คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1174/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา3โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คลงวันที่เท่าใดธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินในวันใดถึงแม้จะมิได้กล่าวว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเวลาใดก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5)เพราะเป็นที่เห็นได้ว่าปฏิเสธการจ่ายเงินในเวลากลางวันอันเป็นเวลาทำการของธนาคาร การที่จำเลยออกเช็คสองฉบับชำระหนี้ให้โจทก์คนเดียวก็ต้องถือว่าจำเลยมีเจตนาที่จะออกเช็คมิให้มีการชำระเงินตามเช็คในแต่ละฉบับอันเป็นการกระทำผิดสองกรรมต่างกัน.

ย่อยาว

คดี สอง สำนวน นี้ ศาลชั้นต้น รวม พิจารณา พิพากษา
โจทก์ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สอง สำนวน ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ทั้ง สอง ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา3 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว เห็นว่า คดี มี มูล ให้ ประทับฟ้องไว้ พิจารณา
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ทั้ง สอง สำนวน ให้การ ปฏิเสธ ศาลชั้นต้น พิจารณาแล้ว พิพากษา ว่า จำเลย ทั้งสอง ร่วมกัน ออกเช็คโดย เจตนา จะ มิให้ มี การ ใช้ เงิน ตาม เช็ค ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ใน คดีหมายเลขแดงที่ 1212/2526 ให้ ปรับ จำเลย ที่ 1 หนึ่งแสน บาท จำคุก จำเลย ที่ 2หนึ่ง ปี ใน คดีหมายเลขแดง ที่ 4169/2525 ให้ ปรับ จำเลย ที่ 1สี่หมื่น บาท จำคุก จำเลย ที่ 2 หนึ่ง ปี รวม ปรับ จำเลย ที่ 1หนึ่งแสนสี่หมื่น บาท จำคุก จำเลย ที่ 2 สอง ปี
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ทั้ง สอง สำนวน อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ทั้ง สอง สำนวน ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คง มี ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ว่าฟ้อง ของ โจทก์ ชอบ ด้วย กฎหมาย หรือไม่ และ การ กระทำ ของ จำเลย เป็นความผิด กรรมเดียว กัน หรือไม่ ใน ปัญหา ประการ แรก นั้น โจทก์ ได้กล่าว ไว้ ใน คำฟ้อง ทั้ง สอง สำนวน แล้ว ว่า จำเลย สั่ง จ่าย เช็คทั้ง สอง ฉบับ ลง วันที่ เท่าใด และ แต่ ละ ฉบับ นั้น ธนาคาร ปฏิเสธการ จ่าย เงิน ใน วันใด ถึงแม้ จะ มิได้ กล่าว ว่า ธนาคาร ปฏิเสธ การจ่าย เงิน เวลา ใด ก็ เป็น ที่ เห็น ได้ ทั่วไป ว่า ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน ใน เวลา กลางวัน อัน เป็น เวลา ทำการ ของ ธนาคาร ฟ้อง ของ โจทก์ทั้งสอง สำนวน จึง มี รายละเอียด เกี่ยวกับ เวลา พอ ที่ จะ ทำ ให้จำเลย เข้าใจ ข้อหา ได้ ดี ดัง ที่ กำหนด ไว้ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว สำหรับ ใน ปัญหาประการ ที่ สอง นั้น การ ที่ จำเลย ทั้งสอง ออก เช็ค สอง ฉบับ แม้ เช็คทั้ง สอง ฉบับ จะ ใช้ ชำระ หนี้ โจทก์ คนเดียว ก็ ตาม แต่ ก็ ต้องถือ ว่า จำเลย ทั้งสอง มี เจตนา ที่ จะ ออก เช็ค มิให้ มี การ ชำระเงิน ตาม เช็ค ใน แต่ ละ ฉบับ อัน เป็น การ กระทำ ผิด สอง กรรม ต่างกัน
พิพากษายืน

Share