แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
มารดาเป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารได้มอบหมายให้บุตร (อายุ 27 ปี) เป็นตัวแทนในการรับขนส่งผู้โดยสาร เก็บผลประโยชน์ให้แก่มารดา แม้มารดาจะมิใช้นายจ้างของบุตร แต่เมื่อบุตรขับรถโดยประมาททำให้รถคว่ำและผู้โดยสารบาดเจ็บ ก็เป็นการกระทำละเมิดในการเป็นตัวแทนของมารดา มารดาจึงต้องรับผิดร่วมด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427
ย่อยาว
คดีได้ความว่า จำเลยที่ ๒ เป็นเจ้าของรถโดยสารอันมีนางสาวสำราญบุตรโจทก์เป็นผู้โดยสารมา โดยจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นบุตรจำเลยที่ ๒ เป็นผู้ขับด้วยความประมาททำให้รถคว่ำและนางสาวสำราญถูกรถทับบาดเจ็บ และในการที่จำเลยที่ ๑ ขับรถของจำเลยที่ ๒ นี้ก็เพื่อเก็บผลประโยชน์ส่งให้แก่จำเลยที่ ๒ ด้วย เมื่อจำเลยที่ ๑ ได้ทำละเมิดขึ้น และการทำละเมิดของจำเลยที่ ๑ ได้กระทำโดยการขับรถยนต์รับส่งผู้โดยสารเพื่อเก็บประโยชน์แทนตามที่จำเลยที่ ๒ มอบหมาย จึงเป็นการละเมิดในการเป็นตัวแทนของจำเลยที่ ๒ ๆ ต้องรับผิดร่วมด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๗ ซึ่งให้บทบัญญัติอันเกี่ยวกับนายจ้างลูกจ้าง คือ มาตรา ๔๒๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในประเด็นเรื่องความรับผิดของจำเลยที่ ๒ นั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้จำเลยที่ ๒ จะมิใช่นายจ้างของจำเลยที่ ๑ แต่จำเลยที่ ๒ ก็มิได้เป็นแต่เพียงผู้ใช้ให้จำเลยที่ ๑ ขับรถยนต์เท่านั้น จำเลยที่ ๒ ได้มอบหมายให้จำเลยที่ ๑ เป็นตัวแทนจำเลยที่ ๒ ในการรั