แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
การให้อนุญาตของสามีตาม ม.38 นั้นจะต้องให้ไว้โดยชัดแจงโดยความทั่ว ๆ ไปหรือเกี่ยวแก่ทรัพย์รายใด โดยฉะเพาะจะอนุมานเอาจากความประพฤตติของสามีอันเกี่ยวแก่นิติกรรมรายอื่นที่ภรรยาได้กระทำไปแล้วนั้นไม่ได้ สามีจะต้องได้กระทำไปโดยสุจริตจึงจะใช้สิทธิบอกล้างนิติกรรมอันเกี่ยวแก่สินบริคณห์ที่ภรรยาได้กระทำไปโดยมิได้รับอนุญาตจากสามี นันได้จำนอง ผู้รับจำนองได้รับจำนองสินบริคณห์จากหญิงมีสามีโดยมิได้สอบสาวนถึงสภาพแห่งทรัพย์สินนั้นย่อมต้องเสี่ยงภัยในการจำนองนั้นอาจถูกแสดง+เป็นโมฆะความประพฤตติของสามีเปิด+กาศให้ภรรยาทำให้บุคคล 3 หลงเข้าใจผิดในการที่ภรรยาทำนิติกรรมเกี่ยวแก่สินบริคณห์แล้ว สามีบอกล้างนิติกรรมนั้นไม่ได้ +ในโฉนด ที่ดิน การที่มีชื่อภรรยาในโฉนดที่ดินอันเป็นสินบริคณห์เป็นแต่เพียงให้เกิดข้อสันนิษฐานว่าภรรยามีกรรมสิทธิ
ย่อยาว
ได้ความว่าที่ดินรายพิพาทเป็นสินบริคณห์มีชื่อภรรยาโจทก์ในโฉนด ภรรยาโจทก์ได้เอาไปจำนองผู้อื่นไว้ ต่อมาโจทก์ได้ไถ่ที่ดินนั้นมาแล้ว และยังคงยินยอมปล่อยให้โฉนดอยู่ในความครอบครองของภรรยาทั้งที่รู้ว่าภรรยาตนเป็นคนชอบเล่นการพะนัน ภายหลังภรรยาได้นำที่ดินนั้นไปจำนองไว้แก่บริษัทจำเลยเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๓ อีก เมื่อโจทก์ทราบโจทก์ได้มีหนังสือถึงบริษัทจำเลยลงวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๕ บอกล้างนิติกรรมที่ภรรยาได้ทำไว้ โดยอ้างเหตุว่าภรรยามิได้รับอนุญาตให้เอาที่ดินนั้นไปจำนองแล้วโจทก์จึงได้ยื่นฟ้องจำเลยในคดีนี้ ขอให้ศาลสั่งถอนสัญญาจำนองนั้นเสีย
ศาลต่างประเทศตัดสินให้บริษัทจำเลยโอนกรรมสิทธิที่ดินในโฉนดกลับคืนให้ภรรยาโจทก์
ศาลอุทธรณ์ตัดสินกลับศาลเดิมให้ยกฟ้องโจทก์
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ม.๓๘ แห่งประมวลแพ่ง จักต้องตีความไปในทางที่มีความว่าถ้าหญิงมีสามีจำนองทรัพย์สินบริคณห์โดยมิได้รับอนุญาตจากสามีการจำนองนั้นเป็นโมฆียะ และการอนุญาตของสามีตามมาตรา ๓๘ นั้นจะต้องให้ไว้โดยแจ้งชัดโดยความทั่ว ๆ ไปหรือเกี่ยวแก่ทรัพย์รายใดโดยฉะเพาะ จะอนุมานเอาจากความประพฤติ์ของสามีอันเกี่ยวแก่การจำนองรายอื่นที่ภรรยาได้กระทำไปนั้นไม่ได้ อนึ่งการที่มีชื่อภรรยาในโฉนดเป็นแต่เพียงให้เกิดข้อสันนิษฐานว่าภรรยามีกรรมสิทธิ เมื่อพิศูจน์ได้ว่าที่ดินเป็นสินบริคณห์ ผู้รับจำนองซึ่งมิได้สืบสวนว่าเป็นสินบริคณห์หรือไม่นั้น ย่อมเข้าเสี่ยงภัยในข้อที่การจำนองนั้นอาจถูกแสดงว่าเป็นโมฆะ แต่เห็นว่าเมื่อความประพฤติ์ของโจทก์เปิดโอกาศให้ภรรยาทำให้บุคคลภายนอกหลงเข้าใจผิดแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะมาร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ภรรยาได้กระทำไปเพราะโจทก์มิได้กระทำไปโดยสุจริต จึงตัดสินยืนตามศาลอุทธรณ์