แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดนั้น ศาลอาจกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และรูปคดี ศาลอาจคำนวนให้ตามผลประโยชน์ที่จำเลยได้รับจากการละเมิด โดยไม่หักค่าใช้จ่ายก็ได้
ย่อยาว
โจทย์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๒๔ – ๒๕ พฤษภาคม ๒๔๙๒ จำเลยได้จงใจละเมิดสิทธิโจทก์ โดยจัดละครของจำเลยออกแสดงต่อประชาชนเรื่อง ” ดรรชนีนาง ” ซึ่งเป็นบทละครที่โจทก์ประพันธ์ขึ้น โดยใช้นามปากาว่า ” อิงอร ” เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายคือ
๑. จำนวนค่าดูที่จำเลยเก็บได้ ๑๐,๐๐๐ บาท
๒. โจทก์เสียหายในนามปากกาเป็นเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในนามปากกา เพราะได้เรียกค่าเสียหายฐานละเมิดสิทธิแล้ว และว่าค่าเสียหายที่เรียกสูงไป
ศาลชั้นต้นข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ละเมิดจริงจำเลยเก็บค่าดูได้ ๗,๐๐๐ บาทเศษ เงินนี้ควรที่โจทก์จะได้รับชดใช้ ส่วนค่าเสียหายในนามปากกา โจทก์ยังไม่ควรได้รับ พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า เงินค่าอากรแสตมป์ ๒,๑๐๐ บาทเป็นเงินที่ผู้ตูจ่ายเป็นค่าภาษีให้แก่รัฐบาลจำเลยเป็นผู้เรียกเก็บแทนรัฐบาลเท่านั้น ศาลอุทธรณ์หักเงินจำนวนนี้ออกชอบแล้ว ส่วนที่ศาลอุทธรณ์หักค่าเช่าโรงออกด้วยนั้น เห็นว่าหากเป็นเช่นนั้นแล้ว ถ้าการเล่นละครของจำเลยขาดทุน จำเลยมิไม่ต้องใช้ค่าเสียหายหรือ จึงเห็นว่าสำหรับคดีนี้สมควรให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เท่าที่จำเลยเก็บค่าดูจากการแสดงละครได้ พิพากษาแก้ให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ๔,๔๐๐ บาท