คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2480

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

+++พิมพ์หนังสือที่มีผู้มาจ้างโดยเจ้าของสิขสิทธิหนังสือนี้ได้อนุญาตให้พิมพ์+++แล้วดังนี้ เจ้าของโรงพิมพ์ยังไม่มีผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ ความผิดที่เกิดขึ้นด้วยการ+++โฆษนาสิ่งพิมพ์นั้น ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้พิมพ์โฆษนา+++ด้วยแล้ว ผู้พิมพ์โฆษนายังไม่มีความผิด
ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา ม. +++
คดีที่พะยานให้การไว้ 2 ครั้ง ++++ ไต่สวนมูลฟ้องครั้ง 1 ในการพิจารณาครั้ง 1 เมื่อ++สงสัยในคำให้การชั้น พิจารณาศาลอาจดูคำให้การ ขั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นการอธิบายความหมายให้แจ่มแจ้งได้

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิพิมพ์บทละครเรื่องราชมนูออกจำหน่าย บทละครเรื่องนี้โจทก์ได้รับโอนจาก ว. ผู้ประพันธ์
ในชั้นไต่สวนมูบฟ้องศาลสั่งว่าคดีมีมูลฉะเพาะ ศ.จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ซึ่งพิมพ์หนังสือรายนี้แต่ผู้เดียว
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ว. เจ้าของลิขสิทธิ์เดิมได้มอบบทละครเรื่องนี้ให้ ท. ไปพิมพ์ได้เหมือนกันกับโจทก์ แต่ห้ามมิให้จำหน่ายก่อนวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ท.ได้มอบต้นฉะบับให้ ส. ไปจ้างโรงพิมพ์ของจำเลยพิมพ์โดยบอกว่าเจ้าของอนุญาตแล้ว โรงพิมพ์ของจำเลยจึงพิมพ์ได้ไม่ละเมิดลิขสิทธิ อนึ่งโจทก์สืบไม่ได้ว่าจำเลยจำหน่ายหรือสมคบกับผู้จำหน่ายขายหนังสือนั้น จำเลยจึงไม่ผิด พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกาว่าจำเลยเป็นผู้พิมพ์โฆษณาจำเลยควรมีผิดตาม พรบ การพิมพ์ ม. ๓๘ และที่ศาลอุทธรณ์ว่าเจ้าของลิขสิทธิเดิมอนุญาตให้พิมพ์นั้นเป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวน
ศาลฎีกาตัดสินว่า พรบ การพิมพ์ ม. ไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ข้อที่ โจทก์อ้างว่าหนังสือมีชื่อ จำเลยเป็นผู้พิมพ์โฆษนาจึงต้องมีผิดนั้นเห็นว่า ม. ๔ ใน พรบ การพิมพ์บัญญัติคำว่า “ผู้พิมพ์โฆษนา ” ไว้ต่างกับ “การออกโฆษนา” คดีจึงต้องแยกการพิมพ์โฆษนาอีกอย่างหนึ่งจะเอาผิดร่วมกันไม่ได้ ส่วนปัญหาที่ว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนหรือไม่นั้น ได้ตรวจดูคกของ ว.เจ้าของลิขสิทธิเดิมที่ให้การไว้ ๒ คราว ชั้นไต่สวนมูลฟ้องครั้งหนึ่ง ชั้นพิจารณาครั้งหนึ่งประกอบกันแล้ว เห็นว่า ว. ได้อนุญาตให้ ท.นำไปพิมพ์ออกจำหน่ายได้จริง จึงเป็นอันว่าศาลอุทธรณ์มิได้ฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวน ส่วนการโฆษนาคือการจำหน่ายโจทก์สืบไม่ได้ว่า จำเลยรู้เห็นด้วย จึง ลงโทษจำเลยมิได้ พิพากษายืนตาม ศาลอุทธรณ์

Share