แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดแต่ละกระทงไม่เกิน1ปีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218. ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าพนักงานจับกุมตัวจำเลยตามที่ผู้เสียหายแจ้งจำเลยหลบหนีไประหว่างที่เจ้าพนักงานควบคุมตัวจำเลยจำเลยฎีกาโต้แย้งว่าตามคำเบิกความของพยานโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่ามีการจับกุมตัวจำเลยข้อโต้แย้งของจำเลยเป็นการโต้แย้งในเรื่องการฟังพยานว่าควรจะฟังไปในทางใดซึ่งเป็นดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
ย่อยาว
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ฐาน มี และ พกพา อาวุธปืนและ เครื่องกระสุนปืน โดย ไม่ รับ อนุญาต หลบหนี ใน ระหว่าง การ ควบคุมตัว ของ เจ้าพนักงาน เรียง กระทง ลงโทษ โดย ให้ ลงโทษ ตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 72 จำคุก 1 ปี กระทงหนึ่งลงโทษ ตาม มาตรา 8 ทวิ, 72 ทวิ ซึ่ง เป็น บท ที่ มี โทษ หนัก จำคุก6 เดือน กระทง หนึ่ง และ ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 190 จำคุก6 เดือน อีก กระทงหนึ่ง รวม 3 กระทง จำคุก 2 ปี ลดโทษ ให้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 หนึ่ง ใน สาม คง จำคุก จำเลย 1 ปี 4 เดือนริบ ของกลาง ส่วน ข้อหา อื่น ให้ ยกเสีย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘คดี นี้ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ ลงโทษ จำคุก จำเลย แต่ ละ กระทง ไม่เกิน 1 ปี คดี จึงต้องห้าม ฎีกา ใน ปัญหา ข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ฎีกา ของ จำเลย ที่ ว่าจำเลย ยัง มิได้ ถูก จับกุม ตัว จึง ยัง ไม่ เป็น ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 190 นั้น ใน ข้อนี้ ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริงว่า เจ้าพนักงานตำรวจ จับกุม ตัว จำเลย ตาม ที่ ผู้เสียหาย แจ้ง จำเลยหลบหนี ไป ระหว่าง ที่ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ควบคุม ตัว จำเลย เพื่อ รอรถยนต์ สายตรวจ มา รับ ตัว จำเลย จำเลย ฎีกา โต้แย้ง ว่า ตาม คำเบิกความของ พยานโจทก์ ยัง ฟัง ไม่ ได้ ว่า มี การ จับกุม ตัว จำเลย ข้อโต้แย้งของ จำเลย ดังกล่าว นั้น เป็น การ โต้แย้ง ใน เรื่อง การ ฟัง พยาน ว่าควร จะ ฟัง ไป ใน ทาง ใด ซึ่ง เป็น เรื่อง ดุลพินิจ ใน การ ฟังพยานหลักฐาน อัน เป็น ปัญหา ข้อเท็จจริง และ ที่ จำเลย ฎีกา ขอ ให้ รอการ ลงโทษ นั้น ก็ เป็น การ ฎีกา ใน เรื่อง ดุลพินิจ ใน การ ลงโทษเป็น ปัญหา ข้อเท็จจริง เช่นกัน ฎีกา ของ จำเลย จึง ต้องห้าม ตามบทกฎหมาย ดังกล่าว ข้างต้น ศาลฎีกา รับ วินิจฉัย ให้ ไม่ ได้
พิพากษา ยก ฎีกา จำเลย’