แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ที่ศาลเจ้าที่เกิดมีขึ้นตามกฎเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 15 มี.ค.2463 ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ม.123 นั้น หาได้เป็นสาธารณสมบัติแผ่นดินไม่ เพราะตามกฎนี้กำหนดว่าให้ที่ศาลเจ้ามีหนังสือสำคัญหรือโฉนดนั้นก็คือให้ปฏิบัติการอย่างบุคคลธรรมดา ไม่มีข้อความพิเศษให้ลบล้างกฎหมาย ฉะนั้นเมื่อผู้ดูแลปล่อยปละให้บุคคลอื่นเข้าครอบครองที่ศาลเจ้าๆ ก็อาจสูญเสียที่ไปอย่างการสูญเสียที่ของบุคคลธรรมดานั้นเอง.
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทและที่นองพิพาทมีเขตติดต่อเป็นผืนเดียวกัน ที่นี้เมื่อ ร.ศ.๑๑๕ จีนโยงลางกับพวกได้สละเงินจัดหามา และก่อตั้งศาลเจ้าไหหลำขึ้น ต่อมามีการอุทิศที่ดินและอาคารให้เป็นของกลาง สำหรับมหาชนและได้ขึ้นทะเบียนต่อเจ้าพนักงานไว้แล้ว จึงมีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มีการแต่งตั้งผู้จัดการปกครองและผู้ตรวจตราสอดส่องตลอดมา โจทก์ที่ ๒ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการปกครองศาลเจ้านี้ในปัจจุบัน ตามกฎเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยว ว่าด้วยกุศลสถานชนิดศาลเจ้า ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๖๓ เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๔๙๗ จำเลยได้บังอาจรื้อถอนเขตที่เข้าไปปลูกเรือนในบริเวณที่ของศาลเจ้า จึงได้มาฟ้องให้ศาลบังคับ
จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยได้รับมรดกที่พิพาทมาจากมารดา มารดาจำเลยได้รับมรดกที่พิพาทมาจากยายจำเลย จำเลยได้ปกครองติดต่อกันมากว่า ๓๐ ปี จึงได้กรรมสิทธิ์
โจทก์จำเลยต่างรับกันว่าเดิมที่พิพาทเป็นของศาลเจ้าจริง แต่ยายจำเลยได้เข้าครอบครองมา เมื่อยายจำเลยตายลง มารดาจำเลยได้รับมรดกและปกครองมาอีกเกือบ ๓๐ ปี เมื่อมารดกจำเลยตาย จำเลยกับพวกได้มรดกได้ปกครองมาอีก ๕ – ๖ ปี แล้วทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานบุคคล คงอ้างแต่เอกสารเป็นพยาน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยได้ปกครองโดยสงบเปิดเผย ๑๐ ปี โจทก์จึงขาดปกครอง
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ศาลเจ้าเป็นที่กุศลสถานประเภทหนึ่ง ใช้เป็นสถานที่เคารพและประกอบพิธีกรรมตามลัทธิของมหาชน