คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

เงินมัดจำตาม สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินที่ผู้จะขายได้บอกริบแล้วถือเป็นเงินได้จากการอื่นๆตามมาตรา40(8)แห่งประมวลรัษฎากรและเป็นเงินได้พึงประเมินที่ ผู้จะขายมีหน้าที่ ต้องเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา39แห่งประมวลรัษฎากรแม้ผู้จะซื้อจะฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลก็ตาม

ย่อยาว

โจทก์ ทั้ง สอง ฟ้อง ขอให้ พิพากษา ว่า เงินมัดจำ 9,000,000 บาทยัง ไม่เป็น เงินได้ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ใน ปีภาษี 2533 ให้ เพิกถอนการ ประเมิน ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน จำเลย ที่ 5 ตาม แบบ ภ.ง.ด. 12เลขที่ 1016/1135 (ที่ ถูก 1016/1135) ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2534และ คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 2 ถึง ที่ 4 เลขที่ 1/2536ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2535
จำเลย ทั้ง ห้า ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลภาษีอากรกลาง พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ เพิกถอน การ ประเมินของ เจ้าพนักงาน ประเมิน ตาม หนังสือ แจ้ง ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาภ.ง.ด. 12 เลขที่ 1016/1/1135 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2534 จำนวนเงิน12,091,741.21 บาท และ คำวินิจฉัย อุทธรณ์ ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์เลขที่ 1/2536 ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2535 จำนวนเงิน 8,304,576.51 บาท
จำเลย ทั้ง ห้า อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่าเมื่อ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2533 โจทก์ ทั้ง สอง ทำ สัญญาจะขาย ที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 326, 1373 และ 1374 กับ ที่ดิน ตาม น.ส. 3เลขที่ 319, 146 และ 400 ตำบล หนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง จังหวัด ชลบุรี รวม 6 แปลง ให้ แก่ นาง อารมณ์ กาญจนาภา ใน ราคา 31,416,375 บาท นาง อารมณ์ ได้ ให้ เงินมัดจำ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง ใน วัน ทำ สัญญา จำนวน 9,000,000 บาท และ นัด ไป โอน ที่ดิน กัน ใน วันที่19 มิถุนายน 2533 ตาม หนังสือ สัญญาจะซื้อจะขาย หรือ สัญญา วาง มัดจำเอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 160 แต่เมื่อ ถึง วันนัด มิได้ มี การ โอนที่ดิน กัน วันที่ 20 มิถุนายน 2533 นาง อารมณ์ ได้ ขอ อายัด ที่ดิน ทั้ง 6 แปลง ตาม หนังสือ แจ้ง การ อายัด เอกสาร หมาย จ. 4 วันที่22 ตุลาคม 2533 นาง อารมณ์ ยื่นฟ้อง โจทก์ ทั้ง สอง ต่อ ศาลแพ่ง อ้างว่า โจทก์ ทั้ง สอง ผิดสัญญา ขอให้ โจทก์ ทั้ง สอง คืนเงิน มัดจำ จำนวน 9,000,000บาท และ ชดใช้ ค่าเสียหาย จำนวน 19,000,000 บาท ตาม เอกสาร หมาย จ. 5โจทก์ ทั้ง สอง ให้การ ต่อสู้ คดี และ ฟ้องแย้ง เรียก ค่าเสียหาย จากนาง อารมณ์ ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 62 ถึง 66 ต่อมา เจ้าพนักงาน ประเมิน ได้ ออกหมาย เรียก โจทก์ ทั้ง สอง เพื่อ ตรวจสอบ ภาษีเมื่อ ตรวจสอบ แล้ว เห็นว่า โจทก์ ทั้ง สอง มิได้ เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา และ ภาษีการค้า จาก เงินมัดจำ ที่ โจทก์ ทั้ง สองได้รับ ใน ปี 2533 เป็น เงินได้ 9,000,000 บาท จึง ได้ ประเมิน ให้ โจทก์ทั้ง สอง เสีย ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา และ ภาษีการค้า โจทก์ ทั้ง สองอุทธรณ์ การ ประเมิน ต่อ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ คณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์ พิจารณา แล้ว เห็นว่า เงินมัดจำ จำนวน 9,000,000 บาท มิใช่เงินได้ จาก การ ขาย ที่ดิน ตาม การ ประเมิน แต่ เป็น เงินได้ อื่น ๆ ตามมาตรา 40(8) แห่ง ประมวลรัษฎากร กรณี มีเหตุ อันควร ผ่อนผัน จึง ลดเบี้ยปรับ ที่ ได้ เรียกเก็บ ไว้ แล้ว คงเหลือ เรียกเก็บ เพียง ร้อยละ 50ของ เบี้ยปรับ ตาม กฎหมาย เงินเพิ่ม ตาม การ ประเมิน เป็น เงินเพิ่มตาม มาตรา 27 แห่ง ประมวลรัษฎากร ไม่อาจ ลด หรือ งด ได้ ส่วน ภาษีการค้าเห็นว่า เงินมัดจำ จำนวน 9,000,000 บาท ยัง ไม่ เข้า ลักษณะ เป็น รายรับจาก การ ขาย อสังหาริมทรัพย์ ที่ จะ ต้อง เสีย ภาษีการค้า จึง พิจารณา ปลดภาษีการค้า คง ให้ โจทก์ ทั้ง สอง ชำระ ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา เบี้ยปรับและ เงินเพิ่ม รวม 8,304,576.51 บาท พร้อม ทั้ง เงินเพิ่ม ตาม กฎหมายตาม คำวินิจฉัย อุทธรณ์ เอกสาร หมาย ล. 2 แผ่น ที่ 3 และ 4
มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ว่า การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงาน ประเมินและ คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ของ จำเลย ชอบ ด้วย กฎหมายหรือไม่ สำหรับ การ ประเมิน ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ของ เจ้าพนักงานประเมิน ตาม หนังสือ แจ้ง การ ประเมิน ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา เอกสาร หมายจ. 3 แผ่น ที่ 11 เฉพาะ ที่ เจ้าพนักงาน ประเมิน เห็นว่า เงินมัดจำ จำนวน9,000,000 บาท ที่ โจทก์ ทั้ง สอง ได้รับ มา ใน ปี 2533 เป็น เงินได้จาก การ ขาย ที่ดิน และ การ ประเมิน ภาษีการค้า ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน ตามหนังสือ แจ้ง การ ประเมิน ภาษีการค้า เอกสาร หมาย จ. 3 แผ่น ที่ 5 นั้นคณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ได้ มี คำวินิจฉัย ว่า เงินมัดจำ มิใช่ เงินได้จาก การ ขาย ที่ดิน ตาม การ ประเมิน แต่ เป็น เงินได้ อื่น ๆ ตาม มาตรา 40(8)แห่ง ประมวลรัษฎากร และ เงินมัดจำ ดังกล่าว ยัง ไม่ เข้า ลักษณะ เป็นรายรับ จาก การ ขาย อสังหาริมทรัพย์ ที่ จะ ต้อง เสีย ภาษีการค้า แล้วดังนั้น จึง คง มี ปัญหา ตาม อุทธรณ์ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ได้ ริบ เงินมัดจำจำนวน 9,000,000 บาท แล้ว หรือไม่ หาก โจทก์ ทั้ง สอง ได้ ริบ เงินมัดจำแล้ว เงินมัดจำ ดังกล่าว เป็น เงินได้ อื่น ๆ ตาม มาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่ง ต้อง เสีย ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ตาม คำวินิจฉัยของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ หรือไม่ ตาม คำฟ้อง โจทก์ ทั้ง สอง อ้างว่าโจทก์ ทั้ง สอง ยัง ไม่ได้ ริบ เงินมัดจำ จำนวน 9,000,000 บาท และจะ มีสิทธิ ริบ เงินมัดจำ หรือไม่ ยัง ไม่ทราบ จำเลย ทั้ง ห้า ให้การ ว่าโจทก์ ทั้ง สอง ได้ บอกเลิก สัญญาจะซื้อจะขาย แก่ นาง อารมณ์ และ ริบ เงินมัดจำ แล้ว เห็นว่า ปรากฏว่า เมื่อ เจ้าพนักงาน ประเมิน ออกหมายเรียก โจทก์ ทั้ง สอง เพื่อ ตรวจสอบ ภาษี โจทก์ ทั้ง สอง มอบอำนาจ ให้นาย มรกต สังขทัต ณ อยุธยา ไป ให้ ถ้อยคำ และ ตอบ ข้อ ซักถาม ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน ตาม หนังสือมอบอำนาจ เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 96และ นาย มรกต ให้การ ต่อ เจ้าพนักงาน ประเมิน ตาม เอกสาร หมาย ล. 1แผ่น ที่ 93 ถึง 95 ว่า เมื่อ นาง อารมณ์ ไม่มา รับโอน ที่ดิน ใน วันนัด ทนายความ ของ โจทก์ ทั้ง สอง ได้ ทำ หนังสือ บอกเลิก สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินและ ขอ ริบ เงินมัดจำ ไป ยัง นาง อารมณ์ ซึ่ง ตรง ตาม หนังสือ บอกเลิก สัญญา ของ ทนายความ โจทก์ ทั้ง สอง ที่ ส่ง ถึง นาง อารมณ์ ฉบับ ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2533 เอกสาร หมาย ล. 1 แผ่น ที่ 162 และ 163 ข้อเท็จจริงจึง ฟังได้ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ได้ ใช้ สิทธิ ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญา วาง มัดจำ ริบ เงินมัดจำ จำนวน 9,000,000 บาท แล้ว ที่นา ง อารมณ์ ฟ้อง เรียกเงิน มัดจำ และ เรียก ค่าเสียหาย จาก โจทก์ ทั้ง สอง ต่อ ศาลแพ่งเป็น การ ฟ้อง หลังจาก ที่ โจทก์ ทั้ง สอง ได้ ริบ เงินมัดจำ แล้ว ทั้ง ใน คดีดังกล่าว โจทก์ ทั้ง สอง ได้ ให้การ ต่อสู้ ว่า นาง อารมณ์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา โจทก์ ทั้ง สอง มีสิทธิ ริบ เงินมัดจำ ได้ จึง ไม่ต้อง คืนเงิน มัดจำซึ่ง แสดง ว่า โจทก์ ทั้ง สอง ถือว่า เงินมัดจำ จำนวน 9,000,000 บาทที่ โจทก์ ทั้ง สอง ริบ ตกเป็น ของ โจทก์ ทั้ง สอง แล้ว หาใช่ ว่า โจทก์ ทั้ง สองยัง มิได้ ริบ เงินมัดจำ หรือ เป็น กรณี ที่ โจทก์ ทั้ง สอง จะ มีสิทธิ ริบเงินมัดจำ หรือไม่ ยัง ไม่ทราบ อัน จะ ถือว่า เงินมัดจำ เป็น เพียง สิทธิเรียกร้อง ที่ โจทก์ ทั้ง สอง จะ ได้รับ มา ใน ภายหน้า ไม่ เงินมัดจำ ที่ โจทก์ทั้ง สอง ได้ ริบ จำนวน 9,000,000 บาท เป็น เงิน ที่ โจทก์ ทั้ง สองได้รับ เนื่องจาก นาง อารมณ์ ซึ่ง เป็น คู่สัญญา ปฏิบัติ ผิดสัญญา จึง เป็น เงินได้ จาก การ อื่น ๆ ตาม มาตรา 40(8) แห่ง ประมวลรัษฎากรและ เป็น เงินได้พึงประเมิน ที่ โจทก์ ทั้ง สอง มี หน้าที่ ต้อง เสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ตาม มาตรา 39 แห่ง ประมวลรัษฎากร การ ประเมินของ เจ้าพนักงาน ประเมิน เฉพาะ ส่วน ที่ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์มิได้ แก้ไข และ คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ ชอบแล้วอนึ่ง ที่ โจทก์ ทั้ง สอง แก้ อุทธรณ์ ว่า โจทก์ ทั้ง สอง มิได้ มี เจตนาหลีกเลี่ยง ภาษี หาก โจทก์ ทั้ง สอง ต้อง แพ้ คดี ก็ ขอให้ งด เบี้ยปรับและ เงินเพิ่ม ทั้งหมด นั้น เห็นว่า เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้วโดยชอบ ใน ศาลภาษีอากรกลาง ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ที่ ศาลภาษีอากรกลางพิพากษา ให้ เพิกถอน การ ประเมิน ของ เจ้าพนักงาน ประเมิน และ คำวินิจฉัยของ คณะกรรมการ พิจารณา อุทธรณ์ นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกาอุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง ห้า ฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง

Share