คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ ลงลายมือชื่อใน หนังสือมอบอำนาจโดยยังไม่กรอกข้อความจำเลยที่1นำหนังสือมอบอำนาจนั้นไปกรอกข้อความว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่1เป็นผู้มีอำนาจยื่นคำขอจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์ให้แก่จำเลยที่1โดยโจทก์ไม่รู้เห็นด้วยนิติกรรมการโอนเกิดขึ้นจากการทุจริตจึงตกเป็น โมฆะ ถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้น กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังคงเป็นของโจทก์ฉะนั้นการที่จำเลยที่2รับจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่1จึงไม่เกิดผลให้จำเลยที่2มีสิทธิตามนิติกรรมจำนองโจทก์จึงมีสิทธิขอให้ เพิกถอนนิติกรรม จำนองระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2ได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ติดต่อ ให้ จำเลย ที่ 1 พา โจทก์ ไป ขอ กู้ยืม เงินจาก ธนาคาร โดย จดทะเบียน จำนอง ที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ทะเบียน เลขที่ 317 ของ โจทก์ เป็น ประกัน จำเลย ที่ 1 ให้ โจทก์ลงลายมือชื่อ ใน หนังสือมอบอำนาจ โดย ยัง ไม่ได้ กรอก ข้อความ ต่อมาจำเลย ที่ 1 ได้ กรอก ข้อความ ลง ใน หนังสือมอบอำนาจ ให้ จำเลย ที่ 1เป็น ผู้มีอำนาจ จัดการ ยื่น คำขอ จดทะเบียน ขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่จำเลย ที่ 1 ใน ราคา 55,000 บาท และ ยินยอม ให้ จำเลย ที่ 1 ทำนิติกรรมใน นาม ของ ตัวการ ทำ กับ ตนเอง ใน นาม ของ ตนเอง ได้ ด้วย ซึ่ง เป็น การ ฝ่าฝืนคำสั่ง ของ โจทก์ ต่อมา จำเลย ที่ 1 นำ หนังสือมอบอำนาจ ปลอม ดังกล่าวหนังสือ ยินยอม ของ ภรรยา โจทก์ ซึ่ง เป็น เอกสาร ที่ จำเลย ที่ 1 ทำ ปลอม ขึ้นทั้ง ฉบับ และ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ของ ที่ดินพิพาท ไป ยื่น คำขอต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน ขอ ทำนิติกรรม โอน ขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่จำเลย ที่ 1 เจ้าพนักงาน ที่ดิน หลงเชื่อ จึง ดำเนินการ ให้ และ ใน วันเดียวกัน นั้นเอง จำเลย ที่ 1 ได้ นำ ที่ดินพิพาท ไป จดทะเบียน จำนอง ไว้ แก่จำเลย ที่ 2 เพื่อ เป็น ประกัน การกู้ยืมเงิน ของ จำเลย ที่ 1 จำนวน50,000 บาท ต่อมา จำเลย ที่ 1 ได้ จดทะเบียน เพิ่ม วงเงิน จำนอง อีกจำนวน 20,000 บาท โดย จำเลย ที่ 2 รู้ อยู่ แล้ว ว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของ ที่ดินพิพาท จึง เป็น การกระทำ ที่ ไม่สุจริต ทั้ง โจทก์ มิได้รู้เห็นเป็นใจ กับ จำเลย ทั้ง สอง แต่อย่างใด ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1ไป จดทะเบียน เพิกถอน นิติกรรม ซื้อ ขาย ที่ดินพิพาท ระหว่าง โจทก์ กับจำเลย ที่ 1 และ ให้ จำเลย ที่ 2 ไป จดทะเบียน เพิกถอน นิติกรรม จำนองระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 หาก จำเลย ทั้ง สอง ไม่ปฏิบัติ ตามให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล แทน การแสดง เจตนา กับ ให้ จำเลย ที่ 2ส่งมอบ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ของ ที่ดินพิพาท คืน ให้ แก่ โจทก์หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ เจ้าพนักงาน ออก ใบแทน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของ ที่ดินพิพาท ให้ แก่ โจทก์
จำเลย ที่ 1 ขาดนัด ยื่นคำให้การ และ ขาดนัดพิจารณา
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า ก่อน จดทะเบียน จำนอง ที่ดินพิพาทจำเลย ที่ 2 ได้ ตรวจ ดู ปรากฏว่า มี ชื่อ จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้มีสิทธิครอบครอง โดย จำเลย ที่ 1 ซื้อ มาจาก โจทก์ จำเลย ที่ 2 ได้ จดทะเบียนรับ จำนอง ที่ดินพิพาท ต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน โดยสุจริต และ เสีย ค่าตอบแทนเป็น เงิน จำนวน 70,000 บาท โดย จำเลย ที่ 2 ไม่รู้ ว่า จำเลย ที่ 1ไม่ใช่ เจ้าของ ที่ดินพิพาท ตาม พฤติการณ์ ที่ โจทก์ ลงลายมือชื่อ ในหนังสือมอบอำนาจ โดย ไม่ได้ กรอก ข้อความ เพื่อ ให้ จำเลย ที่ 1 กระทำการ แทนถือว่า เป็น การกระทำ ที่ ทำให้ บุคคลภายนอก หลงเชื่อ ว่า จำเลย ที่ 1มีอำนาจ กระทำ ได้ การกระทำ ของ โจทก์ จึง เป็น ความประมาท อย่างร้ายแรงโจทก์ จะ อ้าง เอาความ ประมาท ดังกล่าว มา เพิกถอน สัญญาจำนอง ระหว่างจำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ไม่ได้ โจทก์ ใช้ สิทธิ ไม่สุจริต ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ไป จดทะเบียนเพิกถอน นิติกรรม ซื้อ ขาย ที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ทะเบียนเลขที่ 317 ตำบล หนองโก อำเภอกระนวน จังหวัด ขอนแก่น ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ส่วน จำเลย ที่ 2 ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว คดี เฉพาะตัว จำเลย ที่ 1ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ว่า โจทก์ ลงลายมือชื่อใน หนังสือมอบอำนาจ โดย ยัง มิได้ กรอก ข้อความ ต่อมา จำเลย ที่ 1 ได้ นำหนังสือมอบอำนาจ ไป กรอก ข้อความ ว่า โจทก์ มอบอำนาจ ให้ จำเลย ที่ 1เป็น ผู้มีอำนาจ ใน การ ยื่น คำขอ จดทะเบียน ขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่จำเลย ที่ 1 โดย โจทก์ มิได้ รู้เห็น ยินยอม จาก นั้น จำเลย ที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจ ดังกล่าว ไป จดทะเบียน โอน ขาย ที่ดินพิพาท ให้ แก่จำเลย ที่ 1 และ ใน วันเดียว กัน นั้นเอง จำเลย ที่ 1 ได้ นำ ที่ดินพิพาทไป จดทะเบียน จำนอง ไว้ แก่ จำเลย ที่ 2 เพื่อ เป็น ประกัน การกู้ยืมเงินของ จำเลย ที่ 1 ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย มี ว่า โจทก์ จะ ขอให้ เพิกถอนนิติกรรม จำนอง ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 ได้ หรือไม่ เห็นว่าเมื่อ นิติกรรม การ โอน ที่ดินพิพาท มา เป็น ของ จำเลย ที่ 1 เกิดขึ้น จากการทุจริต และ โจทก์ มิได้ รู้เห็น ยินยอม ด้วย นิติกรรม การ โอน จึง ตกเป็นโมฆะ และ ต้อง ถือ เสมือน ว่า มิได้ มี นิติกรรม การ โอน เกิดขึ้น เลยกรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท ยัง เป็น ของ โจทก์ อยู่ ตาม เดิม หา ตก ไป เป็น ของจำเลย ที่ 1 ไม่ และ เมื่อ จำเลย ที่ 1 ไม่มี กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาทแล้ว จำเลย ที่ 1 ก็ ไม่มี สิทธิ จะ เอา ที่ดินพิพาท ไป จำนอง แก่ ใคร ได้ฉะนั้น การ ที่ จำเลย ที่ 2 จดทะเบียน รับ จำนอง ที่ดินพิพาท ไว้ จากจำเลย ที่ 1 ผู้ ไม่มี สิทธิ จะ จำนอง ได้ จึง ไม่ เกิด ผล ให้ จำเลย ที่ 2มีสิทธิ ตาม นิติกรรม จำนอง นั้น โจทก์ จึง มีสิทธิ ขอให้ เพิกถอน นิติกรรมจำนอง ระหว่าง จำเลย ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 2 ได้ เมื่อ วินิจฉัย ดังนี้ปัญหา ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ที่ ว่า โจทก์ ประมาท เลินเล่อ อย่างร้ายแรงหรือไม่ จำเลย ที่ 2 รับ จำนอง ที่พิพาท โดยสุจริต หรือไม่ จึง ไม่จำต้องวินิจฉัย ฎีกา ของ โจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 2 ไป จดทะเบียน เพิกถอน นิติกรรมจำนอง ที่ดิน ตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ทะเบียน เลขที่ 317ตำบล หนองโก อำเภอกระนวน จังหวัด ขอนแก่น ระหว่าง จำเลย ที่ 1กับ จำเลย ที่ 2 หาก ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนาคำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 1

Share