของ ศาลอุทธรณ์ ว่า ข้อเท็จจริง ควร เป็น อย่างไร ซึ่ง เป็น ฎีกา ในข้อเท็จจริง ต้องห้าม ตาม บท กฎหมาย ดังกล่าว ที่ ศาลชั้นต้น รับ ฎีกาจำเลย ทั้ง สอง ไว้ พิจารณา จึง เป็น การ ไม่ชอบ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ”
พิพากษายก ฎีกา จำเลย ทั้ง สอง

Share