คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยที่3ฟ้องจำเลยที่1และที่2ขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยครอบครองปรปักษ์จำเลยที่3กับจำเลยที่1และที่2ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยที่1และที่2จะไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่3ศาลพิพากษาคดีไปตามยอมไม่ใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งที่ดินพิพาทจึงไม่ผูกพันหรือใช้ยันแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)ศาลไม่จำต้องเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า โจทก์ ทำ สัญญา จะซื้อ ที่ดินโฉนด เลขที่ 30545 เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 57 ตารางวา จาก จำเลยที่ 1 และ ที่ 2 โดย วาง มัดจำ ใน วัน ทำ สัญญา เป็น เงิน 1,000,000 บาทมี ข้อตกลง ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 จะ ต้อง ขอ รังวัด สอบ เขต ที่ดินเพื่อ ทราบ จำนวน เนื้อที่ เมื่อ รังวัด เสร็จ แล้ว จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ต้อง แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ ก่อน 15 วัน เพื่อ รับโอน ที่ดิน และ ชำระ เงินที่ ค้าง หาก โจทก์ ผิดสัญญา ไม่รับ โอน ที่ดิน ยอม ให้ริบ เงินมัดจำ หากจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ไม่ ดำเนินการ ขอ รังวัด สอบ เขต ที่ดินและ แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ ภายใน กำหนด 6 เดือน ยอม ให้ โจทก์บังคับ ตาม สัญญา และ ยอม เสีย ค่าปรับ อีก 1,000,000 บาท แต่ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 มิได้ ขอ รังวัด สอบ เขต ที่ดิน และ มิได้ แจ้ง การ นัด โอน ที่ดินให้ โจทก์ ทราบ ต่อมา โจทก์ ไป อายัด ที่ดิน ที่ สำนักงาน ที่ดินจึง ทราบ ว่า จำเลย ที่ 3 ยื่นฟ้อง จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ต่อ ศาลชั้นต้นเมื่อ วันที่ 18 ตุลาคม 2531 อ้างว่า ได้ ครอบครองปรปักษ์ที่ดิน ดังกล่าว เนื้อที่ 300 ตารางวา ทั้งนี้ โดย จำเลย ทั้ง สาม สมคบ กันฉ้อฉล โจทก์ โดย ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ต่อ ศาล เพื่อ หลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติ ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย จำเลย ที่ 3 มิได้ ครอบครองปรปักษ์ที่ดิน ดังกล่าว และ ทราบ ว่า โจทก์ ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดิน กับจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 การ ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ดังกล่าว กระทำโดย ไม่สุจริต ไม่มี การ ชำระ ค่าตอบแทน และ ยัง มิได้ จดทะเบียนโจทก์ จึง มีสิทธิ ดีกว่า จำเลย ที่ 3 ถือได้ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ผิดสัญญา ต้อง รับผิด ชำระ ค่าปรับ 1,000,000 บาท แก่ โจทก์ ขอให้ เพิกถอนสัญญา ประนีประนอม ยอมความ ระหว่าง จำเลย ที่ 3 กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2และ คำพิพากษา ตามยอม ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 5187/2531 ของศาลชั้นต้น สัญญา ประนีประนอม ยอมความ และ คำพิพากษา ตามยอมดัง กล่าว ไม่ผูกพัน โจทก์ ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 โอน ที่ดิน โฉนดเลขที่ 30545 ให้ แก่ โจทก์ และ รับ เงิน ที่ เหลือ 2,063,500 บาท จาก โจทก์โดย หัก ค่าเสียหาย และ เบี้ยปรับ 1,000,000 บาท คงเหลือ1,063,500 บาท ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 เป็น ผู้ ออก ค่าธรรมเนียมค่าภาษีอากร ใน การ โอน หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษาแทน การแสดง เจตนา
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่า จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ขอ รังวัด สอบ เขต ที่ดินพิพาท แต่ จำเลย ที่ 3 เจ้าของ ที่ดินซึ่ง มี แนวเขต ติดต่อ คัดค้าน การ รังวัด และ ไม่รับรอง แนวเขต โจทก์จึง ขอให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ยกเลิก คำขอ รังวัด และ ให้ โอน ที่ดินพิพาทแก่ โจทก์ เมื่อ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ยกเลิก คำขอ รังวัด โจทก์กลับ ไม่รับ โอน ที่ดินพิพาท โดย อ้างว่า หาก จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2เสีย ภาษี การ โอน และ ภาษี รายได้ ถูก จะ ทำให้ โจทก์ จำนอง ที่ดินพิพาทแก่ ธนาคาร ได้ เงิน น้อย และ โจทก์ ก็ มิได้ เตรียม เงิน มา ชำระ ค่าที่ดินพิพาท จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 จึง มี หนังสือ บอกเลิก สัญญาจำเลย ที่ 3 ครอบครอง ที่ดินพิพาท ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 บางส่วนโดย ครอบครองปรปักษ์ เกินกว่า 10 ปี สัญญา ประนีประนอม ยอมความระหว่าง จำเลย ที่ 3 กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 จึง มีผล ผูกพัน ตาม กฎหมายโจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา จึง ไม่มี สิทธิ เรียกเงิน ค่าปรับ ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 3 ให้การ ว่า ได้ ครอบครองปรปักษ์ ที่ดินพิพาท เนื้อที่300 ตารางวา โจทก์ ทราบ มา ก่อน โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ไม่สุจริต แต่ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ระหว่างจำเลย ที่ 3 กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 กระทำ โดยสุจริต ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ เพิกถอน สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ใน คดีแพ่งหมายเลขแดง ที่ 5187/2531 ของ ศาลชั้นต้น ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2โอน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 30545 ตำบล บางบอน อำเภอบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร แก่ โจทก์ และ รับ เงิน ค่าที่ดิน จาก โจทก์ 2,063,500บาท กับ ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ชำระ เบี้ยปรับ 300,000 บาทแก่ โจทก์ หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา ตาม คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนาของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2
จำเลย ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สาม ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ในเบื้องต้น ว่า เมื่อ วันที่ 13 มิถุนายน 2531 โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ทำ สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 30545 ตำบล บางบอน อำเภอ บางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 57 ตารางวา ซึ่ง เป็น ที่ดินพิพาท ใน ราคา ตารางวา ละ 5,500 บาท รวมเป็น เงิน3,063,500 บาท โจทก์ วาง มัดจำ ใน วัน ทำ สัญญา เป็น เงิน 1,000,000บาท มี ข้อตกลง ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ต้อง ไถ่ถอน จำนอง ที่ดินพิพาทต้อง ขอ รังวัด สอบ เขต ที่ดินพิพาท เพื่อ คิด ราคา ตาม เนื้อที่ ที่ รังวัด ได้และ เมื่อ รังวัด เสร็จ ต้อง แจ้ง ให้ โจทก์ ทราบ ก่อน 15 วัน เพื่อ รับโอนที่ดินพิพาท ภายใน กำหนด 6 เดือน นับแต่ วัน ทำ สัญญา กัน ดังกล่าวหาก โจทก์ ผิดสัญญา ยอม ให้ริบ มัดจำ หาก จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ผิดสัญญายอม ให้ ปรับ 1,000,000 บาท ตาม หนังสือ สัญญาจะซื้อจะขาย เอกสารหมาย จ. 1 ต่อมา วันที่ 14 เดือน เดียว กัน จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ไถ่ถอนจำนอง ที่ดินพิพาท และ วันที่ 15 เดือน เดียว กัน จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ยื่น คำขอ รังวัด สอบ เขต ที่ดินพิพาท ต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน กรุงเทพมหานครสาขา บางขุนเทียน ช่าง รังวัด ได้ ไป รังวัด ที่ดินพิพาท ครั้งที่ 1และ ที่ 2 ไม่ แล้ว เสร็จ เนื่องจาก จำเลย ที่ 3 ไม่ไป ระวัง แนวเขตและ เมื่อ วันที่ 21 กันยายน 2531 ช่าง รังวัด ไป รังวัด ที่ดินพิพาทครั้งที่ 3 ปรากฎ ว่า แนว รั้ว โรงงาน ของ จำเลย ที่ 3 ล้ำ เข้า มา ใน ที่ดินพิพาท ด้าน ตรง มุม หัก ของ ที่ดินพิพาท ประมาณ 80 เซนติเมตร เป็น รูปชาย ธง ช่าง รังวัด ได้ ปัก หลัก เสา หิน แสดง เขต ที่ดินพิพาท เลย รั้ว ของจำเลย ที่ 3 เข้า ไป ประมาณ 80 เซนติเมตร ตาม แผนที่ สังเขป เอกสารหมาย จ. 39 จำเลย ที่ 3 ไม่ยอม รับรอง แนวเขต และ ยื่น หนังสือ คัดค้านของ จำเลย ที่ 3 เอกสาร หมาย จ. 5 ต่อมา วันที่ 26 กันยายน 2531จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ทำ เรื่อง ขอ ยกเลิก คำขอ รังวัด สอบ เขต ที่ดินพิพาท ตาม สำเนา บันทึก ถ้อยคำ เอกสาร หมาย จ. 47 เมื่อ วันที่ 18 ตุลาคม2531 จำเลย ที่ 3 ยื่นฟ้อง จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ต่อ ศาลชั้นต้น ขอ แสดงกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท บางส่วน โดย อ้างว่า ได้ ครอบครองปรปักษ์ ที่ดินพิพาท ด้าน ติดกับ รั้ว โรงงาน ของ จำเลย ที่ 3 เนื้อที่ 300 ตารางวาต่อมา วันที่ 22 พฤศจิกายน 2531 จำเลย ที่ 3 กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ โดย จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 จะ ไปจดทะเบียน โอน ที่ดินพิพาท เนื้อที่ 300 ตารางวา ดังกล่าว ให้ แก่จำเลย ที่ 3 และ ศาลชั้นต้น ได้ พิพากษาคดี ไป ตามยอม แล้ว ตาม คดีแพ่งหมายเลขแดง ที่ 5187/2531 ของ ศาลชั้นต้น คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัยตาม ฎีกา จำเลย ทั้ง สาม ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ผิดสัญญา จะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาท หรือไม่ และ โจทก์ มีสิทธิ ขอให้ เพิกถอนสัญญา ประนีประนอม ยอมความ ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 5187/2531ของ ศาลชั้นต้น หรือไม่
ปัญหา ประการ แรก นั้น ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2เป็น ผู้ขอ ยกเลิก คำขอ รังวัด สอบ เขต ที่ดินพิพาท เอง โจทก์ หา ได้ มี ส่วนรู้เห็น เกี่ยวข้อง ด้วย ไม่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 จึง ไม่ได้ ดำเนินการตรวจสอบ โดย วิธีการ รังวัด ตาม วิธีการ ของ กรมที่ดิน ตาม ข้อ 3.1ใน หนังสือ สัญญาจะซื้อจะขาย เอกสาร หมาย จ. 1 ให้ เป็น ที่ เรียบร้อยและ ต่อมา เมื่อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2531 จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ยัง ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ จะ ไป จดทะเบียน โอน ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 300 ตารางวา ให้ แก่ จำเลย ที่ 3 ตาม ที่ จำเลย ที่ 3 ยื่นฟ้องอีก ซึ่ง ศาลชั้นต้น ได้ พิพากษาคดี ไป ตามยอม แล้ว ทั้ง ๆ ที่ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ยัง มี หนี้ ที่ จะ ต้อง จดทะเบียน โอน ขาย กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทให้ แก่ โจทก์ ตาม หนังสือ สัญญาจะซื้อจะขาย เอกสาร หมาย จ. 1 จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 จึง ผิดสัญญา จะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาท ฎีกา จำเลย ทั้ง สามใน ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ประการ สุดท้าย นั้น เห็นว่า ที่ จำเลย ที่ 3 กับ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ทำ สัญญา ประนีประนอม ยอมความ กัน โดย จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ว่า จะ ไป จดทะเบียน โอน ที่ดินพิพาท เนื้อที่ 300 ตารางวา ให้ แก่จำเลย ที่ 3 ตาม ที่ จำเลย ที่ 3 ยื่นฟ้อง ขอแสดงกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 300 ตารางวา ดังกล่าว โดย อ้างว่า ได้ กรรมสิทธิ์ โดย การครอบครองปรปักษ์ ซึ่ง ศาลชั้นต้น ได้ พิพากษาคดี ไป ตามยอม แล้ว นั้นไม่ใช่ คำพิพากษา ที่ วินิจฉัย ถึง กรรมสิทธิ์ แห่ง ที่ดินพิพาท จำนวนเนื้อที่ 300 ตารางวา ดังกล่าว จึง ไม่อาจ ใช้ ยัน แก่ โจทก์ ซึ่ง เป็นบุคคลภายนอก ได้ ศาล จึง ไม่จำต้อง เพิกถอน สัญญา ประนีประนอม ยอมความหรือ คำพิพากษา ตามยอม ใน คดี ดังกล่าว ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ให้ เพิกถอนสัญญา ประนีประนอม ยอมความ ซึ่ง ศาลชั้นต้น ได้ พิพากษาคดี ไป ตามยอมแล้ว นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา แต่ คำฟ้อง ของ โจทก์เห็น ได้ว่า โจทก์ ประสงค์ ให้ ศาล แสดง ว่า สัญญา ประนีประนอม ยอมความและ คำพิพากษา ตามยอม บังคับ แก่ โจทก์ ไม่ได้ และ ไม่ กระทบ กระทั่งถึง สิทธิ ของ โจทก์ ตาม สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาท ระหว่างโจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ศาลฎีกา จึง เห็นสมควร แก้ไข เสีย ให้ถูกต้อง ฎีกา จำเลย ทั้ง สาม ใน ข้อ นี้ ฟังขึ้น บางส่วน ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า สัญญา ประนีประนอม ยอมความ และ คำพิพากษาตามยอม ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 5187/2531 ของ ศาลชั้นต้นไม่ผูกพัน โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) กับไม่ เพิกถอน สัญญา ประนีประนอม ยอมความ ดังกล่าว นอกจาก ที่ แก้ ให้เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share