แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
โจทก์ใช้ทางพิพาทเดินผ่านที่ดินซึ่งเป็นของบิดามารดาแล้วเป็นมรดกได้แก่พี่ชายโจทก์ตลอดมาโดยถือวิสาสะแม้ต่อมาจะโอนกรรมสิทธิ์ไปเป็นของบุคคลอื่นแต่เมื่อโจทก์ยังคงใช้ทางพิพาทโดยถือวิสาสะเช่นเดิมแม้จะเดินนานเท่าใดก็หาได้สิทธิในภาระจำยอมไม่และถึงแม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทอย่างไม่ใช่การถือวิสาสะตั้งแต่ที่ดินตกเป็นของจำเลยก็ยังไม่ถึง10ปีทางพิพาทจึงยังไม่เป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์.(ที่มา-เนติฯ)
ย่อยาว
ศาลชั้นต้น พิพากษา ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ‘โจทก์ ยอมรับ ว่า เดิม ที่ดิน โฉนดเลขที่ 356 เป็น ของ บิดา มารดา ครั้น บิดา มารดา ของ โจทก์ ถึง แก่ความตาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 356 ตก เป็น มรดก ได้ แก่ นาย มาลัย พี่ชายโจทก์ โจทก์ ได้ อาศัย ทางพิพาท เดิน ผ่าน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 356ตลอดมา โดย ถือ วิสาสะ เพราะ ความ เป็น เครือญาติ กัน ดังนี้ แม้ จะเดิน นาน เท่าใด ก็ หา ได้ สิทธิ ใน ภาระ จำยอม ไม่ ครั้น ใน ปี พ.ศ.2513 นาย มาลัย ขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 356 ให้ แก่ นาย สนอง นาย สนองได้ ทำรั้ว ล้อม ที่ดิน โฉนด เลขที่ 356 แต่ เว้น ทางพิพาท ให้ โจทก์เดิน ผ่าน กว้าง ประมาณ 1.50 เมตร ไป ออก ถนน บางแวก ตาม เดิม แต่ ก็ได้ ความ จาก คำเบิกความ ของ โจทก์ เอง ว่า โจทก์ ก็ ใช้ ทางพิพาท ด้วยการ ถือ วิสาสะ จึง ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า โจทก์ ยัง ใช้ ทางพิพาท โดย ถือวิสาสะ เช่นเดิม อีก ดังนี้ จะ ถือ ว่า ทางพิพาท เป็น ภาระ จำยอม แก่โจทก์ หา ได้ ไม่ เพราะ โจทก์ ก็ ได้ ใช้ ทางพิพาท ตลอดมา โดย ถือวิสาสะ ต่อมา นาย สนอง โอน ขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 356 ให้ จำเลย เมื่อพ.ศ. 2521 และ โจทก์ ใช้ ทางพิพาท ต่อมา จนกระทั่ง จำเลย ปิดล้อม แม้โจทก์ จะ ถือ ว่า โจทก์ ใช้ ทางพิพาท ใน ช่วงนี้ อย่าง ไม่ ใช่ การ ถือวิสาสะ แต่ ก็ ยัง ไม่ ถึง เวลา 10 ปี ทางพิพาท จึง ไม่ เป็น ภาระจำยอมแก่ ที่ดิน ของ โจทก์ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ ชอบ แล้วฎีกา ของ โจทก์ ฟัง ไม่ ขึ้น’
พิพากษา ยืน ให้ โจทก์ ใช้ ค่าทนายความ ชั้น ฎีกา แทน จำเลย 1,000 บาท