คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2518

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ในกรณีที่ศาลรวมการพิจารณาพิพากษาคดีที่จำเลยคนเดียวกันถูกฟ้องตั้งแต่ 2 สำนวนขึ้นไป คำว่า “ในคดีนั้น” ในตอนต้นของมาตรา 56 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หมายถึงคดีแต่ละสำนวนเป็นรายคดี เมื่อกำหนดโทษจำคุกที่ศาลลงแก่จำเลยในแต่ละสำนวนตามที่ได้ลดโทษให้แล้วไม่เกิน 2 ปี และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้รอการลงโทษได้ถ้าเห็นเป็นการสมควร (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2518)

ย่อยาว

ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาคดี 2 สำนวนรวมกัน ในสำนวนแรกโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นพนักงานเก็บรักษาเงินของบริษัทแองโกลไทยมอเตอร์ จำกัด ได้กระทำผิด 5 กรรม โดยจำเลยเขียนรายการนำเงินของบริษัทเข้าฝากธนาคาร เมื่อได้รับใบฝากเงินฉบับของลูกค้ากลับคืนมาแล้ว จำเลยได้ทำเอกสารสิทธิปลอมขึ้นในใบนำฝากนั้นโดยเขียนเพิ่มรายการและเพิ่มจำนวนเงิน แล้วนำยอดเงินที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นลงบัญชีการรับเงินประจำวันของบริษัท และนำใบรับฝากเงินที่จำเลยทำปลอมขึ้นนั้นมาใช้หรืออ้างกับบริษัทเพื่อแสดงว่าว่าได้นำเงินฝากธนาคารตามจำนวนนั้น ทำให้ยอดเงินคงเหลือของบริษัทขาดไป แล้วจำเลยได้เบียดบังยักยอกเงินจำนวนที่จำเลยเพิ่มเติมนั้นในสำนวนหลังโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นพนักงานเก็บรักษาเงินของบริษัทอุตสาหกรรมไทยมอเตอร์ ได้กระทำความผิดต่อบริษัทนี้ในทำนองเดียวกันนั้นอีก 5 กรรม ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 265, 268, 352 กับให้จำเลยคืนหรือให้เงินแก่บริษัททั้งสอง และขอให้นับโทษติดต่อกัน

ชั้นแรกจำเลยให้การปฏิเสธ ในวันสืบพยานโจทก์บริษัทแองโกลไทยมอเตอร์ จำกัด และบริษัทอุตสาหกรรมไทยมอเตอร์ จำกัด ผู้เสียหายได้ขอถอนคำร้องทุกข์ในข้อหาฐานยักยอกทรัพย์โดยอ้างว่าจำเลยกับพวกได้นำเงินมาคืนให้เป็นที่พอใจแล้วและก่อนศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์ จำเลยขอรับสารภาพว่าได้กระทำผิดตามโจทก์ฟ้องทุกประการ ขอให้รอการลงโทษจำเลย

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 268 ประกอบด้วยมาตรา 265 เรียงกระทงลงโทษกระทงละ 6 เดือนสำนวนแรก 4 กระทง (ที่ถูก 5 กระทง) จำคุก 2 ปี สำนวนหลัง 5 กระทง จำคุก 2 ปี 6 เดือน รวม 2 สำนวนจำคุก 4 ปี 6 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพมีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 2 ปี 3 เดือน และไม่รอการลงโทษให้จำเลยโดยอ้างว่าตามพฤติการณ์แห่งคดี โทษที่ศาลลงแก่จำเลยเกินกำหนดที่จะรอได้

จำเลยอุทธรณ์ขอรอการลงโทษโดยอ้างว่า ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 เมื่อโทษแต่ละคดีไม่เกิน 2 ปี ศาลย่อมรอการลงโทษได้โดยเฉพาะคดีนี้ศาลลงโทษคดีแรก 1 ปี คดีหลัง 1 ปี 3 เดือน แต่ละคดีไม่เกิน 2 ปี

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยว่า ศาลรอการลงโทษแก่จำเลยได้ โดยให้เหตุผลทำนองเดียวกับที่จำเลยอุทธรณ์

ศาลฎีกาเห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 บัญญัติว่า “ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินสองปี

Share