คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10130/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือผู้ถือย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา918ประกอบมาตรา989ช. เป็นผู้จัดการมรดกของก.ตามคำสั่งศาลก.ทำพินัยกรรมต่อหน้าช.น.และย. โดยพินัยกรรมระบุให้โจทก์เป็นผู้ร่วมรับมรดกหลังจากช.เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแล้วช. ได้มอบเช็คพิพาทซึ่งเป็นส่วนแบ่งมรดกให้แก่โจทก์จำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่าพินัยกรรมดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดบ้างและคำให้การของจำเลยก็มิได้ปฏิเสธว่าก.มิได้ทำพินัยกรรมแต่อย่างใดการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของจำเลยในข้อที่ว่าเป็นที่น่าสงสัยว่าก.ทำพินัยกรรมจริงหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยให้นั้นชอบแล้วเมื่อโจทก์ผู้เป็นทายาทโดยพินัยกรรมได้รับมอบเช็คพิพาทจากผู้จัดการมรดกเช่นนี้โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยการสืบสิทธิจากก.เจ้ามรดกหาใช่เป็นผู้รับโอนจากผู้ทรงคนก่อนโดยลำพังไม่จึงไม่ต้องห้ามที่จำเลยจะนำสืบต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับก. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา916 จำเลยอ้างว่ามูลหนี้ตามเช็คพิพาทระงับสิ้นไปด้วยการหักกลบลบหนี้กันจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำสืบพิสูจน์ให้เห็นโดยชัดแจ้งแต่เมื่อพยานหลักฐานจำเลยไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงมิได้ระงับสิ้นไปจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา900วรรคหนึ่ง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า เมื่อ ประมาณ ปลาย ปี 2531 จำเลย ที่ 1 โดย จำเลย ที่ 2หุ้นส่วน ผู้จัดการ ได้ กู้ยืม เงิน จาก นาง กิมวาหรือ เลงติ แซ่จังหรือ แซ่ด่าน จำนวน 500,000 บาท และ สั่งจ่าย เช็ค จำนวนเงิน 500,000บาท ให้ แก่ นาง กิมวา เพื่อ ชำระหนี้ เงินกู้ ดังกล่าว โดย มี ข้อตกลง ว่า หาก นาง กิมวาต้องการ เงิน คืน เมื่อใด ก็ ให้ ลง วันสั่งจ่าย ใน เช็ค แล้ว นำ ไป เรียกเก็บเงิน ได้ ทันที ต่อมา เมื่อ วันที่ 24 กันยายน 2535นาง กิมวาถึงแก่กรรม นาย โชคชัย พุ่มเมือง ใน ฐานะ ผู้จัดการ มรดก ตาม คำสั่งศาล ใน คดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 464/2535 ของ ศาลจังหวัดหล่มสัก ได้ ยก เช็ค ดังกล่าว ให้ แก่ โจทก์ ซึ่ง เป็น ผู้รับมรดก ตามพินัยกรรม ของ นาง กิมวา โจทก์ จึง เป็น ผู้ทรงเช็ค โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ต่อมา มี การ ลง วันสั่งจ่าย ใน เช็ค เป็น วันที่ 23 ธันวาคม 2535 แล้วโจทก์ นำ ไป เข้าบัญชี เพื่อ เรียกเก็บเงิน แต่ ธนาคาร ตามเช็ค ปฏิเสธการ จ่ายเงิน ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน506,250 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน500,000 บาท นับแต่ วัน ฟ้อง จน ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ ไม่ใช่ ผู้ทรงเช็ค พิพาท ตาม ฟ้องเพราะ โจทก์ ไม่ใช่ ทายาท ผู้มีสิทธิ รับมรดก ของ นาง กิมวาหรือเลงติแซ่จังหรือแซ่ด่าน จึง ไม่มี สิทธิ ใด ๆ ใน เช็คพิพาท และ ไม่อาจ ถือ สิทธิ ใน ฐานะ ผู้ทรงเช็ค พิพาท มา ฟ้อง ให้ จำเลย ทั้ง สอง รับผิด ต่อ โจทก์เช็คพิพาท เป็น เช็ค ไม่สมบูรณ์ เพราะ มิได้ ลง วันสั่งจ่าย ไว้ เมื่อ โจทก์ไม่ใช่ ผู้ทรง โดยสุจริต และ ชอบ ด้วย กฎหมาย จึง ไม่มี อำนาจ ลง วันสั่งจ่ายและ นำ ไป เรียกเก็บเงิน ประมาณ ปี 2529 นาง กิมวาขอให้ จำเลย ที่ 2ช่วย ติดต่อ ซื้อ บ้าน ให้ น้องชาย นาง กิมวาที่ ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน จำเลย ที่ 2 จึง ดำเนินการ ให้ และ ชำระ ราคา บ้าน จำนวน 250,000 บาท แทน นาง กิมวา แล้ว ต่อมา ปี 2531 กิจการ ของ ห้าง จำเลย ที่ 1 ไม่ดี จำเลย ที่ 2 จึง ของ ความ ช่วยเหลือ จาก นาง กิมวานาง กิมวาก็ ให้ เงิน จำนวน 500,000 บาท ไป ใช้ ดำเนิน กิจการ โดย นาง กิมวาบอก ว่า ไม่ต้อง การเงิน จำนวน ดังกล่าว คืน แต่ จำเลย ที่ 2ยืนยัน ขอ คืนเงิน ให้ ใน ภายหลัง แล้ว จำเลย ทั้ง สอง ออก เช็คพิพาท ตาม ฟ้องให้ นาง กิมวายึดถือ ไว้ โดย มี ข้อตกลง ว่า หาก นาง กิมวาต้องการ เงิน คืน ให้ แจ้ง จำเลย ที่ 2 ทราบ ล่วงหน้า แต่ นาง กิมวาก็ ยัง คง ยืนยัน ว่า ไม่ต้อง การเงิน คืน และ จะ ไม่นำ เช็ค ไป เรียกเก็บเงิน ต่อมา ปี 2532จำเลย ที่ 2 ส่ง เงิน ไป ให้ น้องชาย นาง กิมวาที่ ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็น เงิน ประมาณ 500,000 บาท ตาม ที่นางกิมวาขอร้อง จาก นั้น นาง กิมวากับ จำเลย ที่ 2 ได้ ตกลง หักกลบลบหนี้ กับ เงิน จำนวน 500,000 บาท ที่ จำเลย ที่ 2 ได้ ส่ง ไป ให้ น้องชาย นาง กิมวาที่ ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อ ใช้ สร้าง บ้าน แล้ว ส่วน ที่ เหลือ 250,000 บาท จำเลย ที่ 2 ยกให้ แก่ นาง กิมวาเพื่อ เป็น สิน น้ำใจ ที่นางกิมวาเลี้ยงดู นาง คมขำ จ่างวิทยา ภรรยา จำเลย ที่ 2มา ตั้งแต่ นาง คมขำยัง เป็น เด็ก แต่ นาง กิมวาไม่ได้ คืน เช็ค ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 เช็คพิพาท จึง ไม่มี มูลหนี้ และ ไม่เป็น ทรัพย์มรดก อัน จะ ตกทอดแก่ โจทก์ จำเลย ทั้ง สอง จึง ไม่ต้อง รับผิด ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน500,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่25 ธันวาคม 2535 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ แต่ ดอกเบี้ย คำนวณ ถึงวันฟ้อง ต้อง ไม่เกิน 6,250 บาท
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ข้อเท็จจริง เบื้องต้น รับฟัง ได้ว่า เมื่อ ปี2531 จำเลย ที่ 1 โดย จำเลย ที่ 2 หุ้นส่วน ผู้จัดการ สั่งจ่าย เช็คธนาคาร กรุงเทพ จำกัด สาขา พลับพลาไชย จำนวนเงิน 500,000 บาท ตามเช็ค เอกสาร หมาย จ. 2 ซึ่ง เป็น เช็คพิพาท มอบ ให้ แก่ นาง กิมวาหรือ เลงติ แซ่จังหรือแซ่ด่าน ไว้ โดย ขณะ รับมอบ เช็ค กัน นั้น ยัง มิได้ ลง วันสั่งจ่าย ต่อมา ปี 2535 นาง กิมวาถึงแก่กรรม โจทก์ เป็น ผู้ ลง วันสั่งจ่าย ใน เช็คพิพาท เป็น วันที่ 23 ธันวาคม 2535 แล้ว นำ ไปเข้าบัญชี เพื่อ เรียกเก็บเงิน แต่ ธนาคาร ตามเช็ค ปฏิเสธ การ จ่ายเงินเมื่อ วันที่ 25 ธันวาคม 2535 ให้ เหตุผล ว่า โปรด ติดต่อ ผู้สั่งจ่ายตาม ใบ คืน เช็ค เอกสาร หมาย จ. 3
ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ข้อ แรก มี ว่า โจทก์เป็น ผู้ทรงเช็ค พิพาท โดยชอบ ด้วย กฎหมาย หรือไม่ และ มูลหนี้ ตามเช็ค พิพาทระงับ สิ้น ไปแล้ว หรือไม่ เห็นสมควร วินิจฉัย รวมกัน ไป เห็นว่า เช็คพิพาทตาม เอกสาร หมาย จ. 2 เป็น เช็ค สั่งจ่าย เงินสด หรือ ผู้ถือ ย่อม โอน ไป เพียงด้วย ส่งมอบ ให้ กัน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 918 ประกอบมาตรา 989 และ ข้อเท็จจริง รบ ฟังได้ โดย จำเลย ทั้ง สอง ไม่ โต้เถียง ว่านาย โชคชัย พุ่มเมือง เป็น ผู้จัดการมรดก ของ นาง กิมวาตาม คำสั่ง ศาลจังหวัด หล่มสัก โจทก์ มี นาย โชคชัย พุ่มเมือง และ นาย เน็ดโฉมอุดม เป็น พยาน เบิกความ ทำนอง เดียว กัน ว่า นาง กิมวาทำ พินัยกรรม ต่อหน้า พยาน ทั้ง สอง และ นาง ยิ่งศักดิ์ ซูกิติโพธิ์ โดย พินัยกรรม ระบุ ให้ โจทก์ เป็น ผู้ ร่วม รับมรดก ตาม พินัยกรรม เอกสาร หมาย จ. 4 หลังจากนาย โชคชัยเป็น ผู้จัดการมรดก ตาม คำสั่งศาล แล้ว นาย โชคชัยได้ มอบ เช็คพิพาท ซึ่ง เป็น ส่วนแบ่ง มรดก ให้ แก่ โจทก์ จำเลย ทั้ง สอง มิได้ นำสืบหักล้าง ว่า พินัยกรรม ดังกล่าว ไม่ชอบ ด้วย กฎหมาย ประการใด บ้าง และคำให้การ ของ จำเลย ทั้ง สอง ก็ มิได้ ปฏิเสธ ว่า นาง กิมวามิได้ ทำ พินัยกรรม แต่อย่างใด ดังนั้น ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า อุทธรณ์ ของจำเลย ทั้ง สอง ใน ข้อ ที่ ว่า เป็น ที่ น่า สงสัย ว่า นาง กิมวาทำ พินัยกรรม จริง หรือไม่ เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลชั้นต้นต้องห้าม อุทธรณ์ จึง ไม่รับ วินิจฉัย ให้ นั้น ชอบแล้ว เมื่อ โจทก์ ผู้เป็นทายาท โดย พินัยกรรม ได้รับ มอบ เช็คพิพาท จาก ผู้จัดการมรดก เช่นนี้ โจทก์จึง เป็น ผู้ทรงเช็ค พิพาท โดยชอบ ด้วย กฎหมาย
สำหรับ ปัญหา ที่ ว่า มูลหนี้ ตามเช็ค พิพาท ระงับ สิ้นไป แล้ว หรือไม่นั้น เห็นว่า โจทก์ เป็น ผู้ทรงเช็ค พิพาท โดย การ สืบ สิทธิ จาก นาง กิมวาเจ้ามรดก หาใช่ เป็น ผู้รับโอน จาก ผู้ทรง คน ก่อน โดย ลำพัง ไม่ จึง ไม่ต้องห้าม ที่ จำเลย ทั้ง สอง จะ นำสืบ ต่อสู้ โจทก์ ผู้ทรง ด้วย ข้อต่อสู้ อัน อาศัยความ เกี่ยวพัน เฉพาะ บุคคล ระหว่าง ตน กับ นาง กิมวาซึ่ง เป็น ผู้ทรง คน ก่อน ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 ดัง ที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย แต่เมื่อ จำเลย ทั้ง สอง อ้างว่า มูลหนี้ ตามเช็คพิพาท ระงับ สิ้นไป ด้วย การ หักกลบลบหนี้ กัน จำเลย ทั้ง สอง จึง มีหน้าที่ ต้อง นำสืบ พิสูจน์ ให้ เห็น โดยชัดแจ้ง เห็นว่า พยานหลักฐาน จำเลยทั้ง สอง ไม่มี นำ หนัก ให้ รับฟัง ว่า จำเลย ที่ 2 ออก เงินทดรอง จ่าย ให้นาง กิมวาเป็น จำนวน 750,000 บาท เพื่อ ซื้อ บ้าน ให้ น้องชาย นาง กิมวาที่ ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีนแล้ว นาง กิมวากับ จำเลย ตกลง หักกลบลบหนี้ กับ จำเลย เงิน ใน เช็คพิพาท ดังนั้น มูลหนี้ ตามเช็คพิพาท จึง มิได้ ระงับ สิ้นไป จำเลย ทั้ง สอง จึง ต้อง รับผิด ตาม เนื้อความ ในเช็ค ดัง ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900วรรคหนึ่ง
พิพากษายืน

Share