แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ภารจำยอมในเรื่องทางเดินเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง กฎหมายเพิ่งเล็งถึงความสำคัญของที่ดินไม่ใช่ส่วนตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของ
ตอนแรกโจทก์ที่ 1 เช่าที่ดินซึ่งเป็นสามนทรัพย์ปลูกบ้านอยู่ และโจทก์ที่ 2 เช่าบ้านอีกหลังหนึ่งอยู่ในที่ดินนั้นด้วย ระหว่างนั้นโจทก์ทั้งสองใช้ทางพิพาทเดินเข้าออกสู่ทางสาธารณะเรื่อยมา ตอนหลังโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินนั้นและก็คงใช้ทางพิพาทเดินตลอดมา เมื่อรวมระยะเวลาทั้ง 2 ตอน เกิน 10 ปี โจทก์ย่อมได้ภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภารจำยอมซึ่งโจทก์ได้มาโดยอายุความ
จำเลยต่อสู้ว่า โจทก์ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เป็นสามยทรัพย์ยังไม่ถึง ๑๐ ปี
ศาลแพ่งชี้สองสถานโจทก์รับว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองเดิมเป็นของหม่อมเจ้าสุริยธัชรังสรรค์ เป็นที่ดินแปลงใหญ่ติดถนนสาธารณ เจ้าของเดิมใช้ทางเดินเข้าออกที่สาธารณไม่ได้ใช้ทางพิพาท โจทก์ทั้งสองได้ซื้อที่นี้มาส่วนหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๕ แต่ก่อนที่จะซื้อที่มาเป็นกรรมสิทธิ์ โจทก์ที่ ๑ เช่าที่นี้ปลูกบ้านอยู่ โจทก์ที่ ๒ เช่าบ้านอยู่ในที่นี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้ใช้เดินทางพิพาทตั้งแต่นั้นตลอดมา
ศาลแพ่งเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว ให้งดสืบพยานทั้ง ๒ ฝ่ายแล้ววินิจฉัยว่า การได้มาซึ่งภารจำยอมนั้น ต้องเป็นเรื่องที่เจ้าของสามยทรัพย์ใช้สิทธิเหนือภารยทรัพย์ แต่โจทก์รับว่า เจ้าของสามยทรัพย์เดิมไม่ได้ใช้สิทธิเหนือภารยทรัพย์เลย จนกระทั่งที่ดินตกมาเป็นของโจทก์ จึงถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ใช้สิทธิเหนือภารยทรัพย์ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๕ ซึ่งยังไม่ถึง ๑๐ ปี โจทก์จึงไม่ได้ภารจำยอมโดยอายุความ การที่โจทก์ใช้สิทธิเดินทาางพิพาทมาก่อนเป็นเจ้าของตั้งแต่เมื่อเช่าที่นี้อยู่ พ.ศ. ๒๔๘๙ นั้น จะถือว่าโจทก์ใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ไม่ได้ ทางพิพาทยังไม่ตกเป็นภารจำยอมของโจทก์ พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า รูปคดีต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป จึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นสืบพยานตามประเด็น แล้วพิพากษาใหม่
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่า ภารจำยอมในเรื่องทางเดิน เป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๘๗,๑๓๘๘ กฎหมายเพ่งเล็งถึงความสำคัญของที่ที่ดิน ไม่ใช่ส่วนตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของ คดีนี้แม้โจทก์จะรับว่าเจ้าของที่ดินเดิมที่โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นสามนทรัพย์ไม่ได้ใช้ทางพิพาทโดยเข้าออกที่พิพาททางที่ติดที่สาธารณ แต่โจทก์ที่ ๑ อ้างว่า โจทก์ได้เช่าที่แปลงนี้ปลูกบ้านอยู่และโจทก์ที่ ๒ เช่าบ้านอยู่ในที่นี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ และใช้ทางพิพาทเดินเขาออกไปสู่ถนนหรือทางสาธารณตั้งแต่นั้นมาจนโจทก์ซื้อที่ดินแปลงนี้มาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ก็ยังคงใช้ทางพิพาทเดินตลอดมา เห็นได้ว่าที่ดินแปลงของจำเลยได้มีทางเดินเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแปลงของโจทก์มาเกินกว่า ๑๐ ปีแล้ว แม้เจ้าของเดินจะไม่ได้ใช้ทางเดินนี้ แต่ใช้ทางอื่น โจทก์ผู้เช่าที่ดินและบ้านอยู่ในที่ดินใช้ทางเดินรายพิพาทโดยไม่มีใครห้ามปรามและไม่ต้องรับอนุญาตจากใคร ก็เกิดภารจำยอมโดยอายุความได้สิทธิตามมาตรา ๑๔๐๑ ได้ ไม่จำเป็นว่าเจ้าของที่ดินเดิมต้องเดินเองดังที่โจทก์ฎีกา เพราะการที่โจทก์ผู้เช่าอยู่เดิน
ก็เกิดผลให้ที่ดเนแปลงของโจทก์ครั้งเจ้าของเดิมได้รับประโยชน์จากที่ดินแปลงของจำเลยเช่นเดียวกัน และบัดนี้ โจทก์ได้ซื้อที่ดินแปลงนี้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ และใช้ทางพิพาทเดินตลอดมา โจทก์ย่อมอาจได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินแปลงของจำเลยอันเป็นภารยทรัพย์ตามที่โจทก์กล่าวอ้างได้
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์