คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1191/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์จำเลยตกลงกันว่าในช่วงระยะเวลา15วันโจทก์ทำงานให้จำเลย8วันหยุด7วันจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์8วันเท่ากับวันทำงานจริงโดยจ่ายให้ทุกวันที่5และ20ของเดือนต่อมาวันที่20กันยายน2528จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าจำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ให้ครบจำนวนที่จะต้องจ่ายไปจนถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปคือในวันที่5ตุลาคม2528แต่ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจำเลยจ่ายค่าจ้างโดยแท้จริงให้โจทก์เท่าที่ทำงานเพียง8วันมิได้จ่ายให้คราวละ15วันการที่จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์คนละ8วันเมื่อเลิกจ้างจึงเป็นการจ่ายสินจ้างในช่วงเวลาคราวถัดไปหนึ่งช่วงตามที่ตกลงกันแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีก7วันจากจำเลย.

ย่อยาว

เดิม โจทก์ 57 คน ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ ของ จำเลย ทำงานสัปดาห์ ละ 6 วัน หยุด 1 วัน จ่าย ค่าจ้าง ทุก วันที่ 5 และ วันที่20 ของ เดือน ต่อมา จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ แล้ว จ่าย สินจ้าง แทนการ บอกกล่าว ล่วงหน้า แก่ โจทก์ เพียง 8 วัน ค้างจ่าย สินจ้าง แทนการ บอกกล่าว ล่วงหน้า แก่ โจทก์ คนละ 7 วัน ขอ ให้ จำเลย จ่าย เงินค้างจ่าย ดังกล่าว พร้อมด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ที่ 7 ที่ 9 ที่ 10 ที่ 13 และ ที่ 37 มิได้เป็น ลูกจ้าง จำเลย ไม่ มี สิทธิ ฟ้อง ส่วน โจทก์ อีก 51 คน เคยตกลง กับ จำเลย ว่า ใน ช่วง ระยะ เวลา 15 วัน โจทก์ ทำงาน ให้ จำเลย8 วัน หยุด 7 วัน จำเลย จ่าย ค่าจ้าง ให้ โจทก์ 8 วัน เท่ากับ ที่ทำงาน ถือ เอา ระยะ เวลา ที่ น้ำขึ้น เป็น ช่วง ระยะ เวลา ทำงานเนื่องจาก ระยะ เวลา น้ำลง ขุด แร่ ไม่ ได้ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ และได้ จ่าย ค่าจ้าง ให้ แก่ โจทก์ แล้ว 8 วัน เป็น ไป ตาม ข้อตกลง แล้วโจทก์ ไม่ มี สิทธิ เรียก สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า อีก7 วัน ขอ ให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ที่ 7 ที่ 9 ที่ 10 ที่ 13 และ ที่ 37 ขอ ถอนฟ้อง ศาล อนุญาต
ศาลแรงงานกลาง พิจารณา แล้ว พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ ทุก คน ยกเว้น โจทก์ ที่ 7 ที่ 9 ที่ 10 ที่ 13 และ ที่ 37อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อ กฎหมาย ว่า ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ ว่า โจทก์ เป็นลูกจ้าง จำเลย ตกลง กัน ว่า ใน ช่วง ระยะ เวลา 15 วัน โจทก์ ทำงาน ให้จำเลย 8 วัน หยุด 7 วัน จำเลย จ่าย ค่าจ้าง โจทก์ เพียง 8 วัน เท่ากับวัน ทำงาน จริง อีก 7 วัน ไม่ ได้้จ่าย เพราะ มิได้ ทำงาน การ จ่ายค่าจ้าง นั้น จ่าย ทุก วันที่ 5 และ 20 ของ เดือน ใน วันที่ 20กันยายน 2528 จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ และ จ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า ให้ 7 วัน แก่ โจทก์ ทุกคน แล้ว ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ว่า โจทก์มี สิทธิ ได้ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า อีก คน ละ 7 วันหรือไม่ เห็นว่า ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 การ ที่จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เมื่อ วันที่ 20 กันยายน 2528 โดย ไม่ บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลย จึง ต้อง จ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกกล่าว ล่วงหน้า แก่โจทก์ ให้ ครบ จำนวน ที่ จะ ต้อง จ่าย ไป พอ ถึง กำหนด จ่าย สินจ้างคราว ถัดไป คือ ใน วันที่ 5 ตุลาคม 2528 ใน ช่วง ระยะ เวลา 15 วัน ตามที่ ตกลง กัน แต่ ใน ช่วง ระยะ เวลา ดังกล่าว จำเลย จ่าย ค่าจ้าง โดยแท้จริง ให้ โจทก์ เท่า ที่ ทำงาน 8 วัน เท่านั้น หา ได้ จ่าย ให้คราว ละ 15 วัน แต่ อย่างใด ไม่ การ ที่ จำเลย จ่าย สินจ้าง แทน การบอกกล่าว ล่วงหน้า ให้ แก่ โจทก์ ทุกคน คนละ 8 วัน เมื่อ เลิกจ้างเป็น จำนวน เท่ากับ ค่าจ้าง ที่ โจทก์ แต่ ละ คน ได้ รับ ใน ระยะ เวลา 15 วัน จึง เป็น การ จ่าย สินจ้าง ใน ช่วง ระยะ เวลา คราว ถัดไป หนึ่งช่วง ตาม ข้อตกลง ระหว่าง โจทก์ จำเลย ซึ่ง มี ผล บังคับ ได้
พิพากษายืน.

Share