แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่กันโอนสิทธิ เรียกร้องนั้นจะเกิด ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้ ชนะคดีดังนี้ สัญญา สิทธิเรียกร้อง เช่นนี้เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน เจ้าหนี้(ตามคำพิพากษา) ขอให้ศาลอายัติสิทธิเรียกร้องของผู้โอนไว้ก่อนเงื่อนไขสำเร็จ เจ้าหนี้ผู้อายัติกรรมสิทธิดีกว่าผู้รับโอน
ย่อยาว
ได้ความว่าเดิม อ.เป็น โจทก์ฟ้อง ว.กับ ช. และชนะคดีชั้นศาลแพ่ง เป็นเงิน ๓๐๐๐๐ บาท คดีถึงที่สุดชั้นศาลฎีการะหว่างคดีอยู่ในชั้นศาลอุทธรณ์ อ. ได้โอนสิทธิเรียกร้องในคดีนั้นให้แก่ผู้ร้องส่วนหนึ่ง เป็นเงิน ๖๐๐๐ บาทโดยทำหนังสือกันไว้มีข้อความว่าขอโอยสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่แก่ ว. และ ช. ๖๐๐๐ บาท ในเมื่อการพิจารณาของศาลได้บรรลุผลสำเร็จ หนี้สินที่ อ. มีอยู่แก่ผู้ร้องคงมีต่อไป ผู้ร้องได้แจ้งการโอนให้ ว. และ ช. ทราบแล้ว ก่อนศาลแพ่งอ่านคำพิพากษา ศาลฎีกาผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ อ.ตามคำพิพากษาได้ต้องขออายัติสิทธิเรียกร้องที อ.มีอยู่ต่อไป ว. และ ช. ฉะเพาะเงิน ๖๐๐๐ บาท ศาลแพ่งได้สังอนุญาต และเนื่องจาก อ.ไม่จัดการบังคับคดีเรื่องนั้น ผู้คัดค้านได้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีเรื่องนั้นขอให้ศาลออกหมายบังคับ ว.และ ช. ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องว่าผู้คัดค้านไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนนี้
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษาต้องกันให้ยกคำร้องของผู้ร้องเสีย
ศาลฎีกาตัดสินว่าสัญญาระหว่างผู้ร้องกับ อ. เป็น สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องเพื่อระงับหนี้ แต่หนี้เดิมยังมิได้ระงับไปทันที จะระงับเมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องเกิดผลและการโอนสิทธิเรียกร้องเกิดผลและการโอนสิทธิเรียกร้องจะเกิดผลเมื่อ ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอน จึงเป็นสัญญามีเงื่อนไขบังคับก่อนและไม่เกิดผลจนกว่าเงื่อนไขจะสำเร็จ ผู้คัดค้านไดอายัติสิทธิเรียกร้องไว้ก่อนสัญญาของผู้ร้องเกิดผล ผู้คัดค้านก็เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วยจะบังคับเรียกร้องให้ชำระหนี้จนสิ้นเชิงก็ได้ ส่วนประมวลแพ่ง ฯ ม. ๓๒๑ ที่ผู้ร้องอ้างมานั้นไม่เกี่ยวกับคดีนี้ จึงพิพากษายืนตามศาลล่าง ทั้ง ๒