คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2473

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โทษรวม 2 กะทงเกิน 5 ปี ฎีกาได้ทั้ง 2 กะทง

ย่อยาว

เรื่องนี้ศาลเดิมลงโทษจำเลยตาม พรบ สัตว์พาหนะ ร.ศ. ๑๑๙ ม.๒๐ จำคุก ๖ เดือน
ศาลอุทธรณ์ลงโทษตาม พรบ สัตว์พาหนะ ร.ศ.๑๑๙ ม.๒๐ จำคุก ๖ เดือนกะทงหนึ่ง กับ ม.๒๓๐ จำคุก ๕ ปีอีกกะทงหนึ่ง รวมโทษ ๒ กะทง ๕ ปี ๖ เดือน
ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยมีสิทธิฎีกาได้ทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย และวินิจฉัยความผิดของจำเลยเรียงกะทงทุก ๆ กะทง แล้วตัดสินยืนตามศาลอุทธรณ์
มีฎีกาที่ ๑๓๘/๒๔๗๐ ความว่า ศาลเดิมลงโทษจำเลย ๒ กะทงคือ ( ๑ ) ตามมาตรา ๒๗๖ จำคุก ๑ ปี ( ๒ ) ตามมาตรา๒๔๓ ๔ ปี รวม ๕ ปี
ศาลอุทธรณ์แก้ลงโทษตามมาตรา ๒๗๖ จำคุก ๖ เดือน และตามมาตรา ๒๔๓ จำคุก ๒ ปี กับพยายามฆ่าคนตามมาตรา ๒๔๙-๖๐ จำคุก ๑๐ ปี รวมโทษ ๑๒ ปี ๖ เดือน
ศาลฎีกาตัดสินว่าจำเลยฎีกาได้แต่ฐานพยายามฆ่าคนเท่านั้น นอกนั้นเปนแก้ไขเล็กน้อย โทษไม่เกิน ๕ ปี ฎีกาไม่ได้ตาม พรบฎีกาอุทธรณ์ ม.๓
ครั้นต่อมามีฎีกา ๑๙๒/๒๔๗๑ (ประชุมใหญ่) ความว่าถ้าศาลเดิมและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลย ๒ กะทง คือ ฐานลักทรัพย์ ๑ ปี และฐานมีธนบัตรปลอม ๕ ปี รวมเปน ๖ ปี ถ้าจำเลยฎีกาขึ้นมารวมกันทั้ง ๒ กะทงแล้ว ฎีกาได้ ถ้าฎีกาแค่กะทงใดกะทงหนึ่งฎีกาไม่ได้
แต่เรื่องนี้เห็นว่าตรงกับฎีกาที่ ๑๓๘/๒๔๗๐ จำเลยจะฎีกาในเรื่องความผิดฐานละเมิด พรบสัตว์พาหนะไม่ได้ เพราะ ๒ ศาลตัดสิน+กัน จำเลยคงจะฎีกาได้แต่ความผิดตาม ม.๒๓๐ ซึ่งศาลอุทธรณ์เพิ่มขึ้นมา

Share