คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2538

แหล่งที่มา : สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

พินัยกรรมทำขึ้นเพื่ออำพรางสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทพินัยกรรมซึ่งเป็นนิติกรรมอันแรกย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้นจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา155วรรคแรกส่วนนิติกรรมอันหลังคือสัญญาซื้อขายที่ถูกอำพรางไว้โดยพินัยกรรมซึ่งเป็นนิติกรรมอันแรกต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา155วรรคสองที่ดินพิพาทมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน10ปีตามประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา58ทวิและการโอนขายได้กระทำภายในกำหนดเวลาดังกล่าวถือได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ ประมาณ 48 ปี มา แล้ว โจทก์ ได้ แต่งงาน อยู่กินเป็น สามี ภรรยา ตาม ประเพณี โดย ไม่ได้ จดทะเบียนสมรส กับนาย เหรียญ สัตบุตร มี บุตร ด้วยกัน 5 คน คือ นาย เชาว์ สัตบุตร นาย กะเจา สัตบุตร นาย สมนึก สัตบุตร นาย ประเสริฐ สัตบุตร และ นาย สมศักดิ์ สัตบุตร จำเลย ทั้ง สาม เป็น บุตร ของ นาย สมนึก กับ นาง บุญถัน คุณากาล เมื่อ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2532 นาย เหรียญ ได้ ถึงแก่ความตาย ด้วย โรค ชรา ก่อน ตาย มี ทรัพย์สิน ที่ ทำ มา หา ได้ร่วมกัน กับ โจทก์ คือ ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก. ) เลขที่ 1340 ตำบล พระธาตุบังพวน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัด หนองคาย จำนวน 1 แปลง ซึ่ง เป็น สิทธิ ของ โจทก์ ครึ่ง หนึ่งแต่ มี ชื่อ นาย เหรียญ เป็น ผู้ถือ สิทธิ ครอบครอง หลังจาก นาย เหรียญ ถึงแก่กรรม แล้ว โจทก์ ได้ ยื่น คำร้อง ต่อ ศาลชั้นต้น ขอเป็นผู้จัดการมรดกจำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ได้ ยื่น คำคัดค้าน อ้างว่า นาย เหรียญ ได้ ทำ พินัยกรรม แบบ เอกสาร ฝ่าย เมือง ยก ที่ดิน ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สาม แล้วโจทก์ เห็นว่า พินัยกรรม ฉบับ ดังกล่าว เป็น โมฆะ เพราะ นาย เหรียญ ทำ พินัยกรรม ยก ทรัพย์สิน เกินกว่า ส่วน ของ ตน ให้ จำเลย ทั้ง สาม และ เป็น การสำคัญผิด เนื่องจาก นาย เหรียญ กับ โจทก์ ต่าง ก็ รักใคร่ กัน ดี และ มี บุตร ด้วยกัน ถึง 5 คน แทนที่ จะ ทำ พินัยกรรม ยก ทรัพย์สิน ให้ แก่ บุตรบ้าง กลับ ทำ พินัยกรรม ยก ทรัพย์สิน ทั้งหมด ให้ เฉพาะ หลาน คือ จำเลย ทั้ง สามเป็น การ ส่อพิรุธ ใน การ ทำ พินัยกรรม เป็น อย่างมาก ก่อน ฟ้องคดี นี้โจทก์ ได้ ขอให้ จำเลย ทั้ง สาม แบ่ง ทรัพย์ ที่ดิน แปลง ดังกล่าว ให้ แก่โจทก์ ครึ่ง หนึ่ง แต่ จำเลย ทั้ง สาม เพิกเฉย ขอ ศาล พิพากษา ว่า พินัยกรรมแบบ เอกสาร ฝ่าย เมือง ของ นาย เหรียญ เป็น โมฆะ ทั้ง ฉบับ และ พิพากษา ว่า ที่ดิน ตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 1340 ตำบล พระธาตุบังพวน อำเภอ เมืองหนองคาย จังหวัด หนองคาย กึ่งหนึ่ง เป็น ของ โจทก์
จำเลย ทั้ง สาม ให้การ ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ของ นาย เหรียญ คนเดียว โจทก์ ไม่มี ส่วน เกี่ยวข้อง ด้วย และ พินัยกรรม ของ นาย เหรียญ ก็ มี ผล สมบูรณ์ ทุกประการ เมื่อ ประมาณ ต้น ปี 2529 นาย เหรียญ และ โจทก์ ได้ ตกลง ขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่ นาง บุญถัน สัตบุตร (คุณากาล) ใน ราคา 40,000 บาท โดย นาย เหรียญ และ โจทก์ ส่งมอบ การ ครอบครอง ให้ แก่ นาง บุญถัน และ รับ เงิน ซื้อ ขาย ครบถ้วน แล้ว ต่อมา เมื่อ ประมาณ กลาง ปี 2529 โจทก์ และ นาย เหรียญ จะ ไป จดทะเบียน เปลี่ยน ชื่อ ใน น.ส.3 ก. ให้ แก่ นาง บุญถัน แต่ ปรากฏว่า จดทะเบียน โอน ไม่ได้ นาย เหรียญ และ โจทก์ กับ นาง บุญถัน จึง ได้ ตกลง กัน ว่า เมื่อ โอน ไม่ได้ ก็ ให้ นาย เหรียญ ยก ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สาม ด้วย การ ทำ พินัยกรรม ดังนั้น พินัยกรรม จึง สมบูรณ์ ตาม กฎหมาย ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษากลับ ว่า ที่ดินพิพาท กึ่งหนึ่ง เป็นของ โจทก์ พินัยกรรม แบบ เอกสาร ฝ่าย เมือง ของ นาย เหรียญ เป็น โมฆะ
จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา
ระหว่าง การ พิจารณา ของ ศาลฎีกา โจทก์ ถึงแก่กรรม นาย กะเจา สัตบุตร ขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลฎีกา อนุญาต
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ มี ราคา ทรัพย์สิน หรือ จำนวน ทุนทรัพย์ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท ห้าม มิให้ คู่ความ ฎีกา ในข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง และ ใน การ วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ศาลฎีกา จำต้อง ถือ ตามข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบ มาตรา 247
พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ทรัพย์สิน ที่ โจทก์ และ นาย เหรียญ ผู้ตาย ทำ มา หา ได้ ร่วมกัน แต่ ให้ ใส่ ชื่อ นาย เหรียญ เป็น ผู้ถือ สิทธิ ครอบครอง ใน น.ส.3 ก. แต่ ผู้เดียว เมื่อ ปี 2529 โจทก์ และ นาย เหรียญ ได้ ขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่ นาง บุญถัน คุณากาล แต่ ไม่สามารถ โอน ทาง ทะเบียน ได้ เพราะ มี ข้อกำหนด ห้ามโอน ภายใน 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายที่ดินโจทก์ และ นาย เหรียญ กับ นาง บุญถัน จึง ตกลง กัน ให้ นาย เหรียญ ทำ พินัยกรรม แบบ เอกสาร ฝ่าย เมือง ยก ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สามซึ่ง เป็น บุตร ของ นาง บุญถัน ปัญหา วินิจฉัย มี ว่า พินัยกรรม ดังกล่าว มีผล สมบูรณ์ ตาม กฎหมาย หรือไม่ ที่ จำเลย ฎีกา ว่า พินัยกรรม มีผล สมบูรณ์ใช้ บังคับ ได้ เพราะ เป็น เจตนา อัน แท้จริง ของ นาย เหรียญ หา ได้ ทำ ขึ้น เพื่อ อำพราง สัญญาซื้อขาย แต่อย่างใด นั้น เห็นว่า ใน ปัญหา ข้อ นี้ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ฟัง ข้อเท็จจริง มา ว่าการ ทำ พินัยกรรม ของนาย เหรียญ เป็น การ อำพราง สัญญาซื้อขาย ที่ดินพิพาท ซึ่ง ศาลฎีกา จำต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย มา แล้ว และ เมื่อ ฟังข้อเท็จจริง ว่า พินัยกรรม ทำ ขึ้น เพื่อ อำพราง สัญญาซื้อขาย ที่ดินพิพาทพินัยกรรม ซึ่ง เป็น นิติกรรม อัน แรก ย่อม เป็น การแสดง เจตนา ลวง ด้วยสมรู้ ระหว่าง คู่กรณี ที่ จะ ไม่ผูกพัน กัน ตาม เจตนา ที่ แสดง ออก มา นั้นจึง ย่อม ตกเป็น โมฆะ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคแรกส่วน นิติกรรม อัน หลัง คือ สัญญาซื้อขาย ที่ ถูก อำพราง ไว้ โดย พินัยกรรม ซึ่งเป็น นิติกรรม อัน แรก ต้อง บังคับ ตาม บทบัญญัติ ของ กฎหมาย อัน เกี่ยวกับนิติกรรม ที่ ถูก อำพราง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155วรรคสอง เมื่อ ที่ดินพิพาท มี ข้อกำหนด ห้ามโอน ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ และ การ โอน ขาย ได้ กระทำ ภายในกำหนด เวลา ดังกล่าว ถือได้ว่า สัญญาซื้อขาย ที่ดินพิพาท มี วัตถุประสงค์เป็น การ ต้องห้าม ชัดแจ้ง โดย กฎหมาย จึง ตกเป็น โมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 และ เมื่อ ฟัง ว่า พินัยกรรมเป็น โมฆะ จึง ไม่จำต้อง วินิจฉัย ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สาม ใน ข้อ ต่อไป ว่าการ ที่นาย เหรียญ ทำ พินัยกรรม ยก ที่ดินพิพาท ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สาม ซึ่ง เป็น หลาน ถือว่า เป็น การ ตกทอด ทาง มรดก ไม่ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ วรรคท้าย หรือไม่ ที่ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ฎีกา ของ จำเลยทั้ง สาม ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share