แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
การแสดงเจตนาถ้าสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมย่อมเป็นโมฆะและตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมก็อาจเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมได้ถ้าการทำนิติกรรมนั้นถือเอาตัวบุคคลเป็นสาระสำคัญแต่ในบางกรณีตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเนื่องจากจุดประสงค์เพราะต้องการเพียงเงินจำนวนหนึ่งเท่านั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เดือดร้อนเรื่องเงินและรู้จักกับนางอ.มารดาจำเลยซึ่งมีอาชีพรับซื้อฝากที่ดินเป็นธุรกิจโจทก์ตกลงขายฝากที่ดินไว้แก่นางอ.เพราะไม่รู้จักจำเลยมาก่อนแต่นางอ.กับจำเลยได้สมคบกันฉ้อฉลทำหนังสือมอบอำนาจมรรับซื้อฝากใส่ชื่อจำเลยไว้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการไถ่คืนในภายหลังเพราะจำเลยไม่ได้อยู่ในประเทศไทยนิติกรรมการขายฝากจึงตกเป็นโมฆะนั้นคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างให้เห็นเลยว่าเหตุใดจึงเจาะจงที่จะขายฝากไว้แก่นางอ.อันพอจะทำให้เห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนาที่จะถือเอาตัวบุคคลที่จะรับซื้อฝากเป็นสาระสำคัญคงเห็นได้แต่เพียงว่าโจทก์ต้องการเงินจำนวนหนึ่งเท่านั้นการที่นางอ.หรือจำเลยจะเป็นผู้รับซื้อฝากก็ไม่มีผลต่างกันเพราะโจทก์ได้รับค่าขายฝากไปครบถ้วนแล้วเหตุตามคำฟ้องดังกล่าวจึงไม่ทำให้นิติกรรมขายฝากเป็นโมฆะคดีพอวินิจฉัยได้หาจำต้องฟังพยานโจทก์จำเลยอีกต่อไปไม่.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า เดิม ที่ดิน โฉนด เลขที่ 25314 เป็น ของ นาง ชาลีฮะห์เสน่หา ภริยาโจทก์ โดย มี ชื่อ นาย เฮม สุดาดวง เป็น ผู้ถือ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ดังกล่าว มี บ้าน ปลูก อยู่ 1 หลัง ต่อมา นาย เฮม ตกลง แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ ให้ แก่ นาง ซาลีฮะห์ ตาม สิทธิ ใน เรื่อง มรดก แต่นาง ซาลีฮะห์ มอบให้ โจทก์ ไป ทำ การ รังวัด แบ่งแยก แต่ ช่าง รังวัดแนะนำ ว่า การ จด ทะเบียน ใส่ชื่อ ภริยา โจทก์ หรือ โจทก์ เอง มี ผลตาม กฎหมาย อย่างเดียว กัน ทั้ง การ รับ มรดก ไม่ อาจ ดำเนิน การได้ ที่ดิน ดังกล่าว จึง มี ชื่อ โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ต่อมาโจทก์ เดือดร้อน เรื่อง เงิน โจทก์ รู้จัก นาง อมรา วรรณพฤกษ์ มารดาจำเลย ซึ่ง มี อาชีพ รับ ซื้อ ฝาก ที่ดิน เป็น ธุรกิจ ปล่อย เงินกู้ใน รูป การ ขาย ฝาก โดย การ แนะนำ ของ บุคคล อื่น โจทก์ จึง ได้ ตกลงขายฝาก ที่ดิน โฉนด ดังกล่าว ไว้ แก่ นาง อมรา เนื่องจาก การ สมคบกัน ฉ้อฉล มารดา จำเลย ได้ ทำ หนังสือ มอบ อำนาจ รับซื้อ ฝาก ใส่ ชื่อจำเลย ไว้ ขณะนั้น จำเลย รับราชการ อยู่ ต่างประเทศ นิติกรรม ดังกล่าวจึง เป็น โมฆะ เพราะ ขาด สาระสำคัญ คุณสมบัติ ของ บุคคล และ ทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 เมื่อ ครบ กำหนด ไถ่ถอนโจทก์ ไม่ สามารถ ดำเนินการ ได้ เพราะ จำเลย ยัง ไม่ เข้า มา ในประเทศไทย เมื่อ นิติกรรม เป็น โมฆะ แล้ว จำเลย ก็ ไม่ ได้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน พิพาท ตาม กฎหมาย ขอ ให้ พิพากษา ว่า การ จด ทะเบียน รับ ซื้อฝากที่ดิน โฉนด เลขที่ 25314 ตำบล สวนหลวง อำเภอ พระโขนง พร้อม สิ่งปลูกสร้าง เมื่อ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2512 เป็น โมฆะ ให้ จำเลย ไป ทำการจด ทะเบียน แก้ ชื่อ ใน โฉนด ที่ดิน ดังกล่าว เป็น ชื่อ ของ โจทก์หาก จำเลย ไม่ ไป ขอ ให้ ถือ เอา คำพิพากษา แทน การ แสดง เจตนา ของจำเลย
จำเลย ให้การ ว่า ใน วัน ทำ สัญญา และ จด ทะเบียน การ ขาย ฝาก ที่สำนักงานที่ดินฯ โจทก์ มิได้ คัดค้าน ใน เรื่อง ความ สมบูรณ์ ของใบมอบอำนาจ จน มี การ จด ทะเบียน เสร็จสิ้น และ โจทก์ รับ เงิน ที่ขายฝาก ไป แล้ว ลายมือชื่อ ของ ผู้มอบอำนาจ เป็น ลายมือชื่อ ที่ แท้จริง โจทก์ ไม่ ได้ กล่าวอ้าง ใน ฟ้อง ว่า เป็น ลายมือชื่อ ปลอม จึง ถือว่าโจทก์ ยอมรับ ความ สมบูรณ์ ของ ใบอำนาจ และ การ มอบอำนาจ จำเลย ได้ทำ สัญญา กับ โจทก์ โดย สุจริต สัญญา ขายฝาก จึง สมบูรณ์ จำเลย พร้อมที่ จะ ให้ โจทก์ ไถ่ถอน ที่ดิน ดังกล่าว เสมอ แต่ เนื่องจาก โจทก์ไม่ มี เงิน จะ ไถ่ถอน จึง ปล่อย ให้ ที่ดิน หลุด จาก การ ขายฝากจำเลย ได้ เรียก ให้ โจทก์ ไถ่ถอน หลาย ครั้ง และ ยัง ให้ โอกาส ซื้อที่ดิน คืน แต่ โจทก์ ไม่ สนใจ โจทก์ เคย ฟ้อง จำเลย มา แล้ว ตามคดี หมายเลข แดง ที่ 15045/2522 คดี ถึงที่สุด ไป แล้ว ฟ้อง ของ โจทก์จึง เป็น ฟ้อง ซ้ำ คดี ของ โจทก์ ขาด อายุ ความ ขอ ให้ ยกฟ้องศาลชั้นต้น กำหนด ประเด็น ข้อ พิพาท ว่า
1.นิติกรรม ขายฝาก เป็น โมฆะ ด้วย เหตุ ตาม ฟ้อง หรือไม่
2. คดี โจทก์ ขาด อายุความ หรือไม่
3. คดีนี้ เป็น ฟ้องซ้ำ กับ คดี หมายเลข แดง ที่ 15045/2522 ของศาลชั้นต้น หรือไม่
ก่อน สืบพยาน ศาลชั้นต้น เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ แล้ว ให้ งดสืบพยาน โจทก์ จำเลย แล้ว วินิจฉัย ว่า ตาม คำฟ้อง ถือ ได้ ว่า โจทก์ได้ เข้า ทำ สัญญา กับ จำเลย โดย มารดา จำเลย เป็น ตัวแทน ด้วย ความสมัครใจ นิติกรรม การ ขายฝาก จึง สมบูรณ์ พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ ให้โจทก์ ใช้ ค่าฤชาธรรมเนียม แทน จำเลย โดย กำหนด ค่า ทนายความ 5,000 บาท
โจทก์ อุทธรณ์ ขอ ให้ ศาลชั้นต้น สืบพยาน โจทก์ จำเลย ต่อไป
ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า ข้อเท็จจริง ตาม ฟ้อง ยัง ไม่ อาจ ฟัง ได้ ว่าใน วัน ทำ สัญญา และ จดทะเบียน การ ขายฝาก โจทก์ ทราบ ว่า มารดา จำเลยทำ สัญญา ใน ฐานะ เป็น ตัวแทน จำเลย พิพากษา ยก คำพิพากษา ศาลชั้นต้นให้ ศาลชั้นต้น สืบพยาน โจทก์ และ จำเลย แล้ว พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ปัญหา ข้อกฎหมาย ว่า การ แสดง เจตนา ถ้า สำคัญ ผิดใน สิ่ง ซึ่ง เป็น สาระ สำคัญ แห่ง นิติกรรม ย่อม เป็น โมฆะ และ ตัวบุคคล ซึ่ง เป็น คู่กรณี แห่ง นิติกรรม ก็ อาจ เป็น สาระ สำคัญ แห่งนิติกรรม ได้ ถ้า การ ทำ นิติกรรม นั้น ถือ เอา ตัว บุคคล เป็น สาระสำคัญ ใน บาง กรณี ตัว บุคคล ซึ่ง เป็น คู่ กรณี ไม่ ถือ ว่า เป็นสาระ สำคัญ แห่ง นิติกรรม เนื่องจาก จุดประสงค์ เพราะ ต้องการ เพียงเงิน จำนวน หนึ่ง เท่านั้น การ ที่ โจทก์ คดีนี้ บรรยาย ฟ้อง เพียง ว่าโจทก์ เดือดร้อน เรื่อง เงิน และ รู้จัก กับ นาง อมรา วรรณพฤกษ์ มารดาจำเลย ซึ่ง มี อาชีพ รับ ซื้อฝาก ที่ดิน เป็น ธุรกิจ โจทก์ จึง ได้ตกกลง ขายฝาก ที่ดิน ไว้ แก่ นาง อมรา เพราะ ไม่ รู้จัก จำเลย มา ก่อนแต่ นาง อมรา กับ จำเลย สมคบ กัน ฉ้อฉล ทำ หนังสือ มอบอำนาจ มา รับซื้อฝาก ใส่ ชื่อ จำเลย ไว้ โดย มี เจตนา ที่ จะ ไม่ ให้ มี การไถ่คืน ใน ภายหลัง เพราะ จำเลย ไม่ ได้ อยู่ ใน ประเทศไทย จาก คำฟ้องโจทก์ ดังกล่าว ไม่ ได้ กล่าวอ้าง เป็น พิเศษ ให้ เห็น ว่า เหตุใดจึง เจาะจง ที่ จะ ขายฝาก ไว้ เฉพาะ แก่ นาง อมรา อัน จะ พอ ทำ ให้มองเห็น ได้ ว่า โจทก์ มี เจตนา จะ ถือ เอา ตัว บุคคล ที่ จะ รับซื้อฝาก เป็น สาระ สำคัญ ตาม คำฟ้อง เห็น ได้ แต่ เพียง ว่า โจทก์ต้องการ เงิน จำนวน หนึ่ง เท่านั้น ฉะนั้น การ ที่ นาง อมรา หรือ จำเลยจะ เป็น ผู้รับ ซื้อฝาก ก็ ไม่ มี ผล แตกต่าง กัน เพราะ โจทก์ ก็ ได้รับ เงิน ค่า ขายฝาก ไป ครบถ้วน แล้ว การ ที่ จำเลย ไป อยู่ ต่างประเทศก็ ไม่ ใช่ เหตุ ที่ จะ ทำ ให้ โจทก์ ไม่ สามารถ ไถ่คืน ได้ เพราะกฎหมาย กำหนด วิธีการ ให้ ปฏิบัติ อยู่ แล้ว เหตุ ตาม คำฟ้อง จึง ไม่ทำ ให้ นิติกรรม การ ขายฝาก ระหว่าง โจทก์ จำเลย เป็น โมฆะ ได้ ตามคำฟ้อง คดี พอ วินิจฉัย ได้ หา จำเป็น ต้อง ฟัง พยาน โจทก์ จำเลย อีกต่อไป ไม่ ฎีกา จำเลย ฟัง ขึ้น
พิพากษา กลับ ให้ ยกฟ้อง โจทก์