คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยทั้งสองเป็นข้าราชการครูได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิค ร. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างต่อเติมวิทยาลัยอาชีวศึกษา ส. ซึ่งเป็นงานราชการของวิทยาลัยเทคนิค ร. จึงมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างปรับปรุงต่อเติมอาคารวิทยาลัย ส. ดูแลรักษาวัสดุที่เหลือใช้จากการก่อสร้างอาคารดังกล่าวเมื่อจำเลยทั้งสองให้ ก. นำเหล็กวัสดุที่เหลือใช้ไปเก็บไว้ที่ร้านของ ก. และให้ ก. เอาวัสดุดังกล่าวไปเสียเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ทั้ง สอง ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 90, 147, 157
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย ทั้ง สอง มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ให้ จำคุก คน ละ 1 ปี นอกจาก ที่ แก้ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ที่ โจทก์ จำเลย นำสืบ รับ กัน และไม่ โต้เถียง กัน ฟังได้ ว่า จำเลย ทั้ง สอง เป็น ข้าราชการ ครู ของวิทยาลัย เทคนิค ราชสิทธารามกอง วิทยาลัย เทคนิค กรมอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ จำเลย ที่ 1 เป็น หัวหน้าแผนก ช่าง ก่อสร้างและ เป็น ผู้บังคับบัญชา ของ จำเลย ที่ 2 เมื่อ วันที่ 28 พฤษภาคม 2524วิทยาลัย อาชีวศึกษา เสา วภาได้ ทำ สัญญา ว่าจ้าง วิทยาลัย เทคนิคราชสิทธารามทำการ ปรับปรุง ต่อเติม อาคาร วิทยาลัย อาชีวศึกษา เสา วภามี กำหนด ให้ แล้ว เสร็จ ภายใน วันที่ 27 พฤศจิกายน 2524 นาย วิชัย บัวสรวง ผู้อำนวยการ วิทยาลัย เทคนิค ราชสิทธารามทำ หนังสือ มอบหมาย ให้ จำเลย ที่ 1 หัวหน้าแผนก ก่อสร้าง เป็น ผู้รับผิดชอบ ใน การก่อสร้าง ทั้งหมด และ จำเลย ที่ 1 ได้ จัดตั้ง ทีม ผู้ ร่วม ปฏิบัติงานประกอบ ด้วย จำเลย ที่ 2 ซึ่ง เป็น ครู แผนก ก่อสร้าง เป็น ผู้ควบคุม การก่อสร้าง ใน การ ก่อสร้าง ดังกล่าว มี การ เขียน รูป แบบ รายการ เต็ม พื้นที่แต่ ไม่สามารถ ก่อสร้าง เต็ม ตาม รูป แบบ ได้ จึง มี การ ลด รูป แบบ ลง ทำให้วัสดุ ที่ วิทยาลัย เทคนิค ราชสิทธารามจัดซื้อ ไว้ สำหรับ การ ก่อสร้าง ตามรูป แบบ รายการ เดิม เหลือ ใช้ คือ เหล็ก ไลท์เกจขนาด 4 นิ้ว คูณ 4 นิ้วยาว 6 เมตร จำนวน 21 ท่อน หลังจาก วิทยาลัย เทคนิค ราชสิทธารามได้ ทำการ ก่อสร้าง เสร็จ และ ส่งมอบ งาน ให้ แก่ วิทยาลัย อาชีวศึกษา เสา วภาแล้ว ได้ มี ผู้ เขียน บัตรสนเท่ห์ ไป ถึง สำนักงาน คณะกรรมการ ป้องกัน และปราบปราม การทุจริต และ ประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ กล่าวหา ว่าเจ้าหน้าที่ วิทยาลัย เทคนิค ราชสิทธารามทุจริต ต่อหน้า ที่ นำ เหล็กไลท์เกจที่ เหลือ ใช้ จาก การ ก่อสร้าง ไป ขาย เอา เงิน เป็น ประโยชน์ ส่วนตัวเจ้าหน้าที่ สำนักงาน คณะกรรมการ ป้องกัน และ ปราบปราม การทุจริตและ ประพฤติ มิชอบ ใน วงราชการ ได้ มาตร วจสอบ ที่ วิทยาลัย เทคนิคราชสิทธารามก็ ไม่พบ เหล็ก ไลท์เกจดังกล่าว แต่ หลังจาก นั้นนาย เกรียงไกร จิตองอาจภักดี เจ้าของ ร้าน เกรียงไกรเทรดดิ้ง ได้ นำ เหล็ก ไลท์เกจขนาด 4 นิ้ว คูณ 4 นิ้ว ยาว 6 เมตร จำนวน 21 ท่อนมา คืน ให้ แก่ วิทยาลัย เทคนิค ราชสิทธาราม มี ปัญหา ตาม ฎีกา ของ จำเลยทั้ง สอง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ได้ กระทำ ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 หรือไม่ และ สมควร รอการลงโทษ ให้ จำเลย ทั้ง สอง หรือไม่คดี ฟังได้ ว่า จำเลย ทั้ง สอง เป็น ข้าราชการ ครู มี หน้าที่ ปฏิบัติ ราชการของ วิทยาลัย เทคนิค ราชสิทธาราม ได้รับ มอบหมาย จาก ผู้อำนวยการวิทยาลัย เทคนิค ราชสิทธาราม ซึ่ง เป็น ผู้บังคับบัญชา ของ จำเลย ทั้ง สองให้ มี หน้าที่ ควบคุม การ ก่อสร้าง ต่อเติม วิทยาลัย อาชีวศึกษา เสา วภาซึ่งเป็น งาน ราชการ ของ วิทยาลัย เทคนิค ราชสิทธารามจำเลย ทั้ง สอง จึง มีฐานะ เป็น เจ้าพนักงาน ผู้ มี หน้าที่ ควบคุม การ ก่อสร้าง ปรับปรุง ต่อเติมอาคาร วิทยาลัย อาชีวศึกษา เสา วภา ดูแล รักษา วัสดุ ที่ เหลือ ใช้ จากการก่อสร้างอาคาร ดังกล่าว และ จำเลย ทั้ง สอง ให้ นาย เกรียงไกร นำ เหล็ก ไลท์เกจขนาด 4 นิ้ว คูณ 4 นิ้ว ยาว 6 เมตร จำนวน 21 ท่อนอันเป็น วัสดุ ที่ เหลือ ใช้ ซึ่ง อยู่ ใน หน้าที่ ความ ดูแล รับผิดชอบ ของ จำเลยทั้ง สอง ไป เก็บ ไว้ ที่ ร้าน เกรียงไกรเทรดดิ้ง และ ให้ นาย เกรียงไกร เอา เหล็ก ดังกล่าว ไป เสีย ซึ่ง เป็น การปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ ทำให้เกิด ความเสียหาย แก่ กรมอาชีวศึกษา และ เป็น การ แสวงหา ประโยชน์ที่ มิควร ได้ เป็น การปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต เป็น ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า จำเลย ทั้ง สองมี ความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 นั้น ชอบแล้วฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น
ที่ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ขอให้ รอการลงโทษ นั้น เห็นว่า จำเลย ทั้ง สองรับ ราชการ ครู หน้าที่ หลัก ของ จำเลย ทั้ง สอง คือ การ สอน หนังสือ จำเลยทั้ง สอง ได้รับ แต่งตั้ง จาก ผู้บังคับบัญชา ให้ ร่วมกัน ปฏิบัติ หน้าที่ราชการ พิเศษ ใน การ ควบคุม การ ก่อสร้าง ต่อเติม อาคาร วิทยาลัย อาชีวศึกษาเสา วภา ปรากฏว่า งาน ควบคุม การ ก่อสร้าง ต่อเติม อาคาร ที่ จำเลยทั้ง สอง ได้รับ มอบหมาย ดังกล่าว สำเร็จ ลุล่วง ไป ด้วย ดี ที่ จำเลยทั้ง สอง ทุจริต ร่วมกัน เอา เหล็ก ไลท์เกจจำนวน 21 ท่อน ไป ขาย นั้นก็ ปรากฏว่า เหล็ก ไลท์เกจดังกล่าว เป็น เหล็ก ไลท์เกจที่ เหลือ จาก การก่อสร้าง ต่อเติม อาคาร และ มี ราคา ไม่มาก พฤติการณ์ แห่ง การกระทำ ผิดจึง ไม่ ร้ายแรง เมื่อ คำนึง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ต่าง รับ ราชการ มาโดย ไม่มี เรื่อง เสื่อมเสีย มา ก่อน อีก ทั้ง จำเลย ที่ 2 ก็ มี อายุ ถึง 60ปี แล้ว สมควร ที่ จะ ให้ โอกาส จำเลย ทั้ง สอง กลับ ตัว เป็น พลเมือง ดีโดย การ รอการลงโทษ จำคุก ให้ จำเลย ทั้ง สอง ที่ ศาลอุทธรณ์ ลงโทษ จำเลยทั้ง สอง โดย ไม่รอการลงโทษ จำคุก ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วย ฎีกา จำเลยทั้ง สอง ข้อ นี้ ฟังขึ้น แต่ เพื่อ ให้ จำเลย หลา บจำ จึง เห็นสมควร ลงโทษปรับ ด้วย ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ ปรับ จำเลย ทั้ง สอง คน ละ 10,000 บาท อีก สถานหนึ่ง โทษ จำคุก ให้ รอการลงโทษ ไว้ มี กำหนด 2 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 ไม่ชำระ ค่าปรับ ให้ จัดการ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29, 30 นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share