แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความและมีคำพิพากษาตามยอมศาลชั้นต้นได้จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าจำเลยได้นำตัว ช.มาทำสัญญาค้ำประกันตามที่ตกลงกันจึงให้ผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันเสนอมาในวันนี้ด้วยแล้วแม้หนังสือสัญญาค้ำประกันคงมีแต่เพียงลายมือชื่อของ ช. กับจ่าศาลลงไว้เท่านั้นก็ถือได้ว่า ช. ได้เข้าเป็นผู้ค้ำประกันในศาลตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา274แล้ว
ย่อยาว
คดี สืบเนื่อง จาก ศาลชั้นต้น พิพากษา ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความให้ จำเลย ชำระ เงิน ให้ โจทก์ ผู้ร้อง เป็น ผู้ค้ำประกัน ต่อ ศาล ว่าถ้า จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ผู้ร้อง ยินยอมรับผิด ใช้ เงิน แทน จน ครบ หาก ไม่ชำระ ยอม ให้ บังคับคดี เอา จาก ทรัพย์ที่ ได้ นำ มา วาง ไว้ เป็น หลักประกัน ทันที คือ ที่ดิน ตาม หนังสือ รับรองการ ทำประโยชน์ เลขที่ 141/17 ตำบล บ่อพลอย อำเภอบ่อไร่ จังหวัด ตราด เนื้อที่ 2 ไร่ ต่อมา จำเลย ไม่ยอม ชำระหนี้ ตาม คำพิพากษาตามยอม โจทก์ จึง ขอให้ ศาล ออกหมาย บังคับคดี และ ยึด ที่ดิน ของ ผู้ร้องที่ นำ มา ค้ำประกัน ดังกล่าว
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้อง เข้า ทำ สัญญาค้ำประกัน ยอม ผูกพัน ตนเข้า ทำนิติกรรม หรือ สัญญา ขึ้น เป็น มูลหนี้ ใหม่ คน ละ ส่วน กับ มูลหนี้เดิมหาก โจทก์ ถูก โต้แย้ง สิทธิ โจทก์ ชอบ ที่ จะ ฟ้องร้อง เป็น คดี ขึ้น ใหม่โจทก์ จะ นำ เจ้าพนักงาน บังคับคดี มา ยึดทรัพย์ ของ ผู้ร้อง ออก ขายทอดตลาดทันที ไม่ได้ ขอให้ ศาล มี คำสั่ง เพิกถอน การ ยึดทรัพย์
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว มี คำสั่ง ให้ยก คำร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ผู้ร้อง ฎีกา ว่า หนังสือ สัญญาค้ำประกันฉบับ ลงวันที่ 16 มกราคม 2535 ผู้ร้อง มิได้ ทำ ขึ้น ต่อหน้า ศาล และ โจทก์ใน คดี นี้ ใน หนังสือ ค้ำประกัน ฉบับ ดังกล่าว คง มี แต่ ลายมือชื่อ ของผู้ร้อง กับ ลายมือชื่อ ของ จ่าศาล โจทก์ และ ศาลชั้นต้น จะ ถือเอาหนังสือ สัญญาค้ำประกัน มา ผูกพัน ผู้ร้อง บังคับคดี เอา แก่ ทรัพย์สินของ ผู้ร้อง โดย ทันที ย่อม ไม่ชอบ นั้น เห็นว่า ตาม สัญญา ประนีประนอมยอมความ และ คำพิพากษา ตามยอม ของ ศาลชั้นต้น นอกจาก จะ มี สัญญา ประนีประนอมยอมความ และ คำพิพากษา ตามยอม แล้ว ศาลชั้นต้น ได้ จด รายงาน กระบวนพิจารณาใน วันเดียว กัน ว่า จำเลย ได้ นำตัว นาย ชาญ ขันติขจรสันต์ ผู้ร้อง มา ทำ สัญญาค้ำประกัน ตาม ที่ ตกลง กัน จึง ให้ ผู้ค้ำประกัน ทำ สัญญาค้ำประกัน เสนอ มา ใน วัน นี้ ด้วย แล้ว ดังนั้น แม้ ว่า หนังสือ สัญญาค้ำประกัน คง มี แต่เพียง ลายมือชื่อ ของ ผู้ร้อง กับ ลายมือชื่อ ของ จ่าศาลลง ไว้ เท่านั้น ก็ ตาม ก็ ถือได้ว่า ผู้ร้อง ได้ เข้า เป็น ผู้ค้ำประกันใน ศาล ตาม ความหมาย ของ ผู้ค้ำประกัน ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 274 แล้ว คำพิพากษา ตามยอม ย่อม ใช้บังคับ แก่ การ ประกัน นั้น ได้ โดย ไม่ต้อง ฟ้อง ผู้ค้ำประกัน ขึ้น ใหม่ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ ผู้ร้องฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน