คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2500

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทอยู่และเลยที่ 1 แย่งการครอบครองของโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะได้รับตราจอง ก็หาได้สิทธิในที่ดินรายนี้ไม่ การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับโอนต่อ ๆ มาโดยทางยกให้ ก็หาทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ไม่
ในคดีแพ่ง เมื่อไม่ได้ยกเรื่องอายุความต่อสู้ในชั้นศาลอุทธรณ์ ย่อมฎีกาเรื่องอายุความไม่ได้

ย่อยาว

เรื่อง ละเมิด
ได้ความว่าโจทก์ได้ครอบครองของโจทก์และได้รับตราจองจำเลยที่ ๒ – ๓ ได้รับโอนต่อ ๆ มาแล้วขายให้จำเลยที่ ๔ ๆ รับซื้อไว้โดยไม่สุจริต
ศาลชั้นต้นว่า โจทก์สืบไม่ได้สมฟ้อง ให้ยกฟ้องโจทก์
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรร์พิพากษากลับ และชี้ขาดว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยขัดขวางการครอบครองของโจทก์ ให้เพิกถอนตราจอง และเพิกถอนการจดทะเบียนที่พิพาททั้งหมด
จำเลยที่ ๑ และที่ ๔ ฎีกา
ศาลฎีกาฟังว่า โจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทอยู่และจำเลยที่ ๑ แย่งการครอบครองของโจทก์ แม้จำเลยที่ ๑ จะได้รับตราจอง ก็หาได้สิทธิในที่ดินรายนี้ไม่ ตามนัยฎีกาที่ ๑๐๔๕/๒๔๘๕ และฎีกาที่ ๘๕๓/๒๔๙๓ การที่จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ได้รับโอนต่อ ๆ มาโดยทางยกให้ ก็หาทำให้จำเลยที่ ๒ – ๓ มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ ๑ ไม่
ที่จำเลยฎีกาเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่า คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.ม.๑๓๗๔,๑๓๗๕ นั้น ตาม ป.วิ.แพ่ง ม.๒๔๙ ปัญหาเช่นว่านี้จะต้องยกขึ้นว่ากันมาแล้ว ทั้งในศาลขั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหาข้อนี้หาได้ยกขึ้นว่ากันศาลอุทธรณ์ไม่ และไม่เข้ายกเว้นในวรรค ๒ ม.๒๔๙ จึงฎีกาไม่ได้ แบบอย่างฎีกาที่ ๘๔/๒๔๘๙
ศาลฎีกาพิพากษายึนตามศาลอุทธรณ์

Share