แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518ได้ให้บทนิยามคำว่า”วัตถุตำรับ”หมายความว่าสิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่มีวัตถุออกฤทธิ์รวมอยู่ด้วยทั้งนี้รวมทั้งวัตถุออกฤทธิ์ที่มีลักษณะเป็นวัตถุสำเร็จรูปทางเภสัชกรรมซึ่งพร้อมที่จะนำไปใช้แก่คนหรือสัตว์ได้นอกจากนั้นในมาตรา59ยังได้บัญญัติว่า”ให้ถือว่าวัตถุตำรับที่มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทหนึ่งประเภทใดปรุงผสมอยู่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทนั้นด้วย”จึงเป็นที่เห็นได้ว่าวัตถุออกฤทธิ์ในความหมายดังกล่าวนั้นนอกจากหมายถึงวัตถุออกฤทธิ์โดยเฉพาะแล้วยังหมายรวมถึงสิ่งปรุงไม่ว่าจะมีรูปร่างลักษณะใดที่มีวัตถุออกฤทธิ์ปรุงผสมอยู่ด้วย ในระหว่างพิจารณารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่85(พ.ศ.2536)ซึ่งบังคับใช้อยู่ขณะเกิดเหตุและกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1หรือประเภท2เมื่อคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วสำหรับ เมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกิน0.500กรัมเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าวัตถุออกฤทธิ์ของกลางน้ำหนักรวม105.10กรัมคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ปริมาณเกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนดหรือไม่จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106ทวิเพราะประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)เป็นคุณแก่จำเลยทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา3การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106วรรคหนึ่งเท่านั้น ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่92(พ.ศ.2538)ไม่มีผลถึงความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ไว้ในครอบครองเพื่อขายตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา13ทวิวรรคหนึ่ง,89เพราะความผิดฐานนี้ไม่ได้กำหนดปริมาณของวัตถุออกฤทธิ์อันจะเป็นความผิดไว้ เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา89ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วก็ไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา106วรรคหนึ่งซึ่งเป็นบททั่วไปอีกปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้รวมทั้งกำหนดโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา89ซึ่งศาลล่างทั้งสองมิได้กำหนดไว้ได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย มี เมทแอมเฟตามีน อันเป็น วัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท 2 จำนวน 1,510 เม็ด น้ำหนัก 105.10 กรัม ซึ่ง มีน้ำหนัก เกินกว่า ปริมาณ 0.500 กรัม ตาม ประกาศ ของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข ไว้ ใน ครอบครอง เพื่อ ขาย ขอให้ ลงโทษตาม พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 4, 6, 13 ทวิ , 62, 89, 106, 106 ทวิ , 116 และ ขอให้ริบ เมทแอมเฟตามีน ของกลาง
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตามพระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 4,6, 13 ทวิ วรรคหนึ่ง , 62 วรรคหนึ่ง , 89, 106, 106 ทวิ การกระทำของ จำเลย เป็น กรรมเดียว ผิด กฎหมาย หลายบท แต่ โทษ ตาม มาตรา 89 และ106 ทวิ มี อัตราโทษ เท่ากัน จึง ให้ ลงโทษ ตาม มาตรา 106 ทวิเพียง มาตรา เดียว จำคุก 6 ปี จำเลย ให้การรับสารภาพ ใน ชั้น จับกุมเป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา อยู่ บ้าง มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่ง ใน สาม คง จำคุก จำเลย มี กำหนด4 ปี ริบ เมทแอมเฟตามีน ของกลาง
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อ จิตและ ประสาท พ.ศ. 2518 ได้ ให้ บทนิยาม คำ ว่า “วัตถุ ตำ รับ “หมายความ ว่า สิ่ง ปรุง ไม่ว่า จะ มี รูป ลักษณะ ใด ที่ มี วัตถุ ออกฤทธิ์รวม อยู่ ด้วย ทั้งนี้ รวมทั้ง วัตถุ ออกฤทธิ์ ที่ มี ลักษณะ เป็นวัตถุ สำเร็จรูป ทาง เภสัช กรรม ซึ่ง พร้อม ที่ จะ นำ ไป ใช้ แก่ คน หรือสัตว์ ได้ นอกจาก นั้น ใน มาตรา 59 แห่ง พระราชบัญญัติ ดังกล่าว ข้างต้นยัง ได้ บัญญัติ ว่า “ให้ ถือว่า วัตถุ ตำ รับ ที่ มี วัตถุ ออกฤทธิ์ ในประเภท หนึ่ง ประเภท ใด ปรุง ผสม อยู่ เป็น วัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท นั้น ด้วย “จึง เป็น ที่ เห็น ได้ว่า วัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ความหมาย ดังกล่าว นั้น นอกจากหมายถึง วัตถุ ออกฤทธิ์ โดยเฉพาะ แล้ว ยัง หมาย รวม ถึง สิ่ง ปรุง ไม่ว่าจะ มี รูป ลักษณะ ใด ที่ มี วัตถุ ออกฤทธิ์ ปรุง ผสม อยู่ ด้วย
ใน ระหว่าง พิจารณา รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุขได้ ออก ประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ. 2538) เรื่อง กำหนดปริมาณ การ มีไว้ ใน ครอบครอง หรือ ใช้ ประโยชน์ ซึ่ง วัตถุ ออกฤทธิ์ใน ประเภท 1 หรือ ประเภท 2 ตาม ความใน พระราชบัญญัติ วัตถุที่ ออกฤทธิ์ ต่อ จิต และ ประสาท พ.ศ. 2518 ให้ยก เลิก ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 85 (พ.ศ. 2536) เรื่อง กำหนด ปริมาณการ มีไว้ ใน ครอบครอง หรือ ใช้ ประโยชน์ ซึ่ง วัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท 1หรือ ประเภท 2 ซึ่ง บังคับ ใช้ อยู่ ขณะ เกิดเหตุ และ กำหนด การ มีไว้ใน ครอบครอง หรือ ใช้ ประโยชน์ ซึ่ง วัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท 1 หรือประเภท 2 เมื่อ คำนวณ เป็น สาร บริสุทธิ์ แล้ว สำหรับ เมทแอมเฟตามีน ต้อง ไม่เกิน 0.500 กรัม เมื่อ ข้อเท็จจริง ไม่ปรากฏ ว่า วัตถุ ออกฤทธิ์ของกลาง น้ำหนัก รวม 105.10 กรัม คำนวณ เป็น สาร บริสุทธิ์ได้ ปริมาณ เกินกว่า ที่ รัฐมนตรี กำหนด หรือไม่ จำเลย จึง ไม่มี ความผิดตาม พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 106 ทวิ เพราะ ประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 92(พ.ศ. 2538) เป็น คุณ แก่ จำเลย ทั้งนี้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3การกระทำ ของ จำเลย ใน ส่วน นี้ จึง เป็น ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ วัตถุที่ ออกฤทธิ์ ต่อ จิต และ ประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 106 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
ประกาศกระทรวง สาธารณสุข ดังกล่าว ไม่มี ผล ถึง ความผิดฐาน มี วัตถุ ออกฤทธิ์ ใน ประเภท 2 ไว้ ใน ครอบครอง เพื่อ ขายตาม พระราชบัญญัติ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง , 89 เพราะ ความผิด ฐาน นี้ ไม่ได้ กำหนด ปริมาณของ วัตถุ ออกฤทธิ์ อัน จะ เป็น ความผิด ไว้
เมื่อ การกระทำ ของ จำเลย เป็น ความผิด ตาม มาตรา 89ซึ่ง เป็น บทเฉพาะ แล้ว ก็ ไม่จำต้อง ปรับ บทลงโทษ ตาม มาตรา 106 วรรคหนึ่งซึ่ง เป็น บท ทั่วไป อีก ปัญหา นี้ แม้ คู่ความ ไม่ได้ ฎีกา ขึ้น มา ศาลฎีกาก็ มีอำนาจ แก้ไข ให้ ถูกต้อง ได้ รวมทั้ง กำหนด โทษ จำเลย ใน ความผิดตาม มาตรา 89 ซึ่ง ศาลล่าง ทั้ง สอง มิได้ กำหนด ไว้ ได้
พิพากษาแก้ เป็น ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง ,89 จำคุก 6 ปี จำเลย ให้การรับสารภาพ ใน ชั้น จับกุม เป็น ประโยชน์ แก่การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 หนึ่ง ใน สาม คง จำคุก 4 ปี ข้อหา ตาม มาตรา 106 ทวิให้ยก ฟ้อง นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 3