คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1014/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

เมื่อจำเลยมีคำขอให้ยกฟ้องโจทก์แล้วต่อจากนั้นจำเลยได้บรรยายคำให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยได้ทวงถามค่าเช่าฉางจากโจทก์แต่โจทก์เพิกเฉยจำเลยมีสิทธิจะได้รับค่าเช่าฉางและดอกเบี้ยร้อยละ7.5ต่อปีจากโจทก์รวมเป็นเงิน107,774.32บาทและดอกเบี้ยอัตราเดียวกันจากต้นเงิน61,585.33บาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าโจทก์จะชำระเสร็จแก่จำเลยมีความหมายเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยขอให้ศาลบังคับโจทก์ชำระค่าเช่าฉางแก่จำเลยถือได้ว่าฟ้องแย้งของจำเลยมีคำขอบังคับ

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ได้ ทำ สัญญาเช่า ฉางจาก จำเลย เพื่อ เก็บข้าวเปลือก ที่ โจทก์ รับ ซื้อ ไว้ จาก ชาวนา โดย จำเลย รับ เก็บรักษาข้าวเปลือก ถ้า เกิด การ เสียหาย สูญหาย จำเลย ต้อง รับผิด ชดใช้ แก่ โจทก์โจทก์ นำ ข้าวเปลือก เข้า เก็บ ใน ฉาง ต่อมา โจทก์ สั่ง ให้ จำเลย จ่ายข้าวเปลือก บางส่วน ให้ แก่ โรงสี เพื่อ นำ ไป แปรสภาพ เมื่อ ครบ กำหนดตาม สัญญา เจ้าหน้าที่ ของ โจทก์ ตรวจสอบ พบ ว่า ข้าวเปลือก เจ้าของ โจทก์ขาด ไป 59,580.08 กิโลกรัม ขอให้ บังคับ จำเลย คืน ข้าวเปลือก เจ้าที่ ขาด หาย ไป แก่ โจทก์ หาก คืน ไม่ได้ ให้ ใช้ ราคา รวมเป็น เงิน 131,916.91บาท และ ดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี
จำเลย ให้การ และ ฟ้องแย้ง และ แก้ไข คำให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่าข้าวเปลือก ขาด จำนวน ไป 50,796 กิโลกรัม คิด จำนวน ที่ ขาด หาย เป็น3.37 เปอร์เซ็นต์ คณะกรรมการ บริหาร งาน รับ ซื้อ ข้าวเปลือก พยุง ราคาประชุม ครั้งที่ 3/2522 มี มติ เพิ่ม การ คิด หัก ข้าวเปลือก เจ้า ยุบ ตัวจาก เดิม 2 เปอร์เซ็นต์ เป็น 4 เปอร์เซ็นต์ เมื่อ ข้าวเปลือก เจ้าขาด หาย ไป เพียง 3.37 เปอร์เซ็นต์ จำเลย จึง ไม่ต้อง รับผิด ขอให้ ยกฟ้องและ ฟ้องแย้ง ขอให้ โจทก์ ชำระ ค่าเช่า ฉางเป็น เงิน 61,585.33 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ตั้งแต่ วัน ผิดนัด จน ถึง วันฟ้องเป็น เวลา 10 ปี เป็น ค่า ดอกเบี้ย 46,188.99 บาท รวมกับ ต้นเงินเป็น เงิน 107,774.32 บาท และ ดอกเบี้ย อัตรา เดียว กัน จาก ต้นเงิน61,585.33 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า โจทก์ จะ ชำระ เสร็จ แก่ จำเลย
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ว่า คณะกรรมการ บริหาร งาน รับ ซื้อข้าวเปลือก พยุง ราคา ไม่เคย มี มติ ให้ เพิ่ม การ คิด หัก ข้าวเปลือก เจ้ายุบ ตัว เป็น 4 เปอร์เซ็นต์ การ คิด หัก ข้าวเปลือก เจ้า ยุบ ตัว ได้ ถึง4 เปอร์เซ็นต์ เฉพาะ การ เช่า ฉางของ สหกรณ์ หรือ สถาบัน การเกษตร กรเท่านั้น ฉางของ จำเลย เป็น ของ เอกชน ยัง คง ต้อง เป็น ไป ตาม ข้อ สัญญาคือ หัก ได้ เพียง 2 เปอร์เซ็นต์ จำเลย ไม่มี สิทธิ เรียก ดอกเบี้ย จาก โจทก์เพราะ ต้อง ฟ้อง เรียก ดอกเบี้ย ที่ ค้าง ภายใน อายุความ 5 ปี ขอให้ยกฟ้อง แย้ง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย คืน ข้าวเปลือก เจ้า ชนิด10-15 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 4,203.12 กิโลกรัม และ ข้าวเปลือก เจ้าชนิด 20-25 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 26,472.86 กิโลกรัม แก่ โจทก์หาก คืน ไม่ได้ ให้ ใช้ ราคา 67,907.46 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ7.5 ต่อ ปี จาก จำนวนเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จคำขอ อื่น ให้ยก ยกฟ้อง แย้ง ของ จำเลย
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ โจทก์ ชำระ เงิน จำนวน61,585.33 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน ดังกล่าวนับแต่ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2528 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ จำเลยนอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา ศาลชั้นต้น สั่ง รับ ฎีกา เฉพาะ ข้อ 2.2 โดย เห็นว่าเป็น ปัญหาข้อกฎหมาย
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา ตาม ฎีกา ของ โจทก์ เพียง ประการ เดียวว่า ศาล จะ บังคับ โจทก์ ตาม ฟ้องแย้ง ของ จำเลย ได้ หรือไม่ ปรากฏว่า จำเลยฟ้องแย้ง เรียก ค่าเช่า ฉางจาก โจทก์ โดย เมื่อ จำเลย มี คำขอ ให้ยก ฟ้องโจทก์ แล้ว ต่อ จาก นั้น จำเลย ได้ บรรยาย คำให้การ และ ฟ้องแย้ง ใน ข้อ 3 ว่าจำเลย ได้ ทวงถาม ค่าเช่า ฉางจาก โจทก์ แต่ โจทก์ เพิกเฉย จำเลย มีสิทธิจะ ได้รับ ค่าเช่า ฉางจาก โจทก์ เป็น เงิน 61,585.33 บาท และ ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันที่ 6 กุมภาพันธ์2523 อันเป็น วัน ผิดนัด จน ถึง วันฟ้อง เป็น เวลา 10 ปี เป็น ค่า ดอกเบี้ย46,188.99 บาท รวมกับ ต้นเงิน เป็น เงิน 107,774.32 บาท และ ดอกเบี้ยอัตรา เดียว กัน จาก ต้นเงิน 61,585.33 บาท นับแต่ วันฟ้อง จนกว่าโจทก์ จะ ชำระ เสร็จ แก่ จำเลย โจทก์ ฎีกา ว่า ข้อความ ดังกล่าว จำเลยไม่ได้ มี คำขอบังคับ ท้ายฟ้อง แย้ง ว่า ให้ บังคับ เอา แก่ โจทก์ อย่างไรศาล จะ พิพากษา บังคับ ให้ โจทก์ ชำระ ค่าเช่า ฉางไม่ได้ เป็น การ เกินคำขอเพราะ จำเลย มิได้ มี คำขอ ให้ บังคับ ไว้ ศาลฎีกา เห็นว่า ข้อความ คำ บรรยายใน ฟ้องแย้ง ดังกล่าว มี ความหมาย เป็น ที่ เข้าใจ ได้ว่า จำเลย ขอให้ ศาลบังคับ โจทก์ ชำระ ค่าเช่า ฉางแก่ จำเลย ถือได้ว่า ฟ้องแย้ง ของ จำเลยมี คำขอบังคับ และ คำพิพากษา ของ ศาล ไม่เกินคำขอ คำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ใน ข้อ นี้ ชอบแล้ว ฎีกา ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share