คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์มิได้ฎีกาโต้เถียงคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค2ที่ว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญาจึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงยุติตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค2ปัญหาตามฎีกาโจทก์ที่ว่าสัญญายังไม่เลิกกันจึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีเพราะไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค2ได้ ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องและคำให้การประกอบคำแถลงของทนายโจทก์แล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงแห่งคดีพอวินิจฉัยได้จึงงดสืบพยานโจทก์จำเลยโจทก์มิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ปัญหาเรื่องพยานหลักฐานในสำนวนครบถ้วนหรือไม่จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย เป็น ผู้ถือ สิทธิ ครอบครอง ที่ดิน ตาม น.ส. 3เลขที่ 338 จำเลย ตกลง แบ่ง ขาย ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ เนื้อที่6 ไร่ โจทก์ เข้า ครอบครอง ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน ดังกล่าว จน ถึง วันฟ้องเป็น เวลา 12 ปี จึง ได้ สิทธิ ครอบครอง ใน ที่ดิน 6 ไร่ ดังกล่าว โจทก์ขอให้ จำเลย ไป จดทะเบียน โอน ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ แต่ จำเลย ไม่ยอมโดย อ้างว่า ที่ดิน ติด จำนอง อยู่ ที่ ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด สาขา หนองฉาง หาก โจทก์ ชำระ เงิน ให้ แก่ จำเลย อีก 10,000 บาท หรือ นำ เงิน ไป ชำระหนี้ แก่ ธนาคาร ดังกล่าว แทน จำเลย แล้ว จำเลย จะ จดทะเบียนโอน ที่ดิน ให้ โจทก์ โจทก์ ตกลง จึง ได้ ทำ สัญญา กัน ตาม สำเนา สัญญา เอกสารท้ายฟ้อง หมายเลข 2 หลังจาก นั้น จำเลย ผิดสัญญา ขอให้ บังคับจำเลย รับ เงิน 10,000 บาท ตาม สัญญา และ ให้ โจทก์ เข้า ถือ สิทธิครอบครอง ใน ที่ดิน ดังกล่าว เนื้อที่ 6 ไร่ หาก จำเลย ไม่ยอม ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย
ระหว่าง กำหนด เวลา ยื่นคำให้การ จำเลย ถึงแก่กรรม นาง เล็ก อนุสรณ์ ภรรยา ของ จำเลย ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความ แทน ศาลชั้นต้น อนุญาต
จำเลย ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า จำเลย เคย ตกลง ขายที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ตาม ฟ้อง แต่ โจทก์ ไม่ยอม ชำระ ราคา ส่วน ที่ เหลือ ให้ แก่จำเลย ตาม กำหนด เวลา จำเลย จึง ไม่ใช่ ผู้ผิดสัญญา ต่อมา จำเลยจึง นำ ที่ดิน ดังกล่าว ไป จดทะเบียน จำนอง แก่ ธนาคาร โจทก์ ขอให้ จำเลยขาย ที่ดิน แก่ โจทก์ อีก โดย จะ ไถ่ถอน จำนอง แทน จำเลย และ ยินยอม ชำระค่าที่ดิน ส่วน ที่ ค้าง ให้ แก่ จำเลย รวมเป็น เงิน 10,000 บาท จำเลย ตกลงแต่ โจทก์ กลับ ผิดสัญญา ไม่ยอม นำ เงิน ไป ชำระหนี้ เพื่อ ไถ่ถอน จำนอง จากธนาคาร จำเลย จึง จัดการ ไถ่ถอน จำนอง ที่ดิน จาก ธนาคาร เองขอให้ ยกฟ้อง
ใน วันนัดชี้สองสถาน ทนายโจทก์ แถลงรับ ข้อเท็จจริง ที่ ว่าจำเลย ได้ ชำระหนี้ และ ไถ่ถอน จำนอง ที่ดินพิพาท จาก ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด สาขา หนองฉาง แล้ว โดย โจทก์ ไม่ได้ เกี่ยวข้อง ด้วย ศาลชั้นต้น เห็นว่า ข้อเท็จจริง แห่ง คดี พอ วินิจฉัย ได้ จึง มี คำสั่ง งด การ ชี้สองสถานและ งดสืบพยาน โจทก์ จำเลย
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ โดย ผู้พิพากษา ที่นั่ง พิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้นรับรอง ว่า มีเหตุ อันควร อุทธรณ์ ได้
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า เมื่อ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 วินิจฉัย ว่าตาม สำเนา สัญญา เอกสาร ท้ายฟ้อง หมายเลข 2 เป็น กรณี โจทก์ กับ จำเลยตกลง ทำ สัญญา ขึ้น ใหม่ นอกจาก สัญญาซื้อขาย เดิม และ กำหนด เงื่อนไขสำคัญ ให้ โจทก์ ต้อง ปฏิบัติ คือ โจทก์ ต้อง นำ เงิน จำนวน 10,000 บาท ชดใช้จำเลย เพื่อ จะ ได้ นำ เงิน ดังกล่าว ไป ไถ่ถอน จำนอง จาก ธนาคาร หรือ โจทก์เข้า เป็น ลูกหนี้ ของ ธนาคาร ร่วม กับ จำเลย จำนวน 10,000 บาท แต่ โจทก์ไม่ได้ ปฏิบัติ ตาม สัญญา ดังกล่าว โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ฟ้องบังคับ จำเลยให้ ปฏิบัติ ตาม สัญญา ทั้ง พฤติการณ์ ที่ โจทก์ ปล่อย ให้ เวลา ผ่าน มา นานประมาณ 4 ปี นับ จาก วัน ทำ สัญญา จึง ได้ มี หนังสือ บอกกล่าว ให้ จำเลยไป จดทะเบียน โอน ที่ดิน ให้ โจทก์ แสดง ว่า โจทก์ สมัครใจ เลิกสัญญาโดย ปริยาย แล้ว โจทก์ มิได้ ฎีกา โต้เถียง คำวินิจฉัย ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2ที่ ว่า โจทก์ ไม่ได้ ปฏิบัติ ตาม สัญญา โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ ฟ้องบังคับจำเลย ให้ ปฏิบัติ ตาม สัญญา จึง เป็น ยุติ ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2วินิจฉัย มา ดังกล่าว ฉะนั้น ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า สัญญา ยัง ไม่เลิก กัน เพราะตาม สัญญา ไม่ได้ กำหนด ระยะเวลา ไว้ และ จำเลย ยัง ไม่ได้ บอกกล่าว ให้โจทก์ ชำระ เงิน 10,000 บาท ก่อน ถ้า ไม่ชำระ จึง จะ เป็นเหตุให้ เลิกสัญญา กัน ได้ นั้น จึง เป็น ข้อกฎหมาย ที่ ไม่เป็น สาระ แก่ คดี ที่ศาลฎีกา จะ วินิจฉัย เพราะ ไม่อาจ เปลี่ยนแปลง ผล ของ คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้ ส่วน ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า หาก ศาลฎีกา เห็นว่า พยานหลักฐานใน สำนวน ไม่ครบ ถ้วน ขอให้ สั่ง ให้ ศาลชั้นต้น สืบพยาน ใหม่ นั้น เห็นว่าใน ชั้นอุทธรณ์ โจทก์ มิได้ อุทธรณ์ ใน ปัญหา ข้อ นี้ ปัญหา เรื่อง พยานหลักฐาน ใน สำนวน ครบถ้วน หรือไม่ จึง เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้วใน ชั้นอุทธรณ์ ทั้ง ไม่ใช่ ปัญหา เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชนจึง ต้องห้าม มิให้ ฎีกา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลชั้นต้น สั่ง รับ ฎีกา ข้อ นี้ เป็น การ ไม่ชอบ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ให้
พิพากษายก ฎีกา โจทก์

Share