คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

แม้นิติกรรมที่โจทก์ทำกับจำเลยระบุว่าเป็นสัญญาให้โจทก์ก็นำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าความจริงเป็นการแลกเปลี่ยนที่ดินกันไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94เพราะเป็นการนำสืบว่าสัญญาให้นั้นเป็นนิติกรรมอำพรางต้องบังคับตามสัญญาที่แท้จริงคือสัญญาแลกเปลี่ยนเมื่อโจทก์โอนที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลยแล้วจำเลยต้องโอนที่ดินของจำเลยให้แก่โจทก์

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดินโฉนด เลขที่ 50999 จำเลย เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 51002โจทก์ และ จำเลย ต่าง ครอบครอง และ ปลูก บ้าน ใน ที่ดิน โดย สำคัญผิด ว่าที่ดิน ที่ ครอบครอง เป็น ของ ตน เมื่อ ทราบ ความจริง โจทก์ และ จำเลย จึงตกลง แลกเปลี่ยน ที่ดิน กัน โจทก์ ได้ ไป จดทะเบียน โอน ที่ดิน ของ โจทก์ให้ แก่ จำเลย จำเลย จะ จดทะเบียน โอน ที่ดิน ของ จำเลย ให้ แก่ โจทก์แต่ ผิดนัด ไม่ยอม โอน ตาม ที่ ตกลง ไว้ ขอให้ บังคับ จำเลย ไป จดทะเบียนโอน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 51002 ให้ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ไม่เคย ตกลง แลกเปลี่ยน ที่ดิน กับ โจทก์โจทก์ จดทะเบียน ยก ที่ดิน ให้ แก่ จำเลย ตาม ความ ประสงค์ ของ มารดา จำเลยซึ่ง เป็น ภริยา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ โจทก์ ซึ่ง ถึงแก่กรรม ไป แล้วขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินโฉนด เลขที่ 51002 ให้ แก่ โจทก์ หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอาคำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ของ จำเลย
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ส่วน ที่ จำเลย อ้างว่า ตาม หนังสือ สัญญา ให้ที่ดิน เอกสาร หมาย จ. 4 ระบุ ว่า นิติกรรม ที่ โจทก์ ทำ กับ จำเลย เป็นสัญญา ให้ ที่ดิน และ มี ข้อความ ข้อ 3 ว่า เป็น การ ให้ โดยเสน่หา ไม่มีค่าตอบแทน เพราะ ผู้รับ ให้ เป็น บุตรเลี้ยง แต่ โจทก์ นำพยาน บุคคล มา สืบ ว่าความจริง โจทก์ และ จำเลย มี เจตนา แลกเปลี่ยน ที่ดิน กัน จึง เป็น การ นำสืบพยานบุคคล เปลี่ยนแปลง แก้ไข ข้อความ ใน เอกสาร ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 94(ข) ห้าม มิให้ ศาล รับฟัง การ ที่ ศาลรับฟัง คำเบิกความ ของ พยานโจทก์ ดังกล่าว จึง ไม่ชอบ นั้น เห็นว่าแม้ การ แลกเปลี่ยน ทรัพย์สิน ซึ่ง ซื้อ ขาย จะ ต้อง ทำ เป็น หนังสือ และจดทะเบียน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 519 ประกอบมาตรา 456 วรรคแรก อันเป็น กรณี ที่ กฎหมาย บังคับ ให้ ต้อง มี เอกสารมา แสดง และ นิติกรรม ที่ โจทก์ ทำ กับ จำเลย ตาม หนังสือ สัญญา ให้ ที่ดินเอกสาร หมาย จ. 4 ระบุ ว่า เป็น สัญญา ให้ โจทก์ ก็ นำพยาน บุคคล มา สืบ ได้ว่าความจริง เป็น การ แลกเปลี่ยน ที่ดิน กัน ไม่ต้องห้าม ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 94 เพราะ เป็น การ นำสืบ ว่า สัญญา ให้ นั้นเป็น นิติกรรม อำพราง ต้อง บังคับ ตาม สัญญา ที่ แท้จริง คือ สัญญาแลกเปลี่ยน ที่ดิน ระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ข้ออ้าง ของ จำเลย จึง ฟังไม่ขึ้นพยานหลักฐาน ของ โจทก์ มี น้ำหนัก มาก กว่า พยานหลักฐาน ของ จำเลย ฟัง ว่าโจทก์ และ จำเลย ตกลง แลกเปลี่ยน ที่ดิน กัน เมื่อ โจทก์ โอน ที่ดินโฉนด เลขที่ 50999 ของ โจทก์ ให้ แก่ จำเลย แล้ว จำเลย ต้อง โอน ที่ดินโฉนด เลขที่ 51002 ของ จำเลย ให้ แก่ โจทก์ จำเลย ไม่ไป จดทะเบียน การ โอนจึง เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัย ต้อง กัน มา ให้ จำเลยไป จดทะเบียน ยก ที่ดิน ของ จำเลย ให้ แก่ โจทก์ นั้น ชอบแล้ว ฎีกา ของ จำเลยฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share