คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าจำเลยทั้งสองชำระค่าสินค้าตามฟ้องครบถ้วนแล้วเป็นการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ซึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองยังไม่ได้ชำระค่าสินค้าตามฟ้องแก่โจทก์จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันชำระค่าสินค้าและดอกเบี้ยตามฟ้องแก่โจทก์ดังนั้นฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีนี้มีทุนทรัพย์133,061บาทจึงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248ที่แก้ไขแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับฟ้องแย้งนั้นเป็นการฟ้องแย้งขอให้โจทก์ส่งมอบใบสำคัญรับบิลอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ของโจทก์จำนวน123,119บาทถือได้ว่าเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามจำนวนหนี้ในใบสำคัญรับบิลดังกล่าวจึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์123,119บาทจึงเป็นคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกัน

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ซื้อ สินค้า ผ้า ลินินเทียม ไป จาก โจทก์โดย ตกลง จะ ชำระ ค่าสินค้า ภายใน 30 วัน นับแต่ วันที่ จำเลย ได้รับ สินค้าหรือ วันที่ ได้รับ ใบ สำคัญ รับ บิล แต่ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ ค่าสินค้า ให้ เพียงบางส่วน คง ค้างชำระ อีก 123,119 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เงิน133,061 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน123,119 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ชำระ ราคา สินค้าครบถ้วน แล้ว และ จำเลย ทั้ง สอง ชอบ ที่ จะ ได้รับ ใบ สำคัญ รับ บิล อันเป็น หลักฐาน แห่ง หนี้ ราย นี้ คืน จาก โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง โจทก์ และ ให้ โจทก์ส่งมอบ ใบ สำคัญ รับ บิล คืน แก่ จำเลย ทั้ง สอง หาก ไม่สามารถ คืน ให้ ได้ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนา แทน
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ยัง ค้างชำระ ค่าสินค้าผ้า อยู่ โจทก์ จึง หา จำต้อง คืน ใบ สำคัญ รับ บิล ให้ แก่ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงินจำนวน 123,119 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วัน ผิดนัด วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2531 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์แต่ ดอกเบี้ย ตั้งแต่ วัน ผิดนัด ถึง วันฟ้อง ต้อง ไม่เกิน 9,942 บาทให้ยก ฟ้องแย้ง ของ จำเลย ทั้ง สอง
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “จำเลย ทั้ง สอง ยื่นฎีกา เมื่อ วันที่ 6สิงหาคม 2535 กรณี จึง ต้อง ตก อยู่ ภายใต้ บังคับ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 แก้ไข เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติ แก้ไข เพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534 อันเป็น กฎหมาย ที่ ใช้ ใน ขณะ ยื่นฎีกาซึ่ง บัญญัติ ว่า “ใน คดี ที่ ราคา ทรัพย์สิน หรือ จำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาทกัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท หรือไม่ เกิน จำนวน ที่ กำหนด ในพระราชกฤษฎีกา ห้าม มิให้ คู่ความ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ” คดี นี้ ตาม ฟ้องของ โจทก์ มี จำนวน ทุนทรัพย์ 133,061 บาท จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา เกี่ยวกับฟ้อง ของ โจทก์ มา ใน จำนวน ทุนทรัพย์ ดังกล่าว จึง เป็น คดี มี จำนวนทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท ต้องห้าม มิให้คู่ความ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ยัง ไม่ได้ชำระ ค่าสินค้า ตาม ฟ้อง แก่โจทก์ จำเลย ทั้ง สอง จึง ต้อง ร่วมกัน ชำระ ค่าสินค้า และ ดอกเบี้ย ตาม ฟ้องแก่ โจทก์ ซึ่ง จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ว่า จำเลย ทั้ง สอง ชำระ ค่าสินค้า ตาม ฟ้องแก่ โจทก์ ครบถ้วน แล้ว นั้น เป็น การ โต้เถียง ดุลพินิจ การ รับฟัง พยานหลักฐาน ของ ศาลอุทธรณ์ เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง จึง ต้องห้าม มิให้จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ใน ปัญหา ข้อ นี้ ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว และ ที่ จำเลยทั้ง สอง ฎีกา เกี่ยวกับ ฟ้องแย้ง ของ จำเลย ทั้ง สอง นั้น เห็นว่าฟ้องแย้ง ของ จำเลย ทั้ง สอง ขอให้ โจทก์ ส่งมอบ ใบ สำคัญ รับ บิล อันเป็นหลักฐาน แห่ง หนี้ ของ โจทก์ จำนวน 123,119 บาท คืน แก่ จำเลย ทั้ง สองเนื่องจาก จำเลย ทั้ง สอง ได้ ชำระหนี้ ตาม ใบ สำคัญ รับ บิล ดังกล่าว แก่โจทก์ ครบถ้วน แล้ว อันเป็น การ เรียกร้อง ให้ โจทก์ ส่งมอบ ใบ สำคัญ รับ บิลซึ่ง เป็น หลักฐาน แห่ง หนี้ จำนวนเงิน ดังกล่าว คืน มา เพื่อ แสดง ว่า จำเลยทั้ง สอง ได้ ชำระหนี้ ตาม ใบ สำคัญ รับ บิล แล้ว ถือได้ว่า เป็น คำขอปลดเปลื้อง ทุกข์ อัน อาจ คำนวณ เป็น ราคา เงินได้ ตาม จำนวน หนี้ ใน ใบสำคัญ รับ บิล ดังกล่าว จึง เป็น คดี ที่ มี ทุนทรัพย์ 123,119 บาท จำเลยทั้ง สอง ฎีกา เกี่ยวกับ ฟ้องแย้ง ของ จำเลย ทั้ง สอง ขอให้ โจทก์ ส่งมอบใบ สำคัญ รับ บิล คืน แก่ จำเลย ทั้ง สอง ตาม ฟ้องแย้ง ดังกล่าว จึง เป็น คดีมี จำนวน ทุนทรัพย์ ที่พิพาท กัน ใน ชั้นฎีกา ไม่เกิน สอง แสน บาท ต้องห้ามมิให้ คู่ความ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว เช่นเดียวกันศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ยัง ไม่ได้ชำระ ค่าสินค้าตาม ฟ้อง แก่ โจทก์ โจทก์ จึง มีสิทธิ ยึดถือ ใบ สำคัญ รับ บิล ไว้ ซึ่ง จำเลยทั้ง สอง ฎีกา ว่า จำเลย ทั้ง สอง ชำระ ค่าสินค้า ตาม ฟ้อง แก่ โจทก์ ครบถ้วนแล้ว นั้น เป็น การ โต้เถียง ดุลพินิจ การ รับฟัง พยานหลักฐาน ของ ศาลอุทธรณ์เป็น ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง จึง ต้องห้าม มิให้ จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา ใน ปัญหาข้อ นี้ ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว เช่นกัน ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง รับ ฎีกา ของจำเลย ทั้ง สอง ที่ เกี่ยวกับ ฟ้อง ของ โจทก์ และ ที่ เกี่ยวกับ ฟ้องแย้ง ของจำเลย ทั้ง สอง มา นั้น จึง เป็น การ ไม่ชอบ ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ”
พิพากษายก ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง

Share