คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1186/2481

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การตีความในเอกสารอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินเหนือกฎหมาย พระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์จะทรงพระราช+าริห์จัดการทรัพย์มฤดกในพระราชวงศ์ของพระองค์+ถานใดย่อมเป็นการชอบด้วยกฎหมายและประเพณีนิยม+มีผลเด็ดขาดตามกฎหมาย+ที่เกี่ยวข้องแก่ทรัพย์มฤดกนั้น ๆ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม การทีผู้มีสิทธิได้รับมฤดกร่วมกับคนหนึ่งแสดงความยินยอมจะให้บุคคลอื่นเข้ามามีส่วนได้ในมฤดกรายนั้นด้วย โดยผู้รับมฤดกคนอื่นมิได้แสดงความยินยอมเช่นนั้น การยินยอมนี้ไม่มีผลในกฎหมายแต่ประการใด

ย่อยาว

คดีนี้จำเลยถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์เข้าจัดการทรัพย์ของผู้ล้มละลาย ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ขอให้เจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ใช้สิทธิเรียกร้องให้คณะกรรมการทรัพย์มฤดกกรมหมื่นพิชัย ฯ พระสามีของ ม.จ.วรรณวิไล ส่งส่วนได้ของ ม.จ.วรรณวิไลคือสินเดิม สินสมรสและมฤดกภาคภริยาต่อกองรักษาทรัพย์เพื่อจัดการชำระหนี้ต่อไป
เจ้าพนักงานรักษาทรัพย์สั่งยกคำร้องโดยเห็นว่า ม.จ.หญิงวรรณวิไลขาดสิทธิที่จะเรียกร้องเอาส่วนแบ่งทั้งสินเดิมและสินสมรสนั้นแล้ว
ศาลแพ่งและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม
ผู้ร้องฎีกา
ศาลฎีกาตัดสินว่าตามฎีกาข้อ ๑ เป็นเรื่องตีความในเอกสารลายพระราชหัตถ์ของรัชชกาลที่ ๕ ถึงกรมพระสมมต ฯ ในเรื่องจัดการทรัพยืมฤดกของกรมหมื่นพิชัย ฯ เอกสารฉะบับนี้แสดงให้เห็นว่าไม่มีพระราชประสงค์ให้แบ่งปันทรัพย์มฤดกให้ ม.จ.หญิงวรรณวิไล คงให้แต่ผู้อื่นเป็นผู้ดูแลรักษาทรัพย์มฤดกไว้ให้พระโอรสธิดาเท่านั้น อนึ่งเมื่อ ม.จ.หญิงวรรณวิไลทำหนังสือถวายรัชชกาลที่ ๗ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๔ ขอส่วนแบ่งในมฤดกรายนี้ในฐานเป็นพระชายา ก็ทรงให้กรมราชเลขาธิการแจ้งให้ ม.จ.หญิงวรรณวิไลทราบว่าไม่มีสิทธิจะได้รับมฤดกรายนี้แล้วที่ผู้ร้องฎีกาอ้างว่าพระราชดำริห์ของรัชชกาลที่ ๗ ไม่เป็นพระราชวินิจฉัยเด็ดขาดนั้นไม่ถูกต้อง เพราะในครั้งนั้นรัชชกาลที่ ๓ ทรงสมบูรณาญาสิทธิราช พระราชดำริใด+ย่อมเป็นการชอบด้วยกฎหมายและประเพณีจึงมีผลเด็ดขาดตามกฎหมาย ปัญหาอีกข้อหนึ่งที่ว่า พระธิดาของ ม.จ.หญิงวรรณวิไลซึ่งเป็นผู้มีสิทธิจะได้รับมฤดกรายนี้ได้มีจดหมายถึงคณะกรรมการจัดการมฤดกไม่คัดค้านในการที่ ม.จ.หญิงวรรณวิไลขอส่วนแบ่ง และยินยอมให้ได้ส่วนแบ่งตามกฎหมายซึ่งผู้ร้องอ้างว่าเป็นการที่ผู้มีสิทธิได้รับมฤดกสละสิทธิให้ ม.จ.หญิงวรรณวิไลรับมฤดกแทนนั้น เห็นว่ามฤดกรายนี้พระธิดามิได้มีสิทธิได้แต่ผู้เดียวยังมีพระโอรสอีกผู้หนึ่งมีสิทธิได้รับอยู่ด้วย การยินยอมเช่นนี้จึงไม่เป็นเหตุให้ ม.จ.หญิงวรรณวิไลยังเกิดสิทธิรับมฤดกตามกฎหมาย ทั้งพระธิดาก็มิได้ยินยอมให้แบ่งเอาจากส่วนได้ของตนโดยฉะเพาะ จึงไม่มีเหตุจะแบ่งได้ดังฎีกาของผู้ร้อง ในที่สุดพิพากษายืนตามให้ยกฎีกาของผู้ร้องเสีย

Share