คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

ตามคำสั่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอาศัยอำนาจตามมาตรา54แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ.2520สั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้ให้แก่จำเลยเท่าที่เหลืออยู่ตามบัตรส่งเสริมตั้งแต่วันที่28พฤศจิกายน2532ซึ่งเป็นการเพิกถอนสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับภาษีอากรที่ได้ให้แก่จำเลยบางส่วนดังนั้นแม่พิมพ์และวัตถุดิบที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ครั้งแรกถึงครั้งที่12ซึ่งอยู่ในช่วงก่อนวันที่28พฤศจิกายน2532ย่อมได้รับยกเว้นภาษีอากรตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ.2520มาตรา55วรรคสอง

ย่อยาว

เจ้าหนี้ ยื่น คำขอ รับชำระหนี้ ค่าภาษีอากร จำนวน 1,269,037 บาทจาก กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้
เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ นัด ตรวจ คำขอ รับชำระหนี้ ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 104 แล้ว ไม่มี ผู้ใดโต้แย้ง คำขอ รับชำระหนี้ ของ เจ้าหนี้ ราย นี้
เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ สอบสวน แล้ว เห็นควร ให้ยก คำขอ รับชำระหนี้ ของ เจ้าหนี้ เสีย ทั้งสิ้น ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 107(1)
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง ให้ยก คำขอ รับชำระหนี้ ของเจ้าหนี้ ตาม ความเห็น ของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า อนุญาต ให้ เจ้าหนี้ ได้รับชำระหนี้ จำนวน 233,348 บาท จาก กอง ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 107(3), 130(6)
เจ้าหนี้ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง ซึ่ง คู่ความ ไม่ได้ โต้แย้ง กันรับฟัง ได้ว่า บริษัท ลูกหนี้ ได้รับ การ ส่งเสริมการลงทุน ได้รับ สิทธิและ ประโยชน์ โดย ได้รับ ยกเว้น อากร ขาเข้า และ ภาษีการค้า สำหรับเครื่องจักร วัตถุดิบ และ วัสดุ จำเป็น ที่ ต้อง นำเข้า จาก ต่างประเทศเพื่อ ใช้ ใน การ ผลิต เพื่อ การ ส่งออก เป็น เวลา 5 ปี นับแต่ วันที่นำเข้า ครั้งแรก หลังจาก ได้รับ บัตร ส่งเสริม แล้ว ลูกหนี้ ได้ นำแม่พิมพ์ และ วัตถุดิบ เข้า มา ใน ราชอาณาจักร รวม 13 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2531 ครั้งสุดท้าย เมื่อ วันที่ 19 ธันวาคม2532 ต่อมา เมื่อ วันที่ 5 ตุลาคม 2535 คณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุนได้ มี คำสั่ง เพิกถอน สิทธิ และ ประโยชน์ ที่ ได้ ให้ แก่ ลูกหนี้ เท่าที่เหลือ อยู่ ตาม บัตร ส่งเสริม ตั้งแต่ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2532
คดี มี ปัญหา ว่า เจ้าหนี้ มีสิทธิ ได้รับ ชำระหนี้ ค่าภาษีอากรสำหรับ สินค้า ที่ ลูกหนี้ นำเข้า มา ใน ราชอาณาจักร ก่อน วันที่ 28พฤศจิกายน 2532 หรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 54 วรรคแรก บัญญัติ ว่า “ใน กรณี ที่ผู้ได้รับ การ ส่งเสริม ฝ่าฝืน หรือไม่ ปฏิบัติ ตาม เงื่อนไข ที่ คณะกรรมการกำหนด ให้ คณะกรรมการ มีอำนาจ สั่ง เพิกถอน สิทธิ และ ประโยชน์ ที่ ได้ให้ แก่ ผู้ได้รับ การ ส่งเสริม ทั้งหมด หรือ บางส่วน โดย จะ กำหนด ระยะเวลาไว้ ด้วย หรือไม่ ก็ ได้ ” และ มาตรา 55 วรรคสอง บัญญัติ ว่า “ใน กรณี ที่คณะกรรมการ สั่ง เพิกถอน สิทธิ และ ประโยชน์ เกี่ยวกับ ภาษีอากร สำหรับของ ที่ นำเข้า หรือ ส่งออก บางส่วน ให้ ถือว่า ผู้ได้รับ การ ส่งเสริมได้รับ ยกเว้น หรือ ลดหย่อน ภาษีอากร มา แต่ ต้น เพียง เท่าที่ ตน ยัง คงได้รับ สิทธิ และ ประโยชน์ อยู่ และ ให้ เสีย ภาษีอากร ตาม ส่วน ที่ ได้ถูก เพิกถอน จน ครบถ้วน โดย ถือ สภาพ ของ ราคา และ อัตรา ภาษีอากร ที่ เป็น อยู่ใน วัน นำเข้า หรือ ส่งออก เป็น เกณฑ์ ใน การ คำนวณ ภาษีอากร ” ตาม คำสั่งคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน ที่ พ.105/2535 คณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน อาศัย อำนาจ ตาม มาตรา 54 แห่ง พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการลงทุนพ.ศ. 2520 สั่ง เพิกถอน สิทธิ และ ประโยชน์ ที่ ได้ ให้ แก่ จำเลย เท่าที่เหลือ อยู่ ตาม บัตร ส่งเสริม ตั้งแต่ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2532ซึ่ง เป็น การ เพิกถอน สิทธิ และ ประโยชน์ เกี่ยวกับ ภาษีอากร ที่ ได้ ให้ แก่จำเลย บางส่วน ดังนั้น แม่พิมพ์ และ วัตถุดิบ ที่ จำเลย นำเข้า มา ในราชอาณาจักร ตั้งแต่ ครั้งแรก ถึง ครั้งที่ 12 ซึ่ง อยู่ ใน ช่วง ก่อนวันที่ 28 พฤศจิกายน 2532 ย่อม ได้รับ ยกเว้น ภาษีอากร ตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 55 วรรคสอง เจ้าหนี้ ไม่มี สิทธิได้รับ ชำระหนี้ ค่าภาษีอากร ใน ส่วน นี้
พิพากษายืน

Share