แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
ตามหนังสือมอบอำนาจซึ่งทำขึ้นก่อนมีการทำสัญญาเช่าซื้อระบุว่าส. และม. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้แม้โจทก์จะไม่มีพยานหลักฐานอื่นอันแสดงว่าม. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์มานำสืบเพิ่มเติมอีกก็ตามแต่การที่จำเลยที่1เข้าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์โดยถือเอาประโยชน์ตามสัญญาด้วยการรับเอารถยนต์ที่เช่าซื้อไปจากโจทก์และผ่อนชำระค่าเช่าซื้อตลอดมาจนกระทั่งผิดนัดย่อมเป็นการผูกพันระหว่างโจทก์และจำเลยที่1แล้วจึงเป็นการเพียงพอให้ฟังได้ว่ามีการมอบอำนาจโดยชอบแล้วเมื่อว. และร.ได้รับมอบอำนาจจากม. จึงมีอำนาจลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้สัญญาเช่าซื้อจึงไม่ตกเป็นโมฆะ
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กระบะหมายเลขทะเบียน 8ท-1464 กรุงเทพมหานคร ไปจากโจทก์ในราคา300,912 บาท ตกลงผ่อนชำระ 48 งวด มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อเพียง 16 งวด โดยผิดนัดตั้งแต่งวดที่ 17 เป็นต้นมาโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์ติดตามรถยนต์คืนมาได้และนำออกขายทอดตลาดได้ราคาเพียง 121,495 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 102,400 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15ต่อปี ของต้นเงิน 97,600 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการครอบครองรถยนต์พิพาทให้แก่นายอิทธิเดช แซ่จิว และให้เป็นผู้ชำระเงินแทนจำเลยที่ 1 โดยความยินยอมของโจทก์การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 จำนวน 102,400 บาท เกินความจริงโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี และหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารปลอม กับทั้งสัญญาเช่าซื้อลงลายมือชื่อโดยผู้ไม่มีอำนาจของโจทก์ สัญญาเช่าซื้อจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 43,600บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยวา “ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า เดิมโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ใช้ชื่อว่า “บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกธนา จำกัด” ต่อมาวันที่ 17 มีนาคม 2538 โจทก์ได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัดตามหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ.1 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2536จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์ในราคา 300,912บาท จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามเอกสารหมาย จ.5 และ จ.6 ตามลำดับ จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อเพียง 16 งวด และผิดนัดตลอดมา โจทก์กลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อแล้ว ในการทำสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว โจทก์มอบอำนาจให้นายวิชัย ศรีผลิน และนายรักพงค์ ยูวะเวส เป็นผู้ลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ. 4 มีปัญหาวินิจฉัยว่า สัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.5เป็นโมฆะหรือไม่ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่ปรากฎหลักฐานว่านายมานิต เจียรดิฐ ผู้มอบอำนาจเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ การมอบอำนาจให้นายวิชัยและนายรักพงค์ชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์เป็นการไม่ชอบสัญญาเช่าซื้อจึงตกเป็นโมฆะ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟังว่ากรรมการที่ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้โดยฟังว่ามีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการของโจทก์ภายหลังที่ได้ทำสัญญาเช่าซื้อแล้ว เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวนนั้นเห็นว่าตามข้อเท็จจริงที่ฟังยุติมาข้างต้น ได้ความว่าสัญญาเช่าซื้อได้ทำขึ้นก่อนที่โจทก์ได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.4 ซึ่งทำขึ้นก่อนการทำสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2537 การที่ผู้ร้องกับผู้ตายทำพินัยกรรมในฉบับเดียวกัน ต่างยกทรัพย์สินให้แก่กันและกัน เมื่อพินัยกรรมดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ ลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้นและผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้นจึงเข้าแบบพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656
นอกจากนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2540 ที่หมายเหตุนี้ ยังได้วางหลักต่อไปอีกว่าการที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งทำพินัยกรรมยกสินสมรสที่เกินส่วนของตนให้แก่บุคคลอื่นโดยคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งตกลงยินยอมด้วยก็ตาม ข้อตกลงยินยอมนั้นขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1481 และยังขัดต่อความมุ่งหมายของมาตรา 1646แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกด้วย และข้อตกลงยินยอมดังกล่าวไม่มีผลผูกพันสินสมรสส่วนของคู่สมรสฝ่ายที่ให้ความยินยอม ดังคำพิพากษาศาลฎีกาที่ได้วางหลักไว้ คือคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2501 สามีทำพินัยกรรมยกสินสมรสให้ผู้อื่นเสียทั้งหมดโดยภริยาไม่ทราบหรือยินยอม พินัยกรรมใช้บังคับส่วนของภริยาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2509 ห้องแถวเป็นสินสมรสของสามีภริยาคนละครึ่งเมื่อสามีทำพินัยกรรมยกห้องแถวหลังนี้ให้แก่บุคคลอื่น ถือว่าพินัยกรรมเกินส่วนของตนแม้ภริยาจะลงชื่อยินยอมให้ทำพินัยกรรม พินัยกรรมก็ไม่มีผลผูกพันส่วนของภริยากึ่งหนึ่งในห้องแถวนี้ แต่พินัยกรรมนี้ไม่เสียเปล่าไป ใช้ได้เฉพาะส่วนของตนเท่านั้นเอง
แม้พินัยกรรมจะปรากฎข้อความว่า “เพื่อมิให้ยุ่งยาก จึงให้นางจ้อยภริยาของข้าพเจ้าเป็นพยานยกให้ด้วย” และภริยาได้พิมพ์ลายมือไว้ในช่องพยานด้วยก็ตาม ก็ไม่ใช่ในฐานะผู้ทำพินัยกรรมหากเป็นเพียงพยานรับรู้ว่าสามีได้ทำพินัยกรรมจริงนั้น แม้จะถือว่าภริยายินยอมให้สามีทำพินัยกรรม พินัยกรรมก็ไม่มีผลผูกพันถึงสินบริคณห์ส่วนของภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441-443/2518 สามีจะทำพินัยกรรมยกสินสมรสอันเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ระหว่างตนกับภริยาให้แก่บุคคลอื่นเกินกว่าส่วนของตนไม่ได้แต่พินัยกรรมนั้นก็หาได้เสียไปทั้งหมดไม่ คงมีผลใช้บังคับได้เฉพาะส่วนของสามีผู้ตายเท่านั้น