แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์นั้น แม้คดียังอยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษา และคดีอยู่ระหว่างพิจารณาในศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็ยังมิได้มีคำสั่งรับอุทธรณ์คำพิพากษาในเนื้อหาคดี คำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะวินิจฉัยและมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 302 วรรคหนึ่ง หาอยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมิชอบด้วยกระบวนพิจารณา และเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาในประเด็นนี้ขึ้นมา
ย่อยาว
คดีสืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2551 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันชำระเงินจำนวนหนึ่งพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์สินจำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ หากได้เงินไม่พอให้บังคับยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้จนครบ จำเลยที่ 1 ประสงค์จะอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นและได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตมาเป็นลำดับ จนกระทั่งจำเลยที่ 1 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 4 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด ผู้ร้อง ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ จำเลยที่ 1 ยื่นคำคัดค้าน
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553 ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว มีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่ง
วันที่ 11 สิงหาคม 2553 ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์และเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
จำเลยที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์นั้น แม้คดียังอยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษา และคดีอยู่ระหว่างพิจารณาในศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็ยังมิได้มีคำสั่งรับอุทธรณ์คำพิพากษาในเนื้อหาคดี คำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะวินิจฉัยและมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 302 วรรคหนึ่ง หาอยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมิชอบด้วยกระบวนพิจารณา และเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาในประเด็นนี้ขึ้นมา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบมาตรา 247 และมาตรา 142 (5)
พิพากษายกคำสั่งศาลอุทธรณ์ ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับคดีสืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2551 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันชำระเงินจำนวนหนึ่งพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์สินจำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ หากได้เงินไม่พอให้บังคับยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้จนครบ จำเลยที่ 1 ประสงค์จะอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นและได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตมาเป็นลำดับ จนกระทั่งจำเลยที่ 1 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 4 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด ผู้ร้อง ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ จำเลยที่ 1 ยื่นคำคัดค้าน
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553 ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว มีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่ง
วันที่ 11 สิงหาคม 2553 ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์และเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
จำเลยที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์นั้น แม้คดียังอยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษา และคดีอยู่ระหว่างพิจารณาในศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็ยังมิได้มีคำสั่งรับอุทธรณ์คำพิพากษาในเนื้อหาคดี คำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะวินิจฉัยและมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 302 วรรคหนึ่ง หาอยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงมิชอบด้วยกระบวนพิจารณา และเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาในประเด็นนี้ขึ้นมา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบมาตรา 247 และมาตรา 142 (5)
พิพากษายกคำสั่งศาลอุทธรณ์ ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ