คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2500

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

พ.ร.บ.โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน และที่วัดร้างภายในกำแพงเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้กระทรวงการคลัง พ.ศ.2481
พ.ร.บ. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงใดแปลงหนึ่งให้เป็นของทบวงการเมืองในราชการแผ่นดินนั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์ขึ้นใหม่ ผู้รับโอนจึงรับทรัพย์นั้นมาตามสภาพและฐานะที่เป็นอยู่ในขณะโอน
เมื่อมีเอกชนโต้แย้งว่าตนเป็นเจ้าของที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายในเขตแผนที่ท้าย พ.ร.บ. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว ก็เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องนำมาสืบ
ที่ดินใดจะเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 นั้น เป็นข้อเท็จจริง.

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่ากระทรวงการคลังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเดิมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและที่วัดร้างในกำแพงเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีพระราชบัญญัติโอนที่ดินดังกล่าวให้กระทรวงการคลัง จำเลยบุกรุกเข้ามาอยู่ในบางส่วนของที่ดินรายนี้ขอให้ขับไล่
จำเลยให้การว่าที่พิพาทมิใช่ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือที่วัดร้างแต่จำเลยได้กรรมสิทธิ์มาโดยทางครอบครองหลายสิปีแล้ว พ.ร.บ.โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ๆ พ.ศ.๒๔๘๑ ที่โจทก์อ้างไม่กินความถึงที่ดินของจำเลย และว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ให้ยกฟ้อง แต่ศาลฎีกาพิพากษาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า เมื่อจำเลยรับว่าที่พิพาทอยู่ภายในเขตแผนที่ท้าย พ.ร.บ.โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ฯ ฉบับนั้นแล้ว ที่พิพาทก็ตกเป็นของกระทรวงการคลังโอยผลแห่งพ.ร.บ. นั้น จำเลยจะนำสืบล้างไม่ได้ ให้ขับไล่จำเลย
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า พ.ร.บ.ฉบับนั้นระบุให้โอนที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินและที่วัดร้างให้กระทรวงการคลัง มิใช่มีข้อความให้ได้ที่ซึ่งเอกชนถือกรรมสิทธิ์ เมื่อจำเลยเถียงว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยไม่ใช่ที่สาธารณสมบัติเช่นนี้ ก็ควรให้สืบพยานต่อไป
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาได้ตรวจดู พ.ร.บ.โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินและที่วัดร้างภายในกำแพงเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้กระทรวงการคลัง พุทธศักราช ๒๔๘๑ พร้อมทั้งแผนที่ท้าย พ.ร.บ.นั้น แล้ว เห็นว่า
๑. พ.ร.บ.นี้เป็นพ.ร.บ.โอนกรรมสิทธิ์ มิใช่บัญญัติให้ก่อเกิดกรรมสิทธิ์ขึ้นใหม่ ฉะนั้น ผู้รับโอนก็รับช่วงซึ่งสภาพและฐานะแห่งทรัพย์นั้นมาตามความจริงที่เป็นอยู่
๒. อะไรจะเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา + นั้น เป็นเรื่องข้อเท็จจริง สำหรับที่ดินรายนี้ ยังไม่ทราบความเป็นอยู่+ว่ามี พ.ร.บ.ให้โอนกรรมสิทธิ์ก็อ้างไม่ได้ เพราะ พ.ร.บ. นี้มิได้บัญญัติให้ที่+สาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือเป็นที่วัดร้าง
๓. ตาม ม.๓ ของ พ.ร.บ.ซึ่งมีข้อความว่า “ให้โอนกรรมสิทธิ์สาธารณสมบัติของแผ่นดินและที่วัดร้าง ภายในกำแพงเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ ๔๕๐๐ ไร่ ปรากฎแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้กระทรวงการคลัง + เมื่อมีข้อพิพาทพังเกิดขึ้นโดยเอกชนโต้แย้งว่า ตนเป็นเจ้าของที่ดินโดยชอบด้าน + ในเขตแผนที่ ไม่ใช่ที่สาธารณสมบัติ ดังนี้ ก็เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องนำสืบ”
ถ้าความจริงที่พิพาทเป็นของเอกชนแล้ว แผนที่ท้าย พ.ร.บ.นั้น + ของเอกชนกลายเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นวัดร้างไปได้
ศาลฎีกาพิพากษายืน.

Share