แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
จับปลาในบ่อซึ่งอยู่ที่+ของตนเองโดยไม่มีทางน้ำ+ไหลติดต่อถึงกัน ไม่มีผิดตาม พ.ร.บ.อากรค่าน้ำ คำว่าจับสัตว์น้ำพระราชบัญญัติอากรค่าน้ำหมายถึงการจับสัตว์น้ำซึ่งเกิดขึ้นเองลอยมาตามกระแสน้ำไหล ป.พ.พ.ม.1320 วรรค 1+-1336
ย่อยาว
คดีนี้ได้ความว่าจำเลยได้จับปลาในบ่อซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลย ซึ่งไม่มีทางน้ำไหลติดต่อกับบ่อนี้ แต่มีน้ำขังอยู่ตลอดปี โจทก์หาว่าจำเลยจับสัตว์น้ำขังอยู่ตลอดปี โจทก์หาว่าจำเลยจับสัตว์น้ำโดยมิได้รับอนุญาต จึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อากรค่าน้ำ ร.ศ.๑๒๑ มาตรา ๑๙-๒๐
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าที่จับสัตว์น้ำตามพ.ร.บ.อากรค่าน้ำมาตรา ๓ มีอยู่ ๓ ประเภทในประเภท(๑) และ (๒) นั้นเป็นที่สาธารณะโดยสภาพ ส่วนในประเภท (๓) นั้นอาจเป็นที่สาธารณะหรือเอกชนก็ได้ แต่ต้องอยู่ต่อเนื่องกสับทางน้ำสาธารณะ จริงอยู่ใน ม.๔ บัญญัติว่า ” การจับสัตว์น้ำ ไม่ว่าจับในที่ใด ๆ ย่อมอยู่ในอำนาจพระราชบัญญัตินี้ ” แต่ต้องอ่านควบไปกับมาตรา ๓ เห็นว่าบ่อนี้ไม่เป็นที่จับสัตว์ที่น้ำตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติจำเลยเป็นตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินย่อมเป็นเจ้าของบ่อในที่ดินนั้น แลย่อมเป็นเจ้าของน้ำกับปูปลาในบ่อนั้นตาม ป.พ.พ.ม.๑๓๓๕-๑๓๓๖ ประกอบด้วย ม.๑๓๒๐ วรรค ๑
แลเห็นว่าคำว่าจับสัตว์น้ำตามพระราชบัญญัตินั้นน่าจะมุ่งหมายถึงการจับสัตว์น้ำซึ่งเกิดขึ้นเองลอยมาตามกระแสน้ำไหล เห็นว่าจะเอาผิดแก่จำเลยตามพ.ร.บ.อากรค่าน้ำไม่ได้ จึงพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์