คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือโจทก์ร่วมสลักหลังมอบให้น.นำไปเข้าบัญชีของน.เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินต้องถือว่าน.เป็นผู้ทรงเช็คและเป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีกับจำเลยในข้อหาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯโจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายฉะนั้นการที่โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้น.ไปร้องทุกข์แทนการร้องทุกข์ย่อมไม่ชอบ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ทั้ง สอง ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3
นาย ประสาท เกิดสินธ์ชัย ยื่น คำร้อง ขอ เข้า เป็น โจทก์ร่วมศาลชั้นต้น อนุญาต และ พิจารณา แล้ว เห็นว่า โจทก์ร่วม ไม่ ใช่ผู้เสียหาย ไม่ มี อำนาจฟ้อง พิพากษา ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ร่วม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ปัญหา ที่ จะ วินิจฉัย มี เพียง ว่าโจทก์ร่วม เป็น ผู้เสียหาย หรือไม่ ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ แล้ว ว่าโจทก์ร่วม เซ็น สลักหลัง มอบ เช็ค พิพาท ให้ นาย นริศน์ แสงบรรจงนำ ไป เข้า บัญชี ของ นาย นริศน์ เพื่อ เรียกเก็บ เงิน ตาม เช็คทั้ง ที่ โจทก์ร่วม และ ภริยา มี บัญชี ใน ธนาคาร ของ ตนเอง อยู่แล้วเมื่อ ทาง ธนาคาร ปฏิเสธ การจ่าย เงิน โจทก์ร่วม ได้ มอบ อำนาจ ให้นาย นริศน์ ไป ร้องทุกข์ กล่าวโทษ จำเลย แทน ปรากฏ ว่า เช็ค พิพาทสั่ง ให้ ใช้ เงิน แก่ ผู้ถือ ซึ่ง โอน ให้ แก่ กัน ได้ เพียง การส่งมอบ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 918 ประกอบ มาตรา 989แต่ โจทก์ร่วม ยัง โอน ให้ ไป โดย การ สลักหลัง ตาม มาตรา 917 เสียอีกด้วย ดังนั้น ใน วันที่ ทาง ธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่าย เงิน ซึ่ง ถือว่าเป็น วันที่ การ กระทำ ผิด เกิดขึ้น นาย นริศน์ จึง เป็น ผู้ ทรง เช็คโดย ชอบ ตาม มาตรา 904 โดย ได้ รับ โอน เช็ค ไป จาก โจทก์ร่วม แล้วและ เป็น ผู้เสียหาย ใน คดีนี้ โจทก์ร่วม ไม่ ใช่ ผู้เสียหาย ไม่ มีอำนาจ ร้องทุกข์ หรือ มอบ ให้ นาย นริศน์ ไป ร้องทุกข์ แทน และ ไม่ มีสิทธิ ขอ เข้า เป็น โจทก์ร่วม กับ พนักงาน อัยการ ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 30 อีกด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษาชอบ แล้ว ฎีกา โจทก์ร่วม ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษายืน

Share