คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้เช่านาตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯจะต้องฟ้องหรืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยหรืออย่างช้าต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่มีคำวินิจฉัยมิฉะนั้นคำวินิจฉัยย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา56,57เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการดังกล่าวจึงไม่มีอำนาจฟ้องหรืออุทธรณ์คำวินิจฉัยได้อีกและแม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้ยกขึ้นวินิจฉัยแต่จำเลยทั้งสามได้ให้การต่อสู้คดีและจำเลยที่2กับที่3ก็ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกาถือว่ามีประเด็นที่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ทั้งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบมาตรา246และ247

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้เช่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6446 จากจำเลย ที่ 1 เพื่อ ทำนา ต่อมา เมื่อ วันที่ 24 พฤษภาคม 2532 จำเลย ที่ 1ได้ แบ่ง ขาย ที่ดิน ตาม โฉนด ที่ดิน ดังกล่าว ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3ใน ราคา 300,000 บาท โดย ให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ถือ กรรมสิทธิ์ใน ที่ดิน ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 โดย จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ มี หนังสือ บอกกล่าวแจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ ขอให้ เพิกถอน นิติกรรม การ โอน ที่ดิน ระหว่างจำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 และ ให้ จำเลย ที่ 1 จดทะเบียนโอน ขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6446 ตำบล หนองนกไข่ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัด สมุทรสาคร ให้ แก่ โจทก์ ใน ราคา 300,000 บาท หาก ไม่ปฏิบัติตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนา
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า โจทก์ ได้ ขอ อาศัย อยู่ ใน ที่ดินพิพาทโดย ที่ จำเลย ที่ 1 ไม่เคย เรียกเก็บ ค่าเช่า โจทก์ ไม่เคย ทำนา ในที่ดินพิพาท ฟ้อง ของ โจทก์ ขาดอายุความ เนื่องจาก ไม่ได้ ฟ้องคดี ภายในเวลา 60 วัน นับแต่ วันที่ คณะกรรมการ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรมประจำจังหวัด สมุทรสาคร มี คำวินิจฉัย ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ซื้อ ที่ดินพิพาท โดย ขณะ ซื้อ ได้ ตรวจ ดู สภาพ ที่ดิน แล้ว เห็นว่า ไม่ได้ มี การ ทำนาการ ซื้อ ขาย ระหว่าง จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 จึง ชอบ ด้วย กฎหมายโจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เพราะ ยื่นฟ้อง เกิน ระยะเวลา 60 วัน นับแต่ วันที่คณะกรรมการ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม ประจำจังหวัด สมุทรสาครมี คำวินิจฉัย ว่า โจทก์ ไม่ได้ เช่า นา ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า โจทก์ มิได้ ยื่น อุทธรณ์ ต่อ ศาล ภายใน30 วัน นับแต่ วันที่ ทราบ คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ การเช่าที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม จังหวัด สมุทรสาคร คำวินิจฉัย นั้น จึง เป็น ที่สุดตาม พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 57ประกอบ ด้วย มาตรา 56 วรรคสอง และ ต้อง ฟัง ว่า โจทก์ ไม่ได้ เป็น ผู้เช่า นาจาก จำเลย ที่ 1 โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง และ โจทก์ ย่อม ไม่ได้ รับความคุ้มครอง ตาม พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2524พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ เป็น ยุติ ตาม ที่คู่ความ ไม่ได้ โต้เถียง กัน ใน ชั้นฎีกา ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าของที่ดินพิพาท โฉนด เลขที่ 6446 ตำบล หนองนกไข่ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัด สมุทรสาคร ต่อมา เมื่อ วันที่ 24 พฤษภาคม 2532 จำเลย ที่ 1ได้ แบ่ง ขาย ที่ดิน ดังกล่าว ให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 โดย ให้ จำเลย ที่ 2และ ที่ 3 ลงชื่อ เป็น เจ้าของ ใน โฉนด ที่ดิน ร่วม กับ จำเลย ที่ 1หลังจาก นั้น โจทก์ ได้ ร้องเรียน ต่อ คณะกรรมการ การเช่าที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม ตำบล หนองนกไข่ ว่า โจทก์ เช่า ที่ดินพิพาท จาก จำเลย ที่ 1เพื่อ ทำนา ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 จำเลย ที่ 1 ได้ จดทะเบียน โอน ขายที่ดินพิพาท ให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 โดย ไม่ได้ มี หนังสือ แจ้ง ให้ โจทก์ทราบ ก่อน ครั้น วันที่ 19 ตุลาคม 2532 คณะกรรมการ การเช่าที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม ประจำ ตำบล หนองนกไข่ ได้ มี คำวินิจฉัย ว่า โจทก์ ไม่ได้ เช่า นา ตาม พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 21, 63 จึง ไม่อยู่ ใน อำนาจ ของ คณะกรรมการ การเช่าที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม ประจำ ตำบล ตาม มาตรา 13 โจทก์ ยื่น อุทธรณ์ ต่อ คณะกรรมการการเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม ประจำจังหวัด สมุทรสาคร คณะกรรมการการเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม ประจำจังหวัด สมุทรสาคร ได้ มี คำวินิจฉัยเมื่อ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2533 ยืนยัน ตาม คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการการเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม ตำบล หนองนกไข่ โจทก์ จึง มา ฟ้องคดี นี้ เมื่อ วันที่ 10 เมษายน 2533 มี ปัญหา ที่ จะ วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ใน ประการ แรก ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง หรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่าตาม พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 56 วรรคสอง ที่ บัญญัติ ว่า “คำวินิจฉัย ของ คชก. ตำบล ที่ มิได้อุทธรณ์ ตาม วรรคหนึ่ง ให้ เป็น ที่สุด ” และ มาตรา 57 วรรคหนึ่งที่ บัญญัติ ว่า “คู่กรณี หรือ ผู้มีส่วนได้เสีย ใน การเช่านา ที่ ไม่พอ ใจคำวินิจฉัย ของ คชก. จังหวัด มีสิทธิ อุทธรณ์ ต่อ ศาล ได้ ภายใน สามสิบ วันนับแต่ วันที่ ทราบ คำวินิจฉัย คชก. จังหวัด แต่ จะ ต้อง ไม่เกิน หก สิบ วันนับแต่ วันที่ คชก. จังหวัด มี คำวินิจฉัย ” และ วรรคสอง ที่ บัญญัติ ว่า”ให้ นำ มาตรา 56 วรรคสอง วรรคสี่ และ วรรคห้า มา ใช้ บังคับ แก่การ มี คำวินิจฉัย ของ คชก. จังหวัด โดย อนุโลม ” นั้น หมายความ ว่าหาก โจทก์ จะ ฟ้อง หรือ อุทธรณ์ คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ การเช่าที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม ประจำจังหวัด สมุทรสาคร (คชก. จังหวัด สมุทรสาคร )ต่อ ศาล โจทก์ ต้อง ฟ้อง หรือ อุทธรณ์ ต่อ ศาล ภายใน สามสิบ วัน นับแต่ วัน ทราบคำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม จังหวัดสมุทรสาคร หรือ อย่างช้า ต้อง ไม่เกิน หก สิบ วัน นับแต่ วันที่ คณะกรรมการการเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม จังหวัด สมุทรสาคร มี คำวินิจฉัยหาก โจทก์ ไม่ได้ ฟ้อง หรือ อุทธรณ์ ต่อ ศาล ภายใน กำหนด เวลา ดังกล่าวคำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรม ประจำจังหวัดสมุทรสาคร ย่อม เป็น ที่สุด โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง หรือ อุทธรณ์ คำวินิจฉัยดังกล่าว ได้ อีก และ ด้วย เหตุ ดังกล่าว จึง เห็นว่า จาก ข้อเท็จจริงดัง วินิจฉัย ข้างต้น ที่ ได้ความ ว่า โจทก์ ฟ้องคดี นี้ ต่อ ศาล เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2533 ซึ่ง พ้น กำหนด หก สิบ วัน นับแต่ วันที่ 2กุมภาพันธ์ 2533 ที่ คณะกรรมการ การเช่าที่ดิน เพื่อ เกษตรกรรมจังหวัด สมุทรสาคร มี คำวินิจฉัย ต้อง ถือว่า คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการดังกล่าว ถึงที่สุด แล้ว โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง คดี นี้ อนึ่งเห็นสมควร วินิจฉัย ไว้ ด้วย ว่า เกี่ยวกับ อำนาจฟ้อง ของ โจทก์ ตาม ที่วินิจฉัย แล้ว นั้น แม้ ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ ไม่ได้ ยกขึ้น วินิจฉัยแต่ ปัญหา ดังกล่าว จำเลย ทั้ง สาม ได้ ให้การ ต่อสู้ คดี และ จำเลย ที่ 2กับ ที่ 3 ก็ ได้ ยกขึ้น ต่อสู้ ไว้ ใน คำแก้อุทธรณ์ และ คำ แก้ ฎีกา ถือได้ว่ามี ประเด็น ที่ ศาลฎีกา ยกขึ้น วินิจฉัย ได้ ทั้ง ปัญหา เกี่ยวกับ อำนาจฟ้องของ โจทก์ ดังกล่าว เป็น ปัญหาข้อกฎหมาย เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อยของ ประชาชน ที่ ศาลฎีกา มีอำนาจ ยกขึ้น วินิจฉัย ได้ ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบ มาตรา 246 และ 247 อีก ด้วยดังนั้น เมื่อ คดี ฟังได้ ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง ดัง วินิจฉัย แล้วกรณี จึง ไม่จำต้อง วินิจฉัย ปัญหา อื่น ตาม ฎีกา ของ โจทก์ อีก ที่ ศาลล่างทั้ง สอง พิพากษา ให้ยก ฟ้องโจทก์ ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ฎีกา ของโจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share