แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
จำเลยที่5ซึ่งเป็นลูกหนี้ได้ชำระหนี้โดยระบุด้านหลังเช็คทุกฉบับไว้ชัดว่าให้นำไปชำระหนี้ตามคดีกลุ่มที่พิพากษาในปี2526ทั้งสามสำนวนในคดีนี้โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์คัดค้านแต่ประการใดการที่โจทก์นำเงินจำนวนตามเช็คดังกล่าวไปเฉลี่ยชำระหนี้ของจำเลยที่5ตามคดีกลุ่มที่พิพากษาในปี2528ซึ่งเป็นหนี้รายอื่นนอกจากที่จำเลยที่5ระบุไว้จึงเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา328วรรคหนึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิกระทำได้
ย่อยาว
คดี สืบเนื่อง มาจาก ศาล มี คำพิพากษาถึงที่สุด ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2และ ที่ 3 ชำระหนี้ จำนวน 35,587,397.93 บาท และ 31,287,526.34 บาทและ 8,303,611.04 บาท ตามลำดับ พร้อม ดอกเบี้ย และ ค่าฤชาธรรมเนียมให้ แก่ โจทก์ โดย ให้ จำเลย ที่ 4 ที่ 5 และ ที่ 6 ร่วมรับผิด อย่าง ลูกหนี้ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 จำเลย ทั้ง หก ไม่ชำระ หนี้ ตามคำพิพากษา โจทก์ ได้ นำ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ยึดทรัพย์ ของ จำเลย ที่ 5รวม 6 รายการ ได้ แก่ 1. หุ้น ใน ธนาคาร เอเซีย จำกัด จำนวน 187,833 หุ้น 2. ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 2254 แขวง สามแยก 3. ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 12490 แขวง สัมพันธวงศ์ 4. ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 826 แขวง บ้านทวาย พร้อม สิ่งปลูกสร้าง 5. ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 2490 แขวง บางรัก 6. ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 2147 แขวง บางรัก อันเป็น ทรัพย์สิน ของ จำเลย ที่ 5 เพื่อ ชำระหนี้ ตาม คำพิพากษา คดี ทั้ง สาม สำนวน นี้
จำเลย ที่ 5 ยื่น คำร้อง ว่า ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง หกชำระหนี้ แก่ โจทก์ ต่อมา โจทก์ ได้ ยึดทรัพย์ พิพาท ของ จำเลย ที่ 5 ทั้ง หกรายการ จำเลย ที่ 5 ผ่อนชำระ หนี้ ให้ แก่ โจทก์ จน ครบ ตาม คำพิพากษาทั้ง สาม สำนวน นี้ แล้ว ได้ แจ้ง แก่ โจทก์ ให้ ถอน การ ยึดทรัพย์ พิพาท ทั้ง หกรายการ แต่ โจทก์ เพิกเฉย ขอให้ มี คำสั่ง ให้ โจทก์ ถอน การ ยึดทรัพย์ พิพาททั้ง หก รายการ ถ้า โจทก์ ไม่ ถอน การ ยึด ให้ ศาล แจ้ง คำสั่ง ไป ยังเจ้าพนักงาน บังคับคดี เพื่อ ถอน การ ยึด
โจทก์ ยื่น คำคัดค้าน ว่า จำเลย ทั้ง หก ชำระหนี้ แก่ โจทก์ ยัง ไม่ครบถ้วน ตาม คดี ทั้ง สาม สำนวน นี้ (กลุ่ม คดี ที่ พิพากษา ใน ปี 2526) และจำเลย ที่ 5 ยัง ได้ ตกลง กับ โจทก์ ว่า หาก โจทก์ ยึดทรัพย์ จำนอง ที่จำเลย ที่ 5 กับพวก เป็น หนี้ ตาม คำพิพากษา คดี หมายเลขแดง ที่ 10875 ถึง10877/2528 (กลุ่ม คดี ที่ พิพากษา ใน ปี 2528) ออก ขายทอดตลาดได้ เงิน ไม่พอ ชำระหนี้ ครบถ้วน ยินยอม ให้ โจทก์ ขายทอดตลาด ทรัพย์พิพาททั้ง หก รายการ เพื่อ ชำระ อีก ด้วย แต่ ขณะ นี้ ยัง ไม่มี การ บังคับ ขายทอดตลาดทรัพย์ จำนอง ใน กลุ่ม คดี ที่ พิพากษา ใน ปี 2528 จำเลย ที่ 5 จึงไม่มี สิทธิ ขอให้ มี คำสั่ง ให้ โจทก์ ถอน การ ยึดทรัพย์ ทั้ง หก รายการ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง ให้ ถอน การ ยึด หุ้น ธนาคาร เอเซีย จำกัด จำนวน 187,833 หุ้น ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 2254แขวง สามแยก เขต สัมพันธวงศ์ (สามเพ็ง) กรุงเทพมหานคร ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 12490 แขวง สัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 826 แขวง บ้านทวาย เขตบ้านทวาย (บางรัก) กรุงเทพมหานคร พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 2490 แขวง บางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร และ ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 2147 แขวง บางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ซึ่ง จำเลย ที่ 5 มี ชื่อ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ โดย ให้ โจทก์ รับผิด ในค่าธรรมเนียม ยึด ไม่มี การ ขาย
โจทก์ อุทธรณ์ ทั้ง สาม สำนวน
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา ทั้ง สาม สำนวน พร้อม ยื่น คำร้องขอ คุ้มครอง ประโยชน์ระหว่าง พิจารณา ของ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า มาตรา 328 วรรคหนึ่ง ได้ บัญญัติ ไว้โดยเฉพาะ ว่า “ถ้า ลูกหนี้ ต้อง ผูกพัน ต่อ เจ้าหนี้ ใน อัน จะ กระทำการเพื่อ ชำระหนี้ เป็น การ อย่างเดียว กัน โดย มูลหนี้ หลาย ราย และ ถ้าการ ที่ ลูกหนี้ ชำระหนี้ นั้น ไม่ เพียงพอ จะ เปลื้อง หนี้สิน ได้ หมด ทุก รายไซร้ เมื่อ ทำการ ชำระหนี้ ลูกหนี้ ระบุ ว่า ชำระหนี้ สิน ราย ใด ก็ ให้หนี้สิน ราย นั้น เป็น อัน ได้ ปลดเปลื้อง ไป ” ดังนั้น เมื่อ ข้อเท็จจริง ในคดี นี้ จำเลย ที่ 5 ซึ่ง เป็น ลูกหนี้ ได้ ชำระหนี้ โดย ระบุ ด้านหลัง เช็คทุก ฉบับ ไว้ ชัด ว่า ให้ นำ ไป ชำระหนี้ ตาม คดี กลุ่ม ที่ พิพากษา ใน ปี 2526ทั้ง สาม สำนวน ใน คดี นี้ ทั้ง ไม่ปรากฏ ตาม ทางนำสืบ ของ โจทก์ ว่าโจทก์ ได้ คัดค้าน ข้อความ ด้านหลัง เช็ค ที่ จำเลย ที่ 5 ได้ ระบุ ไว้แต่ ประการใด การ ที่ โจทก์ นำ เงิน จำนวน ตามเช็ค ดังกล่าว ไป เฉลี่ยชำระหนี้ ของ จำเลย ที่ 5 ตาม คดี กลุ่ม ที่ พิพากษา ใน ปี 2528 ซึ่ง เป็น หนี้ราย อื่น นอกจาก ที่ จำเลย ที่ 5 ได้ ระบุ ไว้ จึง เป็น การ ขัด ต่อ กฎหมายโจทก์ ไม่มี สิทธิ กระทำ ได้
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก คำขอ ที่ ขอให้ ถอน การ ยึด หุ้น อันเป็น ทรัพย์ รายการ ที่ 1 เสีย นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์